มองโครงสร้างอำนาจชายแดนใต้ผ่านการวิเคราะห์การสะสมทุนของนักการเมืองมุสลิมมลายูกรณีศึกษา อับดุลลาเต๊ะ ยากัด
An Analysis of the Power Structure in Southern Border Provinces Reflected through the Capital Accumulation of a Malay Muslim Politician: The Case Study of Abdullateh Yagad
Keywords:
ทุน, ปิแอร์ บูร์ดิเออ, นักการเมืองมุสลิม, ชายแดนใต้, อับดุลลาเต๊ะ ยากัด , Capital, Pierre Bourdieu, Muslim Politician, Three Southern Border Provinces, Abdullateh YagadAbstract
บทความนี้ทดลองใช้แนวคิดเรื่องทุน (capital) ของ ปิแอร์ บูร์ดิเออเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์โครงสร้างอำนาจของพื้นที่ชายแดนใต้เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและข้อมูลประวัติชีวิตของผู้ถูกศึกษาการศึกษากระบวน การสะสมทุน การจำแนกทุนและวิเคราะห์กระบวนการสะสมทุนนี้จะเป็นการเผยแสดงโครงสร้างอำนาจทางการเมืองของพื้นที่ชายแดนใต้และกระบวนการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง กรณีศึกษาในที่นี้คือ อับดุลลาเต๊ะ ยากัด อดีตนายกองค์การบริหารจังหวัดสมัยแรกของยะลา ซึ่งไต่เต้าจากครอบครัวที่มีฐานะยากจนสู่นักธุรกิจและนักการเมืองระดับชั้นนำของจังหวัดยะลา จากการศึกษาพบว่าสถาบันการศึกษาเป็นแหล่งที่มาของทุนสำคัญต่างๆในชีวิตของเขา และทุนทางสังคม เป็นจุดตั้งต้นที่สำคัญในการสร้างและเพิ่มพูนทุนประเภทอื่นๆ สถานการณ์การเมืองชายแดนใต้หลังสงครามเย็นและคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523 ได้นำพาอับดุลลาเต๊ะ ยากัดเข้าพบชนชั้นนำทหารของประเทศไทย นำไปสู่การสะสมทุนทางสังคมก้อนใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม กลายเป็นบารมี หรือทุนทางสัญลักษณ์ในระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยและชายแดนใต้ อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งทางการเมือง ได้นำเขาไปสู่ข้อกล่าวหาในคดีความมั่นคง ความยืดเยื้อกว่า 7 ปีในคดีดังกล่าวได้นำไปสู่ความล่มสลายของทุนทางสัญลักษณ์/บารมีที่เขาสะสมมา อับดุลลาเต๊ะ ยากัด แตกต่างจากนักการเมืองส่วนใหญ่ของพื้นที่ชายแดนใต้ในยุคเดียวกันและยุคปัจจุบันที่มาจากทายาทตระกูลนักการเมืองเก่า ตระกูลอดีตเจ้าเมืองมลายูและตระกูลชนชั้นนำทางศาสนา การสะสมทุนของเขาเป็นไปด้วยตนเอง นอกจากนี้ผู้วิจัยมองว่าเส้นทางชีวิตและการสะสมทุนของเขาเป็นกรณีศึกษาที่ดีในการสะท้อนภาพความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและชายแดนใต้อันเป็นบริบทสำคัญที่ส่งผลต่อโครงสร้างอำนาจทางการเมืองของพื้นที่ This article employs the concept of capital of Pierre Bourdieu as a tool to analyse the power structure of three southern border provinces. The methods of data collection include in- depth interview and life histories of the researched. The accumulation, categorization, and analysis of capitals have revealed the political power structure in the region, and how politician in the area entering into such power. The chosen case study is the Malay Muslim politician named Abdullateh Yagad, who was the first Chief Executive of the Provincial Administration Organization of Yala, Thailand. He was from a poor family and had climbed up to leading positions in business and a political arena in the province. This study shows that an educational institution in his youth was an initial sphere that supported him to accumulate diverse capitals. In particular, social capital was his early accumulation that reinforced him to acquire other types of capitals later on. The life history of Abdullateh Yagad has reflected the political situation in southernmost area in the post -Cold War era. The Order of the Office of the Prime Minister No. 66/2523 patronized him to build up relationships with Thai military elites. This encouraged him to create immense social capitals, leading to a symbolic capital which was considered charisma in the patronage system. However, due to the political conflicts, he was accused of being involved in security-issued crime, which with the consequently struggled for more than seven years. The accusation had eventually waned his accumulated symbolic capitals or charismatic power over time. Yet, Abdullateh Yagad was different from most of his contemporary politicians or the current ones in the southern border provinces. He was not born to an influential politician family, or a Malay Royal one, or was not a son of any Islamic leaders; different capital accumulation had been achieved by himself. This study all in all considers his life path and capital accumulation contributed to the understanding of the relationship of state agencies in southern border area where political power structure was contextually appropriated.References
กฤตวิชญ์ ปิ่มไพบูลย์. (2560). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่าง พ.ศ. 2521-2532. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตย์, สาขาประวัติศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บูฆอรี ยีหมะ. (2549). นักการเมืองถิ่นจังหวัดปัตตานี. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ปิแยร์ บูร์ดิเยอ. (2550). เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์ [L' economie des biens symboliques] (ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข, ผู้แปล และนพพร ประชากุล, บรรณาธิการแปล). กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, ไพฑูรย์ พัฒน์ใหญ่ยิ่ง, อุทัย เอกสะพัง และอ้อมใจ วงษ์มณฑา. (2555). การศึกษายุทธศาสตร์การจัดการสังคมสมบูรณ์แบบ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส). ปัตตานี: มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์.
รุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์. (2558). นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดนราธิวาส. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2550). ชนชั้นนำ ในการเมืองไทยปัจจุบัน: การศึกษากระบวนการผลิตซ้ำทุนวัฒนธรรมตามแนวปีแอร์ บูร์ดิเออ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2558). มโนทัศน์ชนชั้นและทุนของ ปิแอร์ บูร์ดิเออ Concepts of Class and Capital of Pierre Bourdieu. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 2(1), 29-44.
สุนีย์ ประสงค์บัณฑิต. (2548). แนวความคิดฮาบิทัส ของบูดิแอร์ บูร์ดิเยอกับทฤษฎีทางมานุษยวิทยา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตมานุษยวิทยา, คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อสมา มังกรชัย. (2554). โครงสร้างชนชั้นนำและทัศนะของชนชั้นนำมลายูสามจังหวัดชายแดนใต้ที่มีต่อการปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ. สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้, มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.
เอกรินทร์ ต่วนศิริ. (2560). หนึ่งทศวรรษภูมิทัศน์งานวิจัยการเมืองชายแดนใต้. ใน อนุสรณ์ อุณโณ, (บ.ก.), หนึ่งทศวรรษมานุษยวิทยาและสังคมวิทยากับการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้. (หน้า 125-182). กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักข่าวอิศรา. (2564). 17 ปีไฟใต้...ความรุนแรงยังไม่จางหาย สารพัดเหตุร้ายผสมโรง. วันที่ค้นข้อมูล 21 พฤษภาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.isranews.org/article/south-news/south-slide/94729-anniversary.html
ซุกรี (ชื่อสมมุติ). (2564, 18 พฤษภาคม). ประชาชนชาย อายุ 32 ปี. สัมภาษณ์.
อับดุลลาเต๊ะ ยากัด. (2554, 13 กันยายน). นักการเมืองท้องถิ่น. สัมภาษณ์.
อับดุลเลาะห์ (ชื่อสมมุติ). (2564, 17 พฤษภาคม). นักกิจกรรมจังหวัดยะลา. สัมภาษณ์.
อับดุลอาซิส (ชื่อสมมุติ). (2564, 17 พฤษภาคม). หัวคะแนน. สัมภาษณ์.
Bourdieu, P. (1977). Outline of a Theory of Practice. Trans. Richard Nice. Cambridge University Press.
Bourdieu, P. (1984). Distinction: A Social Critique of the Judgement of Taste. Harvard: Routledge and Kagan Paul Ltd.
Bourdieu, P. (1986). The Forms of Capital. In J. G. Richardson, (edited). Handbook of theory and research for the sociology of education. (pp. 241–258). New York: Greenwood Press.
Bourdieu, P. (1993). Sociology in Question. (Richard Nice, trans). London: Sage Publications.
Chin, P. (2003). My side of history. Singapore: Media Masters.
Grenfell, M. (edited). (2008). Pierre Bourdieu Key concepts. Acumen, Stocksfield.
Jenkins, R. (1992). Pierre Bourdieu. London: Routledge.
Scott, J. C. (1972). Patron-client politics and political change in Southeast Asia. The American political science review, 66(1), 91-113.
Swartz, D. (1997). Culture and Power: the sociology of Pierre Boudieu. Chicago: University of Chicago Press.