ความขัดแย้งทางการเมืองในการดำเนินนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2531 – 2534)
Abstract
งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาการดำเนินนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าในสมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยมุ่งศึกษาบทบาทของฝ่ายต่างๆ ในการดำเนินนโยบาย รวมทั้งศึกษาถึงความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า การศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรอง รวมทั้งใช้การพรรณนาวิเคราะห์ตามลำดับเหตุการณ์ การเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศระหว่างไทยกับประเทศในอินโดจีนจากการเผชิญหน้า มาเป็นการเปิดสัมพันธ์ทางการค้าภายใต้นโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าในสมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้รับการผลักดันจากคณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี ในขณะที่กระทรวงการต่างประเทศไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรีและคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่าหน่วยงานทางด้านความมั่นคงไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศเช่นกัน This research is set to study the policy termed “Turning the battle field into economic area” by General Chatichai Choonhawan. This research should study the role of several sides participating in the process of implementing the policy, as well as the cooperation and conflict between them. The scope of this study will cover the period when General Chatchai Choonhawan served as Prime Minister of Thailand, i.e. the years from 1988 to 1991. This study will be based on historical methodology which aims to gather an in‐depth understanding of primary and second sources. The policy “Turning the battle field into economic area”, also connected to the restyling of Thai foreign policy concerning Indochina from confrontation to strengthen the relationship in the field of economic, was pushed forward by the board of advisors to the Prime Minister, while the Foreign Ministry was against it. The disagreement concerning this point finally led to the conflict between the Prime Minister and the board of advisors to the Prime Minister on the one side, and the Foreign Ministry on the other side. Apart from the Foreign Ministry, the security agency was also against the said policy.References
กุลนันทน์ คันธิก. (2560). ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย กับการดำเนินนโยบายต่างประเทศ พ.ศ. 2544-2548. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ดาวมาศ อิ่มสำราญรัชต์. (2535). การเมืองในระบบราชการไทยในความสัมพันธ์กับต่างประเทศ : ศึกษาเฉพาะกรณีพิพาทปัญหาสามหมู่บ้านระหว่างไทยกับลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร มหาบัณฑิต, ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภารัตน์ พิรวัฒนกุล. (2544).การเมืองภายในของไทยกับการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของไทยต่อเวียดนามปี ค.ศ. 1988 - 1997. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2502. (2502, 23 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 76 ตอนที่ 92. หน้า 423-429.
พัชรี ลิ้มโภคา. (2528). นโยบายของไทยต่อปัญหาผู้อพยพชาวกัมพูชาสมัยรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, บัณฑิต วิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มติชนสุดสัปดาห์. (2533). “นายกฯ กับกองทัพพูดภาษาเดียวกัน...มีอะไรก็พูดกันเปิดอก”. มติชนสุดสัปดาห์, 11(528), 46.
มติชนออนไลน์. (2562, 22 สิงหาคม). เสวนาวิชาการ ย้อนพินิจ : “บ้านพิษณุโลก” การทูตไทย ณ ทางแพร่งแห่งความเปลี่ยนแปลง. วันที่ค้นข้อมูล 19 กุมภาพันธ์ 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/MatichonOnline/videos/369922540355418/
รัชนิดา ยืนยิ่ง. (2538). ศึกษาเปรียบเทียบนโยบายไทยต่อสหภาพเมียนมาร์ในยุคพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (พ.ศ. 2523 - 2531) กับยุคหลังพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (พ.ศ. 2531-2538). วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีณา เรืองสกุล. (2533). การก่อตั้งและพัฒนาการของพรรคชาติไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาการปกครอง, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เวณิกา บุญมาคลี่. (2536). นโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหภาพเมียนมาร์ในสมัยนายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2531 – 2534). วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักข่าวไทย. (2559, 23 สิงหาคม). ข่าวดังข้ามเวลา : ชาติชาย นโยบายพลิกแผ่นดิน. วันที่ค้นข้อมูล 4 กุมภาพันธ์ 2563, เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=QTReb9s2pDA
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (ม.ป.ป.). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 45. วันที่ค้นข้อมูล 19 กุมภาพันธ์ 2563, เข้าถึงได้จาก https://www2.soc.go.th/?page_id=6165
สิริมน อติแพทย์. (2536). ทหารกับการต่างประเทศไทย : ศึกษาบทบาทของกองทัพบกไทยในความสัมพันธ์ระหว่างไทย – พม่า (พ.ศ. 2539 – 2544). วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุณัย ผาสุก. (2539). นโยบายต่างประเทศของไทย : ศึกษากระบวนการกำหนดของรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณต่อปัญหากัมพูชา (4 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ถึง 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991). วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพรรณิการ์ สวิระสฤษดิ์. (2526). นโยบายของไทยต่อประเทศกัมพูชา ระหว่าง พ.ศ. 2518 - 2523. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพงษ์ ชัยนาม. (2559). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการนโยบายต่างประเทศไทยต่อประเทศเพื่อนบ้าน ในยุคสงครามเย็น: ห้ากรณีศึกษาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อรชา รักดี. (2547). ความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทย - มาเลเซีย : ศึกษาปัญหาและการดำเนินนโยบายของรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ค.ศ. 1980 – 1988). วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรอนงค์ น้อยวงศ์. (2541). กัมพูชา : นโยบายต่างประเทศไทยสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.