โลกาภิวัตน์ ท้องถิ่นนิยม กับการโหยหาอดีต

Authors

  • รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข

Abstract

ในโลกโลกาภิวัตน์ ระบบ และกระบวนการต่าง ๆ ได้เชื่อมโยงต่อกัน และ การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นก็จะมีผลกระทบต่อระบบทั่วทั้งหมด ดูเหมือนว่า โลกาภิวัตน์จะทำให้ความหลากหลายมีมากขึ้นผ่านเทคโนโลยีและการสื่อสาร แต่ ความเป็นจริงแล้วกลับทำให้ความขัดแย้งและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเข้มข้น มากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ผู้คนโดดเดี่ยวจนเกิดความรู้สึกโหยหาอดีตที่เคยมีชีวิต ชีวา ท้องถิ่นนิยมในฐานะพลังต้านทานโลกาภิวัตน์ รวมทั้งการพัฒนา ความทัน สมัย การเป็นอุตสาหกรรม การเป็นตะวันตก ที่ได้กลายเป็นวาทกรรมหลักที่ครอบงำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศโลกที่สามรวมทั้งประเทศไทยกว่าหกสิบปี ได้แสดง ให้เห็นถึงความไม่สมมาตรของการผลิตและการกระจายทรัพยากร และอำนาจใน ชุมชน กระนั้น ความอุดมสมบูรณ์ของชุมชนภายใต้การเติบโตของท้องถิ่นนิยม กลับถูกคุกคามด้วยทุนนิยม การตลาดและสื่อ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของ ประชาชน ชุมชน และองค์กรของรัฐIn a globalizing world, systems and processes are interlinking and any changes also affect to the whole system. It seems that globalization intensifies diversity via technology and media but the fact that it intensifies conflicts and capitalism. In addition, it causes people feel lonely and nostalgic joyous moment. Localism as a resistance to globalization, development, modernization, industrialization, westernization, and progress, which became the master narrative dominated development strategies for third world countries including Thailand for sixties years, shows the asymmetry of production and distribution of resources and power of community. Nevertheless, the richness of community with the growth of localism is threaten by capitalism, marketing and media by the ignorance of people, community and public organization.

Downloads