ประชาสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : มายาคติและข้อจำกัดในการสนับสนุนประชาธิปไตย

Authors

  • ไพรินทร์ มากเจริญ

Keywords:

ประชาสังคม/ ประชาธิปไตย/ มายาคติ

Abstract

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อโต้แย้งแนวคิดกระแสหลักของประชาธิปไตยที่ว่า ‘ประชาสังคมที่เข้มแข็งจะส่งผลดีต่อประชาธิปไตย’ ผ่านกรณีศึกษาภาคประชาสังคมในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ มาเลเซีย กัมพูชาและไทย ข้อค้นพบที่สำคัญ คือ บริบทของภาคประชาสังคมในประเทศที่เลือกศึกษาเป็นไปตามแนวคิดกระแสรองที่เสนอว่าภาคประชาสังคมที่เข้มแข็งอาจมิได้เป็นคุณต่อประชาธิปไตยเสมอไป ทั้งนี้เพราะ ภาคประชาสังคมในภูมิภาคนี้ไม่สามารถสร้างสถาบัน (Institutionalization) ของภาคประชาสังคมที่แท้จริงให้เกิดขึ้นได้ รวมทั้ง ภาคประชาสังคมยังมักถูกจำกัดบทบาทอันเป็นผลจากการถูกจำกัดและปิดกั้นพื้นที่ทางการเมืองโดยผู้มีอำนาจท้ายที่สุดประชาสังคมกับประชาธิปไตยในภูมิภาคนี้จึงมีฐานะเป็นแค่เพียงเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้เพื่อกล่าวอ้างความชอบธรรมในการดำเนินการของกลุ่มคนหรือกลุ่มองค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยมีเบื้องหลังเป็นเป้าหมายหรือผลประโยชน์ในสิ่งที่พวกเขาต้องการอย่างแท้จริงเท่านั้น           This article aimed to argue the mainstream concept of democracy that ‘strong civil society will benefit to democracy’ through the case of civil society in Southeast Asia, including Malaysia Cambodia and Thailand. The key finding is the context of civil society in these countries is based on a secondary concept that suggested that strong civil society may not always support to democracy, because of civil society was often restricted and blocked by political authorities. Ultimately, civil society and democracy in this region, was just a tool that used to claim the legitimacy of the actions of a group of people or a group of organizations with a background, goal or interest in what they truly want.

Downloads