การปรับตัวของชุมชนเศรษฐกิจเขียว น้ำเงิน ท่ามกลางสภาวะโลกร้อน : กรณีศึกษาชายฝั่งทะเลตะวันออก

Authors

  • สิตางศ์ เจริญวงศ์
  • ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์
  • สุธี ประศาสน์เศรษฐ

Keywords:

เศรษฐกิจเขียว-น้ำเงิน, สภาวะโลกร้อน, ชายฝั่งทะเลตะวันออก

Abstract

          งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแนวสหวิทยาการแนววิพากษ์ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อศึกษาผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนเศรษฐกิจเขียว น้ำเงิน ในบริบทของภาคตะวันออกท่ามกลางกระแสโลกร้อน โดยมีชุมชนที่เป็นตัวแทนของการศึกษาในครั้งนี้ คือ ตำบลเกาะช้าง ตำบลเกาะช้างใต้ อำเภอเกาะช้าง, ตำบลเกาะกูด อำเภอเกาะกูด และตำบลแหลมกลัด อำเภอเมือง ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบของชุมชนจากสภาวะโลกร้อน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การกัดเซาะชายฝั่ง ปะการังฟอกขาว ผลการศึกษาเรื่องการปรับตัวของชุมชนท่ามกลางสภาวะโลกร้อนพบว่า ตำบลเกาะช้างมีการปรับตัวต่อสภาวะโลกร้อนผ่านกลไกของหน่วยงานภาครัฐ กรณีการปรับตัวของชุมชนตำบลเกาะช้างใต้ ได้แก่ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในลักษณะของการท่องเทียวแบบคาร์บอนต่ำ การรวมกลุ่มโดยใช้ชมรมการท่องเที่ยวบ้านสลักคอกในการให้ชุมชนร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, ตำบลเกาะกูด การปรับตัวในมิติด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การกำหนดข้อตกลงร่วมกันของกลุ่มผู้นำและชุมชนในการต่อต้านการเข้ามาตั้งธุรกิจที่เป็นลักษณะของบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ การรวมกลุ่มรถรถรับส่งนักท่องเที่ยวระหว่างท่าเรือกับที่พักโรงแรม เพื่อสร้างและการกระจายรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชน ในมิติสังคมพบว่า ชุมชนยังคงมีการรวมกลุ่มกันในลักษณะของเครือญาติ ในการทำกิจกรรมสาธารณะร่วมกัน การปรับตัวในมิติด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การพยายามลดความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูระบบนิเวศน์ภายในชุมชน เช่น การอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน การจัดโครงการบ้านปลา ธนาคารปู การสร้างข้อบัญญัติของชุมในการกำหนดการสร้างสิ่งก่อสร้างที่พักโรงแรม ออกข้อกำหนดของเสียงของผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว กรณีตำบลแหลมกลัดพบว่า การปรับตัวด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ การฟื้นฟูทรัพยากรและการสร้างความมั่นคงทางอาหารโดยกำหนดเป็นกติการ่วมกัน การสร้างธรรมนูญการจัดการขยะในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ในมิติด้านเศรษฐกิจได้แก่ การการรวมกลุ่มเพื่อความร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจ รวมถึงการพยายามสร้างฐานเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวชุมชน           This is a critique - interdisciplinary research aiming to study the impact and the adaptation of the green-blue economic community - in the context of eastern coast where having impact from global warming. The community’s representatives in this research are Koh Chang sub-district, Koh Chang Tai sub-district, Koh Chang district, Koh Kut sub-district Koh Kut district and Leam Klat sub-district, Muang district in Trad province. The findings discover that the impact of global warming toward community are climate changed, coastal erosion and coral bleaching. In term of community’s adaptation, Ko Chang sub-district has acclimated themselves through the mechanism of government organization. Regarding to the adaptation of Ko Chang Tai sub-district, they promote ecotourism under Low Carbon Concept. For example, scuba diving activity by using ancient boat, set up conservative group calling “Ban Salakkhok tourism club” to be a natural resources preserving community. Koh Kut sub-district has adapted under the economic context by setting up mutual agreement between leader and community to resist the entering of big multinational company, set working team for tourist transfer between pier and accommodation in order to create and distribute income to the community. Under social context where norm of group set up is under relative connection, there are many public activities. Same with environmental context, community is attempting to reduce potential risk to environment and ecological restoration, for example, mangrove forest reclamation, Fish Habitat Project, Crab Bank, set up concrete requirement from community for the coming accommodation construction and stipulate involvement from all stakeholders who related to tourism. For Leam Klat sub-district, environmental adaptations are natural resource restoration and establish food security by creating mutual agreement, develop waste management charter in tourism area. In term of Economic dimension, there are economic cooperation and the attempt to build economy base from community participation tourism activity.

Downloads