การพัฒนาที่เหลื่อมล้ำ-ใครตกเป็นเหยื่อ ?: ข้อพิจารณาจากมุมมองทางสังคมวิทยาระดับโลก

Authors

  • เชษฐา พวงหัตถ์

Abstract

มีความพยายามที่จะใช้มุมมองแบบมหภาคเพื่ออธิบายว่าอะไรคือ สาเหตุของการพัฒนาที่เหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมกันที่เกิดขึ้นทั่วทั้งโลก บรรดานักทฤษฎีทั้งหลายที่ให้ความสำคัญกับระบบโลก โดยเฉพาะนักทฤษฎี ซึ่งสนใจการแบ่งงานกันทำระหว่างชาติรูปแบบใหม่และนักทฤษฎีซึ่งเขียน เรื่องเกี่ยวกับความเป็นชายขอบทางสังคมอันเป็นผลมาจากกระบวนการของ โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ ก็ได้นำเสนอมุมมองที่มีประโยชน์ต่อการอธิบาย ประเด็นปัญหาข้างต้น มุมมองที่ได้ถูกนำเสนอโดยนักทฤษฎีเหล่านี้ล้วนให้ ความสำคัญกับประเด็นอันหนึ่งนั่นก็คือ การแพร่ขยายของความสัมพันธ์ทาง สังคมแบบทุนนิยมได้กลายเป็นผู้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างความเหี้ยมโหด ด้วยการสังหารประชากรที่ทำการเกษตรและพลังแรงงานจำนวนมหาศาล- ในหลาย ๆ ประเทศ ในหลาย ๆ ภูมิภาค และในหลาย ๆ เมือง ผลลัพธ์ในทางลบ เกิดขึ้น เมื่อการยอมรับวิธีการต่าง ๆ ของเศรษฐกิจแนวเสรีนิยมใหม่ได้ทำให้ เกิดการแตกสลายขึ้นในสังคมที่ไร้การบริหารจัดการทางการเมือง ในบทความนี้ ผู้เขียนได้พยายามที่จะทำให้ทฤษฎีระดับมหภาคเหล่านี้ “กลับมามีชีวิตชีวา” ในการนำไปใช้อธิบายคนจำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ เหยื่อของความอดอยาก, คนงานในประเทศที่หยุดกระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรม, ชาวนายากจน และคนจนเมืองThere have been a number of macroscopic attempts to explain why uneven development, or global inequality arises. World system theorists, those interested in the new international division of labour and those who write about social marginality resulting from the process of economic globalization have all provided valuable insights. All three cohere on one central insight, namely, that the spread of capitalist social relations can act like the grim reaper, cutting a swathe of death through the agricultural populations and labour forces-in many countries, regions and cities. This negative outcome is likely when the adoption of neoliberal economic practices is disengaged from the nature of society and the form of political governance. The author, in this article, have sought to make these general theories ‘come alive’ by discussing four groups –famine victims, workers in the industrializing countries, peasants and the urban poor.

Downloads

Published

2022-10-30