การเตรียมความพร้อมปัจจัยสภาพแวดล้อมสินค้าและบริการภายนอกและภายในโรงแรมอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อต้อนรับผู้เดินทางหลังหายจากโควิด-19

THE PREPARATION OF THE INTERNAL AND EXTERNAL ENVIRONMENT FACTORS ON PRODUCTS AND SERVICES OF THE HOTEL IN HAT YAI DISTRICT, SONGKHLA PROVINCE TO WELCOME TOURISTS AFTER COVID-19 DISAPPEARANCE

Authors

  • ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์

Keywords:

สภาพแวดล้อม, โรงแรม, หลังโควิด-19, Environment, Hotel, After COVID19 Disappearance

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาสิ่งที่ผู้เดินทางชอบและไม่ชอบในการเข้าพักโรงแรมในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผู้เดินทางภาคเอกชน และผู้เดินทางภาคราชการในความต้องการในสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก เพื่อเลือกพักโรงแรมในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสำคัญของสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกโรงแรม ด้านสินค้าและบริการต่อผู้เดินทางมาพักมากกว่ากัน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสังเคราะห์เอกสาร 30 ฉบับ และวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ t-test และ Anova (F-test) และ LSD กับกลุ่มตัวอย่างภาคเอกชน 195 คน ภาคราชการ 195 คน รวม 390 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สิ่งที่ผู้เดินทางมาพักโรงแรมในอำเภอหาดใหญ่ สภาพแวดล้อมภายนอกด้านสินค้าที่ชอบมากที่สุด คือ อยู่ใกล้ห้างสรรพสินค้าหรือที่ซื้อของฝากของที่ระลึก และด้านการบริการที่ชอบมากที่สุด คือ โรงแรมสะดวกหาง่าย ไม่ชอบมากที่สุด คือ โรงแรมหายาก 2) ด้านสภาพแวดล้อมภายนอกโรงแรม ภาคเอกชนมีความต้องการบริการมากกว่าภาคราชการ ผู้เดินทางภาคเอกชนและภาคราชการมีความต้องการ สินค้าไม่แตกต่างกัน ด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงแรม ภาคเอกชนและภาคราชการมีความต้องการสินค้าและบริการเท่ากัน คนที่ มาจากภาคเหนือ มีความต้องการการบริการมากกว่าภาคอื่น ๆ และ 3) สภาพแวดล้อม ภายในโรงแรม ด้านสินค้าและบริการมีความสำคัญมากกว่าสภาพแวดล้อมภายนอกด้านสินค้าและบริการ  The research had 3 objectives: 1) to study what tourists like and dislike when staying at hotels in Songkhla Province, 2) to compare the demand for the external and internal environment of tourists from private and government sectors, and 3) to compare whether the external or internal environment had more significant effect. The study was both qualitative research where 30 documents were synthesized and quantitative research where t-test, F-test and LSD were used. The total number of sample was 390 tourists from private sectors and government sectors. The findings revealed that 1) the most favorable products’ external environment was the hotel’s nearness to the malls or the places to buy souvenirs. The most favorable service factor was the hotel was easy to find and the most unfavorable was the hotel was difficult to find. 2) To the hotel’s external environment, the guests from private sectors had greater demand for services than those from the government sectors. However, both groups had no differences in the demand for products. To the hotel’s internal environment, both groups had equal needs for products and services. 3) Products and services of internal environment were more significant than those of external environment.

References

กฎกระทรวง. (2551). กฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551, ราชกิจจานุเบกษา, 23 พฤษภาคม 2551, เล่ม 125 ตอนที่ 70 ก.

กฎกระทรวง. (2559). กฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2559, ราชกิจจานุเบกษา, 19 สิงหาคม 2559, เล่ม 133 ตอนที่ 72 ก.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2554). ธุรกิจโรงแรม. เข้าถึงได้จาก https://www.dbd.go.th/BisNov54.pdf

กรวรรณ งามวรธรรม และลลิตา นุ่มไทย. (2563). ถอดรหัสงานศิลป์ของศิลปินไทยเพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมภายในโรงแรมบูติค. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการวิจัย และงานสร้างสรรค์, 7(1), 149-170.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558, 2559, 2560, 2561, 2562). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ Q1-Q4 ปี 2558-2562 (ภาคใต้). เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). ข้อมูลท่องเที่ยวอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สงขลา : สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

จังหวัดสงขลา. (2560). สรุปข้อมูลจังหวัดสงขลา. สงขลา : สำนักงานจังหวัดสงขลา.

ชมพูนุช พูลทัศฐาน, ธีทัต ตรีศิริโชติ และบรรพต วิรุณราช. (2563). แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาอาชีวะตามแนวชายแดนไปสู่การเป็นหัวหน้างานแรงงานต่างด้าวในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/svittj/article/download/241043/165749/

นิตยา พร้าวราม. (2558). แนวทางพัฒนาคุณภาพการบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน : กรณีศึกษาโรงแรมในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ประสิทธิ์ รัตนพันธ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา. งานวิจัยทุนอุดหนุนการวิจัย. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ภัทร์มนต์ คงแจ่ม. (2558). ผลจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่พักโรงแรมบูติกต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของชุมชน : กรณีศึกษา บูติคโฮเทลในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รัตนะ บัวสนธ์. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คำสมัย.

รุ่งอาทิตย์ บูชาอินทร์ และกฤษนัยน์ เจริญจิตร. (2563). การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศประเมินเขตศักยภาพทำเลที่เหมาะสมของธุรกิจโรงแรมบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย. RMUTL. Eng. J., 5(1), 51-59.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2561). เขาแบ่งประเภทโรงแรมกันอย่างไร. เข้าถึงได้จาก https://marketeeronline.co/archives/68468.

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2563). ธุรกิจโรงแรม มิถุนายน 2563 Industry Update, หน่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจภาคบริการ ส่วนเศรษฐกิจรายสาขา. เข้าถึงได้จาก

https://www.gsbresearch.or.th/wpcontent/uploads/2020/07/IN_hotel_6_63_detail.pdf

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2553). บทวิเคราะห์ธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท ปี 2553: โครงการกิจกรรมเผยแพร่ผลวิเคราะห์ระบบเตือนภัยและระบบฐานข้อมูลแก่สาธารณะ, โครงการความร่วมมือระหว่าง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สำนักงานพัฒนาหน่วยบริการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. กรุงเทพ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

Expedia. (2563). รายชื่อโรงแรมทั้งหมดในหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. เข้าถึงได้จาก https://www.expedia.co.th/All-Hat-Yai-Hotels.d1440-p2.Travel-Guide-City-All-Hotels.

Hasan, S., & Hakan, O. (2012). The Importance of Environmental Accounting in the Context of Sustainable Development and Within IFRS Evaluation. 3rd International Symposium on Sustainable Development.

Jia, W., & Zhifeng, W. (2020). Strengths, weaknesses, opportunities and threats (SWOT) analysis of China’s prevention and control strategy for the COVID-19 epidemic. Res Public Health 2020, 17(2235), 1-17. Kang, K.H., Stein, L., Heo, C.Y., & Lee, S. (2012). Customer’s willingness to pay for green initiatives of the hotel industry. International Journal of Hospitality Management, 31, 564-572.

Kotler, P., & Keller K. L. (2015). Marketing management (15th ed.). New Jersey: Pearson International.

Lewis, J. (2000). Are you being served?. Personnel Today, 2000(August), 28-29.

Rainey, H. G., Backoff, R. W., & Levine, C. N. (1976). Comparing public and private organizations. Public Administration Review, 1976(March-April), 56-57

Steadmon, C. E., & Kasavana, M. L. (1988). Managing front office operations: The Education Institute of the American Hotel & Motel Association. Michigan: East Lansing

Wallace, S. S. (1958). Premises of Public Administration: Past and Emerging. Public Administration Review, 18(/), 102-105.

Wiley and American Society for Public Administration. (2015). Premises of public administration: Past and emerging. author(s). Retrieved from http://www.jstor.org/stable/973789.

Downloads

Published

2022-11-25