นิเวศวิทยาการเมืองว่าด้วยความขัดแย้งและการต่อต้านการทำเหมืองแร่ของขบวนการเคลื่อนไหวทาง สังคม

Authors

  • วริยา ด้วงน้อย

Keywords:

นิเวศวิทยาการเมือง, ความขัดแย้ง, การต่อต้าน, ขบวนการเคลื่อนไหว, เหมืองแร่

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านการทำเหมืองแร่ในด้านเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ กลวิธี กระบวนการและปัญหาของการจัดระดมทรัพยากรของขบวนการเคลื่อนไหว ตลอดจนมุมมองของกลุ่มต่าง ๆ ต่อวิธีการหรือการหาทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นบนฐานคิดของเศรษฐศาสตร์การเมืองแนววิพากษ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ กลวิธี ในการต่อสู้คัดค้านเป็นยุทธศาสตร์แบบค่อยเป็นค่อยไป หัวใจสำคัญคือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน โดยการให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชนในพื้นที่ กรอบการเคลื่อนไหวในการต่อสู้คัดค้านคือ “คนหนองไผ่ไม่เอาเหมืองแร่” และ “สำนึกรักบ้านเกิด” เพื่อปกป้องและป้องกันพื้นที่ของประชาชน 2) กระบวนการและปัญหาจัดระดมทรัพยากรเป็นการสร้างเครือข่ายโดยอาศัยความสัมพันธ์แบบเครือญาติ สมาชิกในชุมชนเป็นหลัก มีลักษณะไม่เป็นทางการ มีการสร้างกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ (กลุ่มคนเพชรบูรณ์ไม่เอาเหมืองแร่) และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยใช้สื่อโซเซียลมีเดีย โดยปัญหาของการจัดการทรัพยากรนั้นไม่ได้มีการระดมทรัพยากรอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่เป็นการสร้างความรู้ให้แก่ประชาชน 3) มุมมองของกลุ่มที่มีต่อการหาทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่รัฐต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบจากโครงการของรัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างจริงจังในทุกกระบวนการ หากแต่ยังมีการเคลื่อนไหวของอีกฝ่ายในพื้นที่ของกลุ่มทุน การเคลื่อนไหวของก็จะดำเนินการเคลื่อนไหวจนกว่าบรรลุผล นั่นคือการไม่ให้เหมืองแร่เข้ามาดำเนินในทุกกิจกรรมและไม่ให้เกิดเหมืองแร่ขึ้นในพื้นที่อย่างแน่นอน ข้อค้นพบในการศึกษา การเคลื่อนไหวของกลุ่มเป็นการปกป้องต่อสู้จากคนข้างในพื้นที่ และการเมืองภาคประชาชนในลักษณะการกระจายกลยุทธ์จากกลุ่มการถ่ายทอดกลุ่มเพื่อเกิดการเคลื่อนไหวทางสังคม และการขุดเจาะทรัพยากรใต้ดินในพื้นที่ เป็นทุนนิยมแบบขุดเจาะ เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่อยู่ใต้ดิน              The research methodology adopted for the thesis in qualitative with the main objective to study the goals, strategies, processes and problems resources of mobilization process. And a perspective of social movement on a solution to the problems. Under concept of critical political economy Research finding indicate that dominant of the goals, strategies, tactics of fighting, opposition is a gradual strategy. 1) The key build immunity for the people, by providing information to people in the area. The frame of movement in the fight against is “People in Nong Phai district do not take the mining” and “Homeland Realization” to protect and protect public area. 2) Processes and problems, mobilize resources to create a network based on kinship relationships Main member of the Community Unofficial here are various activities in the area (Phetchabun people do not take mining) and exchange of information using social media. The problem of resource management does not have to mobilize official resource to learning and creates awareness for the people. 3) Group view towards finding solution to the problem in the area, the state must pay attention to the participation of people who have to be affected both positively and negatively from government programs in economic development caused by serious and serious and sincere public participation in all process. If there is still movement will continue in motion until achieving that is, not allowing the mines to carry out all activities and happen in the mining area. Topic of finding indicate that social movement of to protect the fight from the mining area. And the politics of the people in the political distribution strategy from the group to the group for social movement. And drilling of underground space resources in a drilling capitalism in order to acquire resources that are underground.

Downloads