คุณภาพการบริการมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าด้วยรถพ่วงหัวลาก ในจังหวัดชลบุรี

QUALITY OF SERVICE AND RELATIONSHIP TO DECISION TO CHOOSE TRANSPORTATION PROVIDERS USING TRAILER TRUCKS IN CHONBURI PROVINCE

Authors

  • ขวัญดาว ใบเงิน
  • ฤทธี ชูเกียรติ
  • สมศจี ศิกษมัต
  • วรวรรณ จิรไกรศิริ

Keywords:

บริการลูกค้า, สินค้า, การขนส่ง, การตัดสินใจ, พฤติกรรมผู้บริโภค

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้ผู้ให้บริการขนส่ง สินค้าด้วยรถพ่วงหัวลาก ในจังหวัดชลบุรี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบเป็นเครื่องมือในการวิจัย และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง ก่อนการเก็บข้อมูล ได้มีการสอบถามกลุ่มตัวอย่างก่อนว่า เคยใช้บริการขนส่งสินค้าด้วยรถพ่วงหัวลากหรือไม่ ถ้าใช่จึงจะทำการแจกแบบสอบถามเพื่อให้กลุ่มตัวอย่างตอบด้วยตัวเอง จำนวนทั้งหมด 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา สําหรับสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานและหาความสัมพันธ์คือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's product moment correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี มีสถานภาพสมรสมีบุตร มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอายุงานมากกว่า 6 ปีขึ้นไป มีตำแหน่งงานเป็นหัวหน้างาน และมีรายได้ 15,001-30,000 บาท จากการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า คุณภาพการบริการด้านรูปลักษณ์, ด้านความน่าเชื่อถือ, ด้านการสามารถตอบสนอง, ด้านการดูแลเอาใจใส่ อยู่ในระดับมาก และด้านการให้ความมั่นใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า คุณภาพการบริการที่ศึกษาจากปัจจัย 5 ด้านคือ รูปลักษณ์, ความน่าเชื่อถือ, การสามารถตอบสนอง, และการดูแลเอาใจใส่ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าด้วยรถพ่วงหัวลาก ในจังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับปานกลาง (r=.451, .417, .445 และ .580 ตามลำดับ) ส่วนด้านการ ให้ความมั่นใจ อยู่ในระดับต่ำ (r=.258) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 The purpose of this was study the quality of service and relationship to the decision to choose transport providers using trailer trucks in Chonburi Province. Data was collected using a questionnaire and samples were chosen using multistage sampling. Prior to collecting data, the respondents were asked if they had used trailer trucks and if yes, the questionnaire was given. A total of 400 responded to the questionnaire. Descriptive statistics were used to analyze the data. Pearson's Product-Moment Correlation Coefficient was used to test the hypothesis and establish the correlation. From the study it was found that the majority of respondents were female, ages between 31-40, married, with children and have bachelor's degree level of education. They have more than six years work experience, in leadership positions, with incomes of 15,001–30,000 Baht. From analyzing the data from the questionnaires it was found that quality of service in terms of appearance, credibility, ability to respond, and attentiveness are at high levels and confidence is at the highest level. From testing the hypothesis, it was found that the 5 aspects of quality of service studied namely appearance, credibility, ability to respond, and attentiveness are related to the decision to choose transport providers using trailer trucks in Chonburi at a medium level (r=.451, .455 and .580 respectively) and confidence is at a low level (r=.258) with a statistical significance of .10.

Downloads

Published

2024-02-15