Review Articla : บทความปริทัศน์ วัฏจักรคลื่นยาวทางเศรษฐกิจการเมืองกับบทวิเคราะห์การเกิดขึ้นของสงคราม.

Authors

  • กัมปนา เบ็ญจนาวี

Abstract

หากกล่าวถึงคำว่า “สงคราม” (War) แล้ว ความหมายหรือคำนิยามจำกัดความแบบกว้าง อาจหมายถึง “เหตุการณ์การปะทะกันแบบรุนแรงระหว่างรัฐหรือกลุ่มรัฐ” แต่สำหรับความหมายแคบ อาจกล่าวได้ว่า สงคราม หมายถึง“สภาพหรือช่วงเวลาที่กลุ่มหรือรัฐปรปักษ์ตั้งแต่สองกลุ่มหรือมากกว่านั้นขึ้นไปมีการขัดแย้งและเข้าต่อสู้รบรากันด้วยกำลังอาวุธของทั้งสอง” (Wright, 1942,p. 8 อ้างถึงใน ศิโรตม์ ภาคสุวรรณ และคณะ, 2542, หน้า 7) ซึ่งสาเหตุหรือปัจจัยถือเป็นสิ่งที่นักวิชาการหรือนักคิดหลาย ๆ คนพยายามที่จะค้นหาและท􀃎ำนายการเกิดขึ้นของสงคราม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการหยุดยั้งการเกิดขึ้นและผลกระทบที่ตามมาจากสงครามทฤษฎีและแนวความคิดของนักวิชาการที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุหรือปัจจัยการเกิดขึ้นของสงคราม Jack S. Levy (1985) ได้รวบรวมส่วนหนึ่งไว้ในบทความที่ชื่อ Theories of General War ที่ได้กล่าวถึงแนวคิดทฤษฎีที่ถูกกล่าวถึงและเป็นที่นิยมนำมาใช้ในการวิเคราะห์คาดการณ์การเกิดขึ้นของสงครามในช่วงยุคปัจจุบัน อันประกอบไปด้วย Theory of hierarchical equilibriumของ Manus I. Midlarsky (1984), Theory of hegemonic war and changeของ Robert Gilpin (1981), The power transition theory ของ Abramo FimoKenneth Organski และ Jacek Kugler (1980), The long cycle theory ของGeorge Modelski (1978) และ William R. Thompson (1983), The capitalistworld-economy paradigm ของ Immanuel Wallerstein (1974) และ ChristopherChase-Dunn (1981), Power cycle theory ของ Charles F. Doran (1983), และTheory of economic cycle and the power transition ของ Raimo Väyrynen(1983)1การอธิบายของแนวคิดเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของสงครามส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นการศึกษาภายใต้มุมมองแบบ “สำนักสัจนิยม” (Realist) ที่เน้นศึกษาถึงความสมดุลของอำนาจ (Balance of Power) ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศช่วงเวลาต่าง ๆ ซึ่งการศึกษาลักษณะดังกล่าวทำให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างประเทศ(International Conflict) จากการแข่งขันแย่งชิงอำนาจ (Power) และการครองความเป็นเจ้าโลก (Hegemonic) ระหว่างประเทศ อันเป็นสภาวการณ์สำคัญที่ทำให้กลุ่มสำนักสัจนิยมเชื่อว่าเป็นการก่อให้เกิดอนาธิปไตย (Anarchy) และเป็นแนวโน้มทำให้เกิดสงครามขึ้นได้ (Levy, 1985, pp. 344-345)

Downloads