กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ: ตัวแสดงใหม่ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

Authors

  • ธิติ สุวรรณทัต

Keywords:

กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ, ทุนนิยม, สถาบันการเงิน

Abstract

           บทบาทของกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Funds: SWFs) ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศกำลังได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะจากการที่กองทุนเหล่านี้ได้เข้าไปร่วมลงทุนในธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ประสบปัญหาจากวิกฤติซับไพรม์ (Subprime) เช่น การเข้าไปซื้อหุ้นประมาณ 10% มูลค่ากว่า 4,400 ล้านดอลลาร์ ในบริษัทเมอร์ริล สินซ์ (Merrill Lynch) โดยกองทุนเทมาเส็ก (Temasek) ของประเทศสิงคโปร์ การเข้าไปถือหุ้นประมาณ 10% มูลค่าประมาณ 5,000 ล้านดอลลาร์ในบริษัทมอร์แกน แสตนเลย์ (Morgan Stanley) โดยบรรษัทเพื่อการลงทุนของรัฐบาลจีน (China Investment Corporation: CIC) หรือ การเข้าไปลงทุนในซิตี้ กรุ๊ป (Citigroup) ด้วยจำนวนเงินประมาณ 7,500 ล้านดอลลาร์ โดยองค์การเพื่อการลงทุนอาบูดาบี (Abu Dhabi Investment Authority: ADIA) ของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ การเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนในสถาบันการเงินต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติกลายเป็นผู้มีบทบาทและอิทธิพลต่อตลาดทุนและตลาดเงินโลกเป็นอย่างมาก ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง บทบาทกองทุนเหล่านี้โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเอเชียและกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางที่ได้ขยายการลงทุนในกิจการที่มีความสำคัญด้านยุทธศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรป เช่น กิจการน้ำมัน โทรคมนาคม ท่าเรือ สนามบิน หรือโครงการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ก็ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และความหวาดระแวงที่มีต่อกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาตินี้ว่าอาจถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองระหว่างประเทศได้ ความเคลื่อนไหวของ SWFs ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ เพราะบรรษัทข้ามชาติต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นทุนนิยมโดยเอกชน (Private Capitalism) และมีบทบาทเป็นอย่างสูงในฐานะตัวขับเคลื่อนระบบทุนนิยมโลกมาโดยตลอดโดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมานั้น กำลังถูกท้าทายจาก SWFs ของประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นทุนนิยมโดยรัฐ (State Capitalism) ที่กำลังมีขนาดใหญ่ขึ้น             The emergence of Sovereign Wealth Funds (SWFs) has been becoming increasingly important in the international stages, particularly, when SWFs have used their tremendous wealth to invest and give support some of financial institutions and investment banking. The actions come as other kinds of acquirers have been sidelined by the subprime crisis. The Wall Streets’ best-known firms such as Merrill Lynch, Morgan Stanley and Citigroup became the latest to get the sovereign-wealth treatment, picking up a further $ 4.4 billion, 5 billion and 7.5 billion respectively, by the Temasek of Singapore, China Investment Corporation and Abu Dhabi Investment Authority of the United Arab Emirates, much of them from the governments in Asia and the Middle East. In the one hand, in principle everyone welcomes foreign investment, but on the other hand when the money belongs to other governments, people, especially politicians, are not always so sure. American’s Congress has uttered barely a success as Wall Streets’ big firms have taken foreign cash. But when credit was loosed it was alarmed at the state-backed acquisition of oil companies, telecommunications, airports, ports and infrastructure projects. The role of SWFs has made a change to the international political economy, particularly, in the capital globalization, international monetary and financial system. After the World War II, the trans-national corporations have driven the world capitalism, those firms characterized as the private capitalism. Today, the capitalism system that has been forcing by the private capitalism is challenged by the SWFs, the government-owned investment funds, which is becoming greater influence in the global capital market.

Downloads