แนวทางการปรับตัวของชุมชนประมงพื้นบ้านเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนบริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา กรณีศึกษา : ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

Authors

  • จุตินันท์ ขวัญเนตร
  • สิตางศ์ เจริญวงศ์
  • เอื้อมพร รุ่งศิริ

Abstract

บทความเรื่องแนวทางการปรับตัวของชุมชนประมงพื้นบ้านเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนบริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา กรณีศึกษา: ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของการทำประมงพื้นบ้านและแนวทางการปรับตัวของชุมชนประมงพื้นบ้านเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนบริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา กรณีศึกษา: ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า พัฒนาการของการทำประมงพื้นบ้านในบริเวณ ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดนั้นแบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคที่ 1 ยุคผลิตเพื่อยังชีพ ยุคที่ 2 ยุคของการขยายตัวของการทำประมงพาณิชย์ และยุคที่ 3 ยุคแห่งการปรับตัวและการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า แนวทางการปรับตัวของชุมชนประมงพื้นบ้านเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนได้แก่ การกำหนดระเบียบและกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการทำประมงอย่างมีส่วนร่วม การสร้างระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม และการให้การศึกษากับชุมชนในเรื่องของประโยชน์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน                       The purposes of the research were to study the development and to study the adaptability of local fishing communities to a sustainable natural resource management plan in the Thailand - Cambodia Border: a case study of Hatlek Sub-District, Klong Yai District in Trat Province. The findings showed as follows: 1) there were three eras of the development of local fishing in Hatlek Sub-District, Klong Yai District in Trat, including subsistence production era, expanding commercial fishing era, and adaptable and developing fishing era; 2) the adaptability of local fishing communities to a sustainable natural resource  management plan was setting the regulations of participatory fishing, setting participatory management system and showing advantages and disadvantages of using sustainable natural resource to the fishing communities.

Downloads

Published

2022-10-30