ผู้หญิงกับสันติภาพ : คณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ (PAOW) กับการขับเคลื่อนสันติภาพในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Authors

  • ภัสสรา บุญญฤทธิ์
  • ฉันทนา บรรพศิริโชติ หวันแก้ว

Keywords:

ผู้หญิงชายแดนใต้/ กระบวนการสันติภาพ/ ชายแดนภาคใต้ของไทย, เพศสภาพ

Abstract

          ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ระลอกใหม่ที่ประทุขึ้นตั้งแต่ปี 2547 นับจนถึงปีนี้ก็เป็นเวลา 15 ปี นอกจากจะสร้างความสูญเสียแก่ประชาชนในพื้นที่และในระดับประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมแล้ว อีกด้านหนึ่ง ความไม่สงบดังกล่าวกลับเป็นคุณูปการที่ทำให้สตรีผู้ทำงานภาคประชาสังคมมิติต่าง ๆ ที่มีฐานปฏิบัติการกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตระหนักถึงความสำคัญของการรวมตัวเพื่อเรียกร้องและขับเคลื่อนประเด็นทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อการมีชีวิตปกติสุขของพวกเธอ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องสันติภาพ ด้วยเหตุนี้ “คณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้” จึงถือกำเนิดขึ้นในปี 2558 ในฐานะเวทีทำงาน (Platform) เชิงประเด็นคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของสตรีจาก 23 องค์กรเพื่อสร้างแรงกระเพื่อมและผลักดันข้อเสนอด้านสันติภาพที่สะท้อนการตระหนักถึงมิติหญิงชาย บทความชิ้นนี้มุ่งตอบคำถามสำคัญคือ กลุ่มคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ (กลุ่ม PAOW) ดำเนินกิจกรรมเชิงสันติภาพอย่างไร วัตถุประสงค์ของบทความชิ้นนี้คือเพื่อทำความเข้าใจและอธิบาย 1) กระบวนการขับเคลื่อนการทำงานด้านสันติภาพของคณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ และ 2) เสียงสะท้อนจากการทำงานด้านสันติภาพของพวกเธอผ่านการพิจารณาด้วยแนวคิดมิติความสัมพันธ์หญิงชาย ผลการศึกษาสะท้อนว่า 1) การรวมกันเป็นเครือข่ายเปิดให้การทำงานของกลุ่มผู้หญิงก้าวจากประเด็นเย็นอย่างการเยียวยาไปสู่ประเด็นร้อนอย่างความมั่นคง 2) การทำงานเชิงเครือข่ายมีนัยยะของการสร้างพื้นที่ของกลุ่มผู้หญิงเพื่อแสดงบทบาทตั้งประเด็นสำคัญในกระบวนการสันติภาพ ซึ่งในที่นี้คือ ข้อเสนอพื้นที่สาธารณะปลอดภัยที่เป็นที่รับรู้ทั้งในระดับสังคมโดยทั่วไปและระดับตัวแสดงหลักในพื้นที่นั่นคือ รัฐไทยและฝ่ายผู้ก่อการ แต่กระนั้นข้อเรียกร้องของเธอที่ต้องการให้ผู้หญิงมีบทบาทที่ชัดเจนขึ้นในกระบวนการสันติภาพยังคงเป็นที่ถกเถียงและไม่ส่งผลในทางปฏิบัติ           The unrests in the southernmost provinces of Thailand which have risen for 15 years since 2004 result in both direct and indirect losses to people in the whole country.  Meanwhile, such unrests contribute to the Deep South women working in CSO in various social issues to realize the importance to get organized and drive social issues that affect their normal lives, especially the issue of peace. For this reason, "Peace Agenda of Women:  PAOW" was formed in 2015 as a social women platform. PAOW comprises women from 23 organizations, aiming to advocate gender sensitive peace proposals. This article poses a question how does PAOW perform their peace movements? The purpose of this article is to understand and explain 1) PAOW’s peace activities 2) feedbacks on PAOW’s Peace movements by using gender lens. The study shows that working as network 1) help women expand their working area from soft issue as healing victims to hard issue as security 2) has its significance of creating women working sphere where they could perform and rise essential issues on peace process namely safe public space. Even PAOW’s peace proposals were acknowledged by the general public as well as the key actors in the unrest area, namely, the Thai state and the insurgents, but their requests of having women in the more visible role in the peace process are questioned in term of appropriateness and have not been effective.

Downloads