ลัทธิพาณิชย์นิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 21

Mercantilism of the 21th Century

Authors

  • แชมป์ นิ่มไพบูลย์
  • ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ

Keywords:

เศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ, พาณิชย์นิยม, การค้าระหว่างประเทศ, International Political Economy, Mercantilism, International Trade

Abstract

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบแนวคิดทฤษฎีพาณิชย์นิยม ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เก่าแก่และสำคัญ ภายใต้แนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (วิเคราะห์เอกสาร) โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารในรูปแบบหนังสือ วารสาร บทความ วิทยานิพนธ์ เอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง และเว็บไซต์เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แล้วสรุปผลการวิจัย โดยเป็นการศึกษาเฉพาะทฤษฎีพาณิชย์นิยมเพื่อที่จะ (1) เข้าใจวิวัฒนาการของแนวคิดทฤษฎีพาณิชย์นิยม (2) เข้าใจกรอบแนวคิดทฤษฎีพาณิชย์นิยม และ (3) เข้าใจและวิเคราะห์หลักสำคัญของแนวคิดทฤษฎีพาณิชย์นิยมจากการศึกษาค้นคว้าพบว่า แนวคิดทฤษฎีพาณิชย์นิยมเกิดขึ้นในยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับการสร้างอำนาจ และความมั่นคั่งของรัฐโดยเน้นที่ปัญหาสามส่วนคือ ความมั่นคั่ง บทบาทของรัฐ และตลาด ภายใต้ระบบทฤษฎีนี้จะนำมาซึ่งฝ่ายหนึ่งได้และอีกฝ่ายหนึ่งเสีย และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายรัฐที่มีอำนาจและความมั่งคั่งมากกว่า ก็จะเข้ายึดประเทศที่ด้อยกว่า เรียกว่าการสร้างอาณานิคม โดยแนวความคิดหลักของทฤษฎีพาณิชย์นิยม คือ (1) โลหะเงิน และทองคำ ทำหน้าที่เป็นเครื่องสะสมมูลค่า สะสมความมั่งคั่งของประเทศ (2) ชาตินิยม เชื่อว่าชาติหรือประเทศ สำคัญกว่าบุคคล เน้นประเทศหรือชาติเป็นสำคัญ (3) การค้าระหว่างประเทศ เป็นหนทางสำคัญในการเพิ่มความมั่งคั่ง และอำนาจให้แก่ประเทศ เป็นการค้าแบบผูกขาดและต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด นั่นคือรัฐต้องดำเนินนโยบายการค้าที่ทำให้ส่งออกมากกว่านำเข้า และ(4) การแสวงหาอาณานิคม ประเทศจะสามารถกอบโกยผลประโยชน์ สะสมความมั่งคั่ง รักษาความมั่นคงไว้ได้โดยการเอารัดเอาเปรียบประเทศอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่งคั่งและนำไปสู่ประเทศมหาอำนาจในที่สุด  This article aims to study the conceptual framework of mercantilism that is a classic and important theory under the concept of international political economy. It is qualitative research (Documentary research) by using a study method from documents in the form of books, journals, articles, thesis, related academic documents and websites to analyze the data and draw conclusions from the research. The study was only the mercantilism in order to (1) understand the background of the concept of mercantilism, (2) to understand the concept of the mercantilism and (3) to understand and analyze the key principles of mercantilism. From the study, it was found that concept of mercantilism was made in Europe in the 15th century that it was a theory of power generation. Moreover, the security of the state emphasis on three issues; First, security of the role in the state and the market. Second, one party gains and the other loses and the last, achievement of the goal of a state with more power and wealth that will occupy an inferior country, called colonization. The main concepts of mercantilism are (1) silver and gold metals act as collectors, that is accumulated the wealth of the country, (2) Nationalism, believed that a nation or a country if more important than the person emphasis, is placed on the country or the nation, (3) International trade, it is an important way to increase wealth and power to the country. It is a monopoly trade and closely controlled. That is, states must implement trade policies that make exports more than imports, and (4) Colonial pursuits, the country will be able to benefit accumulated wealth and maintain stability by taking advantage of other countries. Therefore, this creates wealth and eventually lead to a superpower country.

References

กุลลินี มุทธากลิน. (2559). ชุดวิชาไทยในเศรษฐกิจโลก หน่วยที่ 3 ประเทศไทยกับเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

คมชัดลึก. (2559). สวนกล้วยจีนกับชาวกสิกรลาว. วันที่ค้นข้อมูล 14 มิถุนายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.komchadluek.net/scoop/225460

จิตติภัทร พูนขำ. (2564). ความท้าทายของการเมืองโลก 2019 : ก้าวข้ามวิกฤตท้าทายระเบียบเสรีนิยม. วันที่ค้นข้อมูล 30 มิถุนายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.the101.world/the- challenge-of-world-politics-2019/

ไทยพีบีเอส. (2563). คิงส์โรมัน เมืองใหม่จีน ตรงข้าม อ.เชียงแสน จ.เชียงราย. วันที่ค้นข้อมูล 9 มกราคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://news.thaipbs.or.th/content/289644

ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. (2558). เศรษฐศาสตร์การค้าระหว่างประเทศเบื้องต้น. คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

นวิทย์ เอมเอก. (2557). วิทยานิพนธ์เรื่องสมรรถนะเชิงพฤติกรรมเพื่อความสามารถในการแข่งขันและความสำเร็จของผู้ประกอบการค้าชายแดนไทย - มาเลเซียเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สาขาวิชาการจัดการ, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล. (2551). วิทยานิพนธ์เรื่องเศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจในประเทศไทย กรณีศึกษา: บทบาทของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยในการเจรจาข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ. คณะเศรษฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2564). ลัทธิพาณิชยนิยม. วันที่ค้นข้อมูล 30 มิถุนายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/% E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%97% E0%B8%98% E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%93% E0%B8%B4%E0% B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2564). สงครามการค้าจีน - สหรัฐ. วันที่ค้นข้อมูล 14 มิถุนายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/ wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8% 84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8% A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99% E2%80% 93%E0%B8%AA%E0%B8% AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90

วรวิทย์ เจริญเลิศ. (2562). ประวัติแนวคิดเศรษฐกิจการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

วสันต์ ภูวภัทรพร. (2562). ประวัติศาสตร์ลัทธิเศรษฐกิจ History of Economic Thought. คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรีย์พร พานิชอัตรา. (2557). เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ. คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏ รำไพพรรณี.

Balaam, D. N., & Veseth, M. (2008). Introduction to International Political Economy. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Pennington, D. (1989). Europe in the Seventeenth Century. London: Longman.

O'Brien, R., & Williams, M. (2010). Global Political Economy. New York: Palgrave Macmillan.

Miller, T. (2017). China’s Asian Dream: Empire Building Along the New Silk Road. London: Zed Books.

Downloads

Published

2022-10-31