การจัดการท่องเที่ยวชุมชนนิเวศแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาชุมชนชายฝั่งชายแดนภาคตะวันออกอย่าง ยั่งยืน กรณีศึกษา: ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมือง จังหวัดตราด
Keywords:
การจัดการท่องเที่ยวชุมชนนิเวศ, การพัฒนาชุมชน, ชุมชนชายฝั่ง, ตำบลแหลมกลัดAbstract
บทความเรื่อง การจัดการท่องเที่ยวชุมชนนิเวศแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาชุมชนชายฝั่งชายแดนภาคตะวันออกอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: ตำบลแหลมกลัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพและแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน และแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานคิดของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ผลการศึกษาพบว่าตำบลแหลมกลัด มีศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวได้แก่ ศักยภาพของคน ศักยภาพของพื้นที่ ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่มีความหลากหลาย มีประเพณีและวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ศักยภาพในการบริหารจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน มีกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างหลากหลาย แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานคิดของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ต้องคำนึงถึงหลักการที่สำคัญได้แก่ การทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ โดยจะต้องอยู่บนพื้นฐานของอาศัยธรรมชาติเป็นฐานการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อย การท่องเที่ยวที่เปิดโอกาสให้ผู้มาเยือนได้สัมผัส เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเข้ามาวิเคราะห์ และการบริหารจัดการร่วมกันบนฐานของการใส่ใจสิ่งแวดล้อม เป็นต้น The purposes of this participatory action research were: 1) to study the ability and management of ecotourism of Laem Klat Sub-District Community, and 2) to study guideline of ecotourism management of the Laem Klat Sub-District Community. The findings revealed that the community had proficiency in managing ecotourism including local people, the community, and various natural resources. It also had their own culture. Many sectors involved in participation of ecotourism management of the community. The guidelines of ecotourism management were that the community should focus on the creative participation of local people based on the community natural resources, the effects of ecotourism, Tourists’ natural environment learning, and the community management in environment awareness.Downloads
Issue
Section
Articles