การศึกษาจิตสำนึกสาธารณะของพระนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วังน้อย)

A Study of student monks' public consciousness at Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Authors

  • พระมหาไพรสณฑ์ โข่ต๊ะ
  • สุวพร ตั้งสมวรพงษ์
  • อัจฉรา วัฒนาณรงค์

Keywords:

จิตสำนึกสาธารณะ, พระนิสิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วังน้อย), Public consciousness, student monks, Mahachulalongkornrajavidyalaya University (Wangnoi)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาจิตสำนึกสาธารณะของพระนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย (วังน้อย) โดยรวมและเป็นรายด้าน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความเสียสละ ด้านความสามัคคี และด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและ 2) เปรียบเทียบจิตสำนึกสาธารณะของพระนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วังน้อย) โดยรวมและเป็นรายด้าน จำแนกตามตัวแปร สถานะ คณะวิชา ชั้นปี ภูมิลำเนาเดิม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพระนิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วังน้อย) รวมจำนวนทั้งสิ้น 318 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 70 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ทั้งฉบับเท่ากับ 0.935 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบเป็นรายคู่ของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้ 1. พระนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วังน้อย) มีจิตสำนึกสาธารณะโดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ ในระดับมาก 2. พระนิสิตที่มีสถานะต่างกัน มีจิตสำนึกสาธารณะโดยรวมและเป็นรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. พระนิสิตที่ศึกษาในคณะวิชาต่างกันมีจิตสำนึกสาธารณะโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความรับผิดชอบและด้านความเสียสละแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่พบความแตกต่าง  4. พระนิสิตที่ศึกษาในชั้นปีต่างกัน มีจิตสำนึกสาธารณะโดยรวมทุกด้านไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรับผิดชอบแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่าง  5. พระนิสิตที่มีภูมิลำเนาเดิมต่างกัน มีจิตสำนึกสาธารณะโดยรวมและในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน 6. พระนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน มีจิตสำนึกสาธารณะโดยรวมทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านความสามัคคีและด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่าง  This research is aimed at studying and comparing student monks' public consciousness at Mahachulalongkornrajavidyalaya University (Wangnoi) on overall and four aspects in responsibility, dedication, harmony, and environmental preservation classified by status, faculty, year of study, hometown, and academic achievement. The samples consisted of 318 student monks at Mahachulalongkornrajavidyalaya University (Wangnoi) in the second semester of 2010 academic year. The instrument used in the study was a Likert's five-point rating scale questionnaires of 70 items with the reliability of 0.935. The data were statistically analyzed by means, standard deviation, t-test, and one way analysis of variance and Scheffe’s method.  The results revealed that:  1. The student monks' public consciousness at Mahachulalongkornrajavidyalaya University (Wangnoi) in overall and each aspect was at a high level.  2. The student monks with different statuses showed no significant differences in their overall and each aspect of public consciousness. 3. The student monks classified by different faculties showed significant differences in their overall and a spects of responsibility and dedication at the .05 level. 4. The student monks classified by different years of study showed no significant difference in their overall public consciousness. Being considered in each aspect, the student monks showed significant difference in their responsibility at the .05 level.  5. The student monks classified by different hometowns showed no significant differences in their overall and each aspect of public consciousness.  6. The students with different academic achievement showed significant differences in their overall and aspects of public consciousness in harmony and environmental preservation at the .05 level.

Downloads

Published

2024-02-09