https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/parituch/issue/feed วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์ 2022-11-25T04:32:10+00:00 BUU chain_d@hotmail.com Open Journal Systems https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/parituch/article/view/8115 การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษา จังหวัดนครนายก 2022-11-25T03:09:54+00:00 นันทวดี ดีพร้อม journalLibbuu@gmail.com ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์ journalLibbuu@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมนโยบายเพื่อการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครนายก 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครนายก 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการการกลับมาเที่ยวซ้ำที่จังหวัดนครนายกของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ และ 4) เพื่อศึกษากระบวนการการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับชุมชนในจังหวัดนครนายก โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า การส่งเสริมนโยบายเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครนายก สามารถทำได้ดังนี้ 1) การส่งเสริมเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นในแต่ละชุมชน 2) การพัฒนาให้แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงให้กับชุมชนอื่น ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน 3) การส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครนายกที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการกลับมาเที่ยวซ้ำที่จังหวัดนครนายก ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2) การพัฒนากิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) การบริหารเศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของชุมชน ดังนั้น กระบวนการการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับชุมชนในจังหวัดนครนายก ทำได้ดังนี้ 1) การหาจุดแข็งของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน 2) การค้นคว้า วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง 3) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม&nbsp; This research has 4 objectives as 1) to study policy promotion for cultural tourism in Nakhon Nayok Province. 2) To study the management of cultural tourism in Nakhon Nayok Province. 3) To study the factors affecting the need for a repeat trip to Nakhon Nayok province of Thai and foreign tourists and 4) to study the process of cultural tourism development suitable for communities in Nakhon Nayok Province. Using a qualitative research methodology that consisted of in-depth interviews. The study found that the policy promotion for cultural tourism in Nakhon Nayok Province can be done as follows 1) Promoting outstanding cultural identity in each community 2) Development of cultural tourism in the community as a hub to connect with other communities in the neighboring area. 3) Promote the extension of cultural tourism for the new generation. Management of cultural tourism in Nakhon Nayok province arising from community participation. Factors that affecting the need for a repeat trip to Nakhon Nayok province of Thai and foreign tourists including 1) human resource development. 2) Development of activities for cultural tourism 3) Economic management natural resources, environment and culture of the community. The process of developing cultural tourism suitable for communities in Nakhon Nayok province is as follows 1) Finding the strengths of cultural tourism sites in the community. 2) Continuous research and development of cultural tourism. 3) The participation of people in the community with the development of cultural tourism.</p> 2022-11-25T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2022 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/parituch/article/view/8116 ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานต่อองค์กร : กรณีศึกษาบริษัท เอบีซี จำกัด 2022-11-25T03:18:55+00:00 พีรยสถ์ รัตนธรรม journalLibbuu@gmail.com นนท์ สหายา journalLibbuu@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยจูงใจพนักงานให้คงอยู่กับองค์กรที่มีผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานต่อองค์กร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยใช้กลุ่มประชากรจากจำนวนพนักงานวิศวกรฝ่ายสนับสนุนทั้งหมด 125 คน โดยใช้เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประเมินค่า (Rating scale) ที่ผ่านการหาทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจงนับความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และทดสอบสมมติฐาน ทำการวิเคราะห์หาอิทธิพลของตัวแปรโดยใช้สถิติ วิธีวิเคราะห์การถดถอย เชิงเส้นแบบพหุคูณ (Multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่าประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 68.3 ช่วงอายุมากกว่า 30 ปี ถึง 35 ปี ร้อยละ 40.0 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 64.2 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 76.7 และมีอายุงานมากกว่า 5 ปี ร้อยละ 56.7 ซึ่งมีระดับความคิดเห็นเรื่องปัจจัยจูงใจ พนักงานให้คงอยู่กับองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่ปัจจัยเรื่องความรับผิดชอบในงานที่ท้าทาย ความสำเร็จในการทำงาน และความน่าสนใจในของงานอยู่ในระดับมาก 3 ลำดับแรก ส่วนระดับความคิดเห็นด้านความจงรักภักดีของพนักงานต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยที่ความจงรักภักดีด้านความรู้สึกด้านการรับรู้โดยการไม่สงสัยผู้นำของตน และด้านพฤติกรรมที่แสดงออก อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน ผลการวิเคราะห์สมมติฐานพบว่า ปัจจัยจูงใจพนักงานให้คงอยู่กับองค์กรด้านการเจริญ เติบโตในการทำงาน ความน่าสนใจของงาน และความรับผิดชอบในงานที่ท้าทายมีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของพนักงานต่อองค์กร โดยรวมร้อยละ 74.3&nbsp; &nbsp;Sea freight is a popular transportation and has low cost compared to the bulk volume shipped at a time. Around Koh Sichang has an area suitable for cargo handling activities. A dangerous dry bulk which is unloaded between ships with a grab, causing a scattering of small dust to fall into the sea. Including the washing of debris from the bowels to the sea which may affect the quality of water and sediment around the loading area. It can affect life in the marine ecosystem around Koh Sichang. From reports have below benchmark dissolved oxygen content in the eastern part of Koh Sichang, as well as the accumulation of organic matter in the sediment and degradation of coral reefs in close proximity to cargo ship which in the long run will affect the ability to support the sea transportation activities of the island area decreases. Solving problems may have legal and administrative concerns especially dealing with the emission of litter from marine vessels, organizing or setting mooring areas used for loading and unloading cargo in sea at a distance from shore or community area in order to reduce the impact of dust diffusion from bulk cargo handling.</p> 2022-11-25T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2022 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/parituch/article/view/8117 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2022-11-25T03:26:07+00:00 เชาวฤทธิ์ จุไธสง journalLibbuu@gmail.com นิภา นิรุตติกุล journalLibbuu@gmail.com <p>การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีต่ออิทธิพลของความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและเพื่อตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างของความได้เปรียบทางการแข่งขันกับข้อมูลเชิงประจักษ์กลุ่มประชากรตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานระดับผู้จัดการซึ่งเป็นตัวแทนขององค์กรในการตอบแบบสอบถามจำนวน 220 คน และทดสอบด้วยสถิติสมการโครงสร้าง ผลการวิเคราะร์พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมมีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน เท่ากับ 0.43 และ 0.44 ตามลำดับ ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อนวัตกรรม มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน เท่ากับ 0.66 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โมเดลสมการโครงสร้างของความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์และเป็นไปตามทฤษฎี โดยมีตัวชี้วัดคือ Chi-square (X<sup>2</sup>) = 48.631, df = 36, p-value = .078, CMIN/DF (X<sup>2 </sup>⁄df) = 1.351, GFI = .962, AGFI = .931, CFI = .983, RMSEA = .040 และ NFI = .938&nbsp; &nbsp;This quantitative research aims to study factors influencing the competitive advantage of auto parts manufacturers in the Eastern Economic Corridor and to check goodness of fit of the structural equation model of the competitive advantage. Data was collected from 220 manager in the auto parts manufacturers in the Eastern Economic Corridor and subjected for analysis through SEM. The result were found that transformation leadership and innovation had influenced competitive advantage with the standard regression coefficients of 0. 43 and 0. 44 respectively. Transformation leadership influences innovation with the standard regression coefficients of 0.66 were statistically significant at the 0.05. The structural equation model of the competitive advantage of auto parts manufacturers in the Eastern Economic Corridor was revealed that the model fit confirms as appropriate Chi-square (X<sup>2</sup>) = 48.631, df = 36, p-value = .078, CMIN/DF (X<sup>2</sup>⁄df) = 1.351, GFI = .962, AGFI = .931, CFI = .983, RMSEA = .040 and NFI = .938</p> 2022-11-25T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2022 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/parituch/article/view/8118 การยอมรับนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นสั่งอาหารออนไลน์ของพนักงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี 2022-11-25T03:36:16+00:00 ไกรกฤตย์ บุษบรรณ journalLibbuu@gmail.com ธนภัทร เอมอินทร์ journalLibbuu@gmail.com อาริยา มาศศิริ journalLibbuu@gmail.com พัณณ์ภรณ์ พลพิทัก journalLibbuu@gmail.com <p>การสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์นั้นเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติโควิด 19 โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการให้บริการระหว่างร้านอาหารกับผู้บริโภค เป็นช่องทางที่ช่วยให้การดำเนินธุรกิจมีโอกาสในการเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น ดังนั้น การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์หลัก 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นสั่งอาหารออนไลน์ของพนักงาน นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านต่างๆ ที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นสั่งอาหารออนไลน์ของพนักงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี โดยเก็บข้อมูลจากพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ความง่ายการใช้งานแอพพลิเคชั่นสั่งอาหารออนไลน์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานแอพพลิเคชั่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.91 และมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.91 2) การรับรู้ความง่ายการใช้งานแอพพลิเคชั่นสั่งอาหารออนไลน์มีอิทธิพลเชิงลบต่อทัศนคติในการใช้งานแอพพลิเคชั่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ -0.01 และมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.81 3) การรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานแอพพลิเคชั่น มีอิทธิพลเชิงบวกต่อทัศนคติในการใช้งานแอพพลิเคชั่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง เท่ากับ 0.90 และมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.90 4) ทัศนคติในการใช้งานแอพพลิเคชั่นมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการยอมรับนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 1.32 และมีค่าอิทธิพลรวม เท่ากับ 1.32 ตามลำดับ&nbsp; The pandemic of Corona virus makes the changing of ordering food method. The online ordering food is the new one that was famous in this period. The purposes of this research are 1) To study the acceptance behavior of online ordering food technology of employees who work at Laem Chabang industrial estate. 2) To study the factors that affect to the acceptance behavior of online ordering food technology of employees who work at Laem Chabang industrial estate. Data was collected through a self-administered survey questionnaire. The target population is employees who work at Laem Chabang industrial estate. Purposive sampling is used for collection of data from 400 employees. The data was analyzed multiple regression. The results revealed that 1) Perceived ease of use of online ordering food application has positive influence on Perceived usefulness of online ordering food application with statistical significance level at 0.05, 2) Perceived ease of use of online ordering food application has negative influence on Behavioral intention to use of online ordering food application with statistical significance level at 0.05, 3) Perceived usefulness of online ordering food application has positive influence on Behavioral intention to use of online ordering food application with statistical significance level at 0.05, 4) Perceived usefulness of online ordering food application has positive influence on Actual system use of online ordering food application with statistical significance level at 0.05, 5) Behavioral intention to use of online ordering food application has positive influence on Actual system use of online ordering food application with statistical significance level at 0.05</p> 2022-11-25T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2022 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/parituch/article/view/8119 ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัทอิเลคทรอนิกส์แห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี 2022-11-25T03:43:24+00:00 จุฬาลักษณ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา journalLibbuu@gmail.com จุมพฏ บริราช journalLibbuu@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายในและภายนอก 2. ศึกษาระดับความจงรักภักดีต่อองค์การ 3. ศึกษาอิทธิพลระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายในกับความจงรักภักดี 4. ศึกษาอิทธิพลระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายนอกกับความจงรักภักดี 5. ศึกษาอิทธิพลระหว่างแรงจูงในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายในและภายนอกกับความจงรักภักดี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ พนักงานในบริษัทอิเลคทรอนิกส์แห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการศึกษาคือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายใน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย (ค่าเฉลี่ย = 4.00) โดยด้านความรับผิดชอบและด้านความสำเร็จในงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ลำดับถัดมาคือ การยกย่องและยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ท้าทาย และด้านความก้าวหน้าในอาชีพตามลำดับ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายนอกมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย (ค่าเฉลี่ย = 3.75) โดยด้านความปลอดภัยในการทำงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ลำดับถัดมาคือ ด้านสวัสดิการ ด้านเงินเดือน ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านโบนัสและค่าจ้างทำงานล่วงเวลาตามลำดับ ความจงรักภักดีต่อองค์การมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย (ค่าเฉลี่ย = 3.66) โดยด้านความรู้สึกมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ลำดับถัดมาคือ ด้านการรับรู้และด้านพฤติกรรมตามลำดับ 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายใน ประกอบด้วย ในด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ลักษณะของงานที่ท้าทาย ความรับผิดชอบมีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุดคือด้านความก้าวหน้าในอาชีพ 3) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายนอกประกอบด้วย ด้านนโยบายและการบริหาร เงินเดือน ความปลอดภัยในการทำงาน สวัสดิการ โบนัสและค่าจ้าง ทำงานล่วงเวลามีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุดคือด้านนโยบายและการบริหาร&nbsp; The objectives of this research were: 1. To study the level of operational motivation, internal and external motivation 2. Study the level of loyalty to the organization 3. Study the influence between operational motivation, internal motivation and loyalty 4. Study the influence between operational motivation, external motivation and loyalty. 5. Study the influence between operational motivation, internal and external motivation and loyalty. The sample groups used in this study are Employees of an electronic company in Laem Chabang Industrial Estate Chonburi Province, 370 people. The tool used for data collection was a questionnaire The statistics used in the study were frequent, percentage, mean, standard deviation. And multiple regression analysis. The results of the study showed that 1) the incentive for performance of internal motivation. Their opinions were at the agree level (average = 4.00) with the highest average level of responsibility and success. Next is Praise and respect The nature of the challenging work And career advancement respectively Performance motivation of external motivation was at the agree level (average = 3 .75) with the highest mean of occupational safety. Next is Welfare Salary side Policy and Administration Bonus and overtime wages respectively. Organizational loyalty was at the agree level (average = 3.66), with the feeling of being the highest average. Next is Cognitive and behavioral aspects, respectively. 2) Performance motivation Internal motivation consists in career advancement. Challenging nature of work Responsibility had a statistically significant influence on loyalty to the organization, with the most influential variable being career progress. 3) Performance incentives: External incentives include policy and administration, payroll, work safety, welfare, bonus and overtime wages influence loyalty to the organization. The variables with the highest influence were policy and administration.</p> 2022-11-25T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2022 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/parituch/article/view/8120 การเตรียมความพร้อมปัจจัยสภาพแวดล้อมสินค้าและบริการภายนอกและภายในโรงแรมอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อต้อนรับผู้เดินทางหลังหายจากโควิด-19 2022-11-25T03:50:03+00:00 ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์ journalLibbuu@gmail.com <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาสิ่งที่ผู้เดินทางชอบและไม่ชอบในการเข้าพักโรงแรมในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผู้เดินทางภาคเอกชน และผู้เดินทางภาคราชการในความต้องการในสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก เพื่อเลือกพักโรงแรมในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสำคัญของสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกโรงแรม ด้านสินค้าและบริการต่อผู้เดินทางมาพักมากกว่ากัน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสังเคราะห์เอกสาร 30 ฉบับ และวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ t-test และ Anova (F-test) และ LSD กับกลุ่มตัวอย่างภาคเอกชน 195 คน ภาคราชการ 195 คน รวม 390 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สิ่งที่ผู้เดินทางมาพักโรงแรมในอำเภอหาดใหญ่ สภาพแวดล้อมภายนอกด้านสินค้าที่ชอบมากที่สุด คือ อยู่ใกล้ห้างสรรพสินค้าหรือที่ซื้อของฝากของที่ระลึก และด้านการบริการที่ชอบมากที่สุด คือ โรงแรมสะดวกหาง่าย ไม่ชอบมากที่สุด คือ โรงแรมหายาก 2) ด้านสภาพแวดล้อมภายนอกโรงแรม ภาคเอกชนมีความต้องการบริการมากกว่าภาคราชการ ผู้เดินทางภาคเอกชนและภาคราชการมีความต้องการ สินค้าไม่แตกต่างกัน ด้านสภาพแวดล้อมภายในโรงแรม ภาคเอกชนและภาคราชการมีความต้องการสินค้าและบริการเท่ากัน คนที่ มาจากภาคเหนือ มีความต้องการการบริการมากกว่าภาคอื่น ๆ และ 3) สภาพแวดล้อม ภายในโรงแรม ด้านสินค้าและบริการมีความสำคัญมากกว่าสภาพแวดล้อมภายนอกด้านสินค้าและบริการ&nbsp; The research had 3 objectives: 1) to study what tourists like and dislike when staying at hotels in Songkhla Province, 2) to compare the demand for the external and internal environment of tourists from private and government sectors, and 3) to compare whether the external or internal environment had more significant effect. The study was both qualitative research where 30 documents were synthesized and quantitative research where t-test, F-test and LSD were used. The total number of sample was 390 tourists from private sectors and government sectors. The findings revealed that 1) the most favorable products’ external environment was the hotel’s nearness to the malls or the places to buy souvenirs. The most favorable service factor was the hotel was easy to find and the most unfavorable was the hotel was difficult to find. 2) To the hotel’s external environment, the guests from private sectors had greater demand for services than those from the government sectors. However, both groups had no differences in the demand for products. To the hotel’s internal environment, both groups had equal needs for products and services. 3) Products and services of internal environment were more significant than those of external environment.</p> 2022-11-25T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2022 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/parituch/article/view/8121 รูปแบบความร่วมมือในการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อรองรับนโยบายเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” 2022-11-25T04:04:08+00:00 ราตรีสวัสดิ์ ธนานันต์ journalLibbuu@gmail.com เรชา ชูสุวรรณ journalLibbuu@gmail.com ชวลิต เกิดทิพย์ journalLibbuu@gmail.com <p>วิจัยเรื่อง รูปแบบความร่วมมือในการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อรองรับนโยบายเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความร่วมมือในการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาร่วมกับภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับนโยบายเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิเคราะห์เอกสารที่อยู่ในรูปทฤษฎี แนวคิดมาตรีความ (Cooper, 2007) เพื่อให้ได้เนื้อหาที่เป็นหมวดหมู่เดียวกัน โดยใช้วิธีบรรยาย ( Jamaramarn &amp; ThanaratchPhoom, 2003) และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 6 คน (Morse, 1985) ทั้งนี้พบว่ารูปแบบความร่วมมือในการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาร่วมกับภาครัฐและเอกชนเพื่อรองรับนโยบาย เมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน รูปแบบที่ง่ายสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) องค์กรธุรกิจหรือราชการร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษา ต่างคนต่างดำเนินภารกิจ แต่อาจเอื้อเฟื้อกันได้ เช่น โรงเรียนเอกชนหรือโรงเรียนรัฐ ส่งลูกศิษย์เรียนต่ออาชีวศึกษา โดยรับโควตา 2) แสวงหาความร่วมมือภาครัฐและเอกชนในการแสวงหาปัจจัยนำเข้า บุคลากรที่จะเข้าเรียน บุคลากรที่จะช่วยสอนพิเศษ วัสดุ งบประมาณ จะให้เปล่าหรือมีเงื่อนไขความตกลง 3) ร่วมมือในกระบวนการสอน ประเมินผลการฝึกงาน การเสริมสร้าง คิดค้นประดิษฐ์ Hard skill, Soft skill จนตามเป้าหมาย&nbsp; The research entitled “Development Plan for Manpower of Vocational Education to Support the Policy of Model Cities under the Triangle of Stability, Prosperity, and Sustainability" aimed to study the cooperation patterns in the provision of vocational education with the public and private sectors and to support the policy of model citifies under the Triangle of Stability, Prosperity, and Sustainability. Theoretical document analysis and concept interpretation (Cooper, 2007) were used for this research to classify content into the same category by using descriptive method (Jamaramarn and ThanaratchPhoom, 2003). It was found that there were 6 patterns of the cooperation in the management of vocational education with the public and private sectors to support the policy of model cities of the Triangle of Stability, Prosperity, and Sustainability. However, based on the system theory, only 4 patterns could be formed.</p> 2022-11-25T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2022 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/parituch/article/view/8122 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมแปรรูป และจำหน่ายเหล็กในจังหวัดสมุทรปราการ 2022-11-25T04:11:18+00:00 ชุติกาญจน์ แก้วงาม journalLibbuu@gmail.com ธัญนันท์ บุญอยู่ journalLibbuu@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับของการรับรู้ความสามารถของตนเอง สภาพแวดล้อมในการทำงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และผลการปฏิบัติงานของพนักงาน และ (2) ปัจจัยเชิงสาเหตุของการรับรู้ความสามารถของตนเอง สภาพแวดล้อมในการทำงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมแปรรูปและจำหน่ายเหล็กในจังหวัดสมุทรปราการ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานอุตสาหกรรมแปรรูปและจำหน่ายเหล็กในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 145 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) พนักงานอุตสาหกรรมแปรรูปและจำหน่ายเหล็กในจังหวัดสมุทรปราการมีระดับของการรับรู้ความสามารถของตนเอง สภาพแวดล้อมในการทำงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกประเด็น ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.48, 3.48, 3.47 และ 3.49 ตามลำดับ และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.863, 0.821, 0.792 และ 0.810 ตาม ลำดับ และ (2) การรับรู้ความสามารถของตนเองและสภาพแวดล้อมในการทำงานมีอิทธิพลทางตรงต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และผลการปฏิบัติงานของพนักงาน และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงานด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็มีอิทธิพลทางตรงต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน&nbsp; This study aimed to explore: (1) level of self-efficacy, work environment, knowledge sharing, and job performance; and (2) causal factors of self- efficacy, work environment, knowledge sharing influencing job performance of structural steel industry staff in Sumut Prakan province. Samples in the study were 145 staff of structural steel industry in Samut Prakan province. A Questionnaire was used as a research instrument in this study. Statistics used in this study included percentage, means, standard deviation, and structural equation modelling analyses. From the results of this study, it was found that: (1) structural steel industry staff in Samut Prakan province had levelled self- efficacy, work environment, knowledge sharing, and job performance at a moderate level for all aspects, ranging from 3.48, 3.48, 3.47 and 3.49 consecutively, whereas the standard deviation was ranged from 0.863, 0.821, 0.792 and 0.810 consecutively. Additionally, (2) self-efficacy and work environment both had directly influenced on knowledge sharing and job performance of these staff and had indirectly influenced on the job performance as well. Furthermore, knowledge sharing had a direct effect on job performance of these staff.</p> 2022-11-25T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2022 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/parituch/article/view/8123 ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง 2022-11-25T04:18:08+00:00 สุรวุฒิ สุขคำ journalLibbuu@gmail.com ฐิติมา ไชยะกุล journalLibbuu@gmail.com <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานที่ส่งผลต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับของการใช้งานเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับในการใช้งานที่ส่งผลต่อทัศนคติที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานที่ส่งผลต่อทัศนคติในการใช้งานเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของทัศนคติในการใช้งานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จำนวน 277 คน ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับในการใช้งานเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 2) ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับในการใช้งาน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านทัศนคติในการใช้งานเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 3) ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านทัศนคติในการใช้งานเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 4) ปัจจัยด้านทัศนคติในการใช้งานมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05&nbsp; The objectives of this study are 1) to study the influence of perception of perceived ease of use on perceived usefulness of automation technology, 2) to investigate the influence of the perceived usefulness on attitude towards using of automation technology, 3) to examine the influence of perceived ease of use on attitude towards using of automation technology, and 4) to study the influence of attitude towards using on technology acceptance of automation technology. The questionnaire survey was used to collect data from 277 employees in an electronics factory in Laem Chabang Industrial Estate, using the sample using simple random sampling. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis. The results showed that 1) the factor of perceived ease of use was found to positively influenced perceived usefulness of automation technology as a significant level of 0.05. 2) the factor of perceived usefulness was found to positively influenced attitude towards using of automation technology as a significant level of 0.05. 3) the factor of perceived ease of use was found to positively influenced attitude towards using of automation technology as a significant level of 0.05. 4) the factor of attitude towards using was found to positively influenced technology acceptance of automation technology as a significant level of 0.05.</p> 2022-11-25T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2022 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/parituch/article/view/8124 ตัวแบบสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในงานของพนักงานขับรถบรรทุกในจังหวัดนครปฐม 2022-11-25T04:24:46+00:00 พิจิตรตรา ทับทิม journalLibbuu@gmail.com ธัญนันท์ บุญอยู่ journalLibbuu@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ตัวแบบสมการโครงสร้างของความฉลาดทางอารมณ์คุณภาพชีวิตในงาน ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีที่มีผลต่อประสิทธิภาพในงานของพนักงานขับรถบรรทุกในจังหวัดนครปฐม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานขับรถบรรทุกในจังหวัดนครปฐม จำนวน 190 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) ความฉลาดทางอารมณ์ส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อความผูกพันต่อองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี และประสิทธิภาพในงานของพนักงาน (2) คุณภาพชีวิตในงานส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อความผูกพันต่อองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีและประสิทธิภาพในงานของพนักงานเช่นกัน (3) ความผูกพันต่อองค์การก็ส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี และความผูกพันต่อองค์การก็ส่งผลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพในงานของพนักงาน และ (4) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพในงานของพนักงาน ซึ่งจากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อพนักงานในองค์การมีความฉลาดทางอารมณ์เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลและมีคุณภาพชีวิตในงานที่ดีก็จะสามารถสร้างให้พนักงานเกิดความผูกพันต่อองค์การที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีอันนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น&nbsp; The objective of this research is to study the causal factors of structural equation model of emotional intelligence, quality of work life, organizational commitment, and organizational citizenship behavior toward work efficacy of lorry staff in Nakhon Pathom province. Samples in this study were 190 lorry staff in Nakhon Pathom province. Research instrument in this study was a questionnaire, which was statistically analyzed by using percentage, means, standard deviation, and structural equation analyses. Results in this study revealed that: ( 1) emotional intelligence had the direct and indirect effect on organizational commitment, organizational citizenship behavior, and work efficacy of staff; (2) quality of work life also had the direct and indirect effect on organizational commitment, organizational citizenship behavior, and work efficacy of staff as well; (3) organizational commitment had directly affected on the organizational citizenship behavior, and organizational commitment had indirectly affected on the work efficacy of staff and (4) organizational citizenship had impacted on the work efficacy of staff. Therefore, the results of this study certified that when organizational staff had their internal emotional intelligence and had good quality of work life, it could promote their organizational commitment. All of these could establish organizational citizenship behavior to increase work efficacy further.</p> 2022-11-25T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2022