บทวิเคราะห์วรรณกรรม 1984: ว่าด้วยการวิพากษ์สังคมการเมืองไทย

Authors

  • ธุวพล ทองอินทราช

Abstract

วรรณกรรมคลาสสิค เรื่อง “1984” ที่เขียนขึ้นโดย จอร์จ ออเวลล์ (George Orwell) หรือ เอริค อาร์เธอร์ แบลร์ (Eric Arthur Blair) เป็นการนำเสนอเบื้องลึก เบื้องหลังของ “มนุษย์ สังคม รัฐ อำนาจรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชน” โดยการตั้งคำถามในมุมกลับ กับสิ่งต่าง ๆ ที่ดำรงอยู่และดูเหมือนว่า จะเป็นสิ่งที่ปกติ แต่ความจริงแล้วเป็น “ความปกติของความไม่ปกติ” ที่ดำรงอยู่ ซึ่งการตั้งคำถามในมุมกลับ กับสิ่งต่าง ๆ ที่ดูเหมือนปกติดังกล่าว ก็จะเป็นการ เพิ่มพูนปัญญาความรู้แบบมุมกลับให้กับมนุษย์และสังคมซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งที่ถูก ตั้งคำถามด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ทุก ๆ อย่างถูกทำให้รู้สึกราวกับว่า เป็น “ปกติ” เช่น เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าแท้ที่จริงแล้วเพิ่มพูนความเป็นมนุษย์หรือ ลดทอนความเป็นมนุษย์ นำไปสู่การสถาปาศักยภาพทางอำนาจให้สังคม หรือ สถาปนาความเป็นทาสให้สังคม และอำนาจในสังคมแบบโกลาหล ลักลั่น ย้อนแย้ง กันระหว่างกรอบคิดกับวิถีปฏิบัติ ซึ่งก่อให้เกิดแง่มุมของอำนาจที่ซับซ้อน นำไปสู่ การตั้งคำถามเชิงวิพากษ์ท้าทายได้อย่างหลากหลาย ในกรณีของสังคมการเมือง ไทยเทคโนโลยีของอำนาจเป็นสิ่งที่ทรงพลังมาตลอดพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่สำคัญของรัฐในการกระทำสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะที่หลากหลาย แต่ในปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของวิทยาการโดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้เกิดการสถาปนาอำนาจของเทคโนโลยีในรูปแบบและช่องทางที่หลากหลายในความ สัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐกับประชาชน ในลักษณะการสร้างพื้นทางอำนาจ ให้แก่ประชาชน อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์เชิงอำนาจดังกล่าว อำนาจจะมีสอง โฉมหน้าที่สำคัญ คือ อำนาจรูปธรรมและอำนาจนามธรรม ซึ่งในสังคมการเมือง ไทยจะคุ้นเคยกับอำนาจในแบบรูปธรรม เช่น กฎหมาย ซึ่งปรากฏให้เห็นเด่นชัด แต่จะไม่คุ้นเคยและรับรู้ถึงอำนาจอีกรูปแบบหนึ่ง คือ อำนาจนามธรรม ที่อาศัย วัฒนธรรมเป็นฐานและปฏิบัติการผ่านทางสถาบันหลักของสังคม เนื่องจากมีความ แนบเนียน ซับซ้อน และปราศจากการกดบังคับ และอำนาจในโฉมหน้าที่เป็น นามธรรมดังกล่าวนี้ เป็นอำนาจที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในสังคม การเมืองไทยในยุคปัจจุบันThe classic novel ‘1984’, written by George Orwell (real name Eric Arthur Blair), profoundly depicts “humanity, society, a state, state power and the relationship between state and public” through reverse questioning of all things that seem to be normal, but in reality reveals the “normality of abnormality”. Such a reverse order of questioning should, improves knowledge, improve knowledge, from an opposing perspective, of humanity and society, which is part of the subject being addressed in the novel. Especially nowadays that things are being made to feel as if it is "normal", as technology advances, in fact, enhance or diminish the humanity of human beings. Leading to a potential power, social status or the establishment of a slave society. And the social chaos in contradictory ways overlap between the concept and practice. Which contributes to the aspects of the complex. Leads to a question from a range of critical challenges. In the case of Thailand political power of technology is a powerful all historical development. Is a key tool of the state to do things in a variety of styles. But now with the advancement of science, especially science. Resulting in the establishment of the power of technology in various formats and channels of power relations between the state and people. In creating the appearance of power to the people. However, such power relations. There are two important aspects to the concrete and the abstract is power. The political power in Thailand is familiar with the law, which appears as a noun pronounced. But are not familiar with and recognize the power of another culture is the ideal living and operating base through major institutions of society. Since there is no realistically complex and pressing force. And power in the face of such an abstraction. As the most powerful and effective social politics in modern Thailand.

Downloads