บทวิพากษ์ทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล: ข้อจำกัดในการสร้างคำอธิบายทางสังคมศาสตร์.

Authors

  • จักรี ไชยพินิจ

Abstract

ทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลเป็นทฤษฎีที่มีคุณูปการอย่างมากต่อการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคลี่ให้เห็นถึงปัจจัยหลักของการตัดสินใจเลือกของตัวแสดง แต่ในทางปฏิบัติแล้วทฤษฎีดังกล่าวนี้ ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญ อันได้แก่ ระดับการวิเคราะห์ซึ่งจำเพาะเจาะจงเพียงตัวแสดงรายย่อย ความเป็นทางการของตัวทฤษฎีที่มีเงื่อนไขมากมายปัญหาในด้านการคำนึงถึงบรรทัดฐานที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์เพียงลำพัง การขาดข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อทดสอบทฤษฎี ตลอดจนการละเลยอัตลักษณ์ของตัวแสดงที่มากกว่าผลประโยชน์ในการตัดสินใจ ข้อจำกัดเหล่านี้ก่อให้เกิดคำถามถึงการนำทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์ที่มีความสลับซับซ้อน ผลที่ตามมาคือ ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ที่ได้อิทธิพลจากทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล อาทิทฤษฎีเสรีนิยมใหม่เชิงสถาบันของ โรเบิร์ต โคเฮน ทฤษฎีการข่มขู่ยับยั้ง ของสายอาชญาวิทยา และทฤษฎีทางเลือกสาธารณะของ วินเซนต์ ออสตรอม และเอลินอร์ ออสตรอม ย่อมมีข้อจำกัดในการสร้างคำอธิบายต่อปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์เช่นเดียวกันRational Choice Theory has been theoretically beneficial onexplaining a social phenomenon, particularly in unveiling logic behindpreferences of agency. In practically, Rational Choice Theory, nevertheless,has some critical limitations; those are, level of analysis narrowly focusingon methodological individualism, formalization of theory itself containingexcessive conditions, problem on normative concern based solely onpre-given interests, lack of empirical data for testing theory, andabandonment on agency’s identity probably prevailing pre-given interests.These limitations have raised some questions on applying Rational ChoiceTheory to effectively explain a complex social phenomenon. Because ofthis, those theories influenced by Rational Choice Theory: such as, RobertKoehane’s Neoliberal Institutionalism; Deterrence Theory in Criminology,and Vincent Ostrom and Elinor Ostrom’s Public Choice Theory, woulddefinitely embark on analogous limitations.

Downloads