สภาวะอาณานิคมภายในของเวียดนามสมัยอาณานิคมฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1885 - 1939: บทวิเคราะห์จากทฤษฎีพึ่งพิงพึ่งพาของอังเดร กุนเดอร์ แฟรงค์

The State of Internal Colonialization in Vietnam During France’s Colonization in 1885-1939: An Analytical Study Based on Dependency Theory of Andre Gunder Frank

Authors

  • จิรายุทธ์ สีม่วง
  • ภัสสรา บุญญฤทธิ์

Keywords:

ทฤษฎีพึ่งพิงพึ่งพา, อินโดจีนของฝรั่งเศส, เวียดนาม, อาณานิคมภายใน, อังเดร กุนเดอร์ แฟรงค์, Dependency Theory, French Indochina, Vietnam, Internal Colonialism, Andre Gunder Frank

Abstract

บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเกิดขึ้นของสภาวะอาณานิคมภายในของเวียดนามในสมัยอาณานิคมของฝรั่งเศสโดยใช้ทฤษฎีพึ่งพิงพึ่งพาของอังเดร กุนเดอร์ แฟรงค์ สภาวะอาณานิคมภายในเวียดนามมีสาเหตุจากโครงสร้างการแบ่งงานกันทำในระดับโลก การแบ่งงานดังกล่าวไม่เพียงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประเทศอาณานิคมด้อยพัฒนาเท่านั้น แต่ยังเป็นสาเหตุให้เกิดการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันในระดับพื้นที่ภายในประเทศอาณานิคม ในกรณีของประเทศเวียดนามการแบ่งงานกันทำภายในประเทศทำให้เกิดพื้นที่แกนกลางที่มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจการเมืองและรองรับการเผยแพร่อารยธรรมฝรั่งเศส ได้แก่ ห่าโหน่ย ส่ายก่อน และเมืองบริวาร ได้แก่ เมืองโดยรอบที่มีหน้าที่ผลิตสินค้าป้อนระบบทุนนิยมโดยเฉพาะการทำนิคมไร่ขนาดใหญ่ อุตสาหกรรม และเหมืองแร่ตามความต้องการของประเทศแกนกลางคือฝรั่งเศสและตลาดโลก  The purpose of this article is analyzing the process of internal colonization taken place in Vietnam during the colonization of France by applying the theory of dependency as mentioned by Andre Gunder Frank. The internal colonization in Vietnam is the result of the distribution of labour in global level which forces Vietnam facing underdevelopment. Besides, this international labour distribution causes also the unequal development within the country itself, called internal colonization. Regarding Vietnam, this country is affected by the internal distribution of labour causing the emergence of metropoles and satellite cities. The metropoles cities of Vietnam including Hanoi and Saigon are the economic and political centres of the country and the city of French civilization. Meanwhile, the satellite cities are the cities surrounding the metropoles. Their roles are producing goods from the huge plantations, industrial estates, and mines to feed capitalism system as demanded by its metropoles country, France, and the global trades.

References

เขียน ธีรวิทย์. (2542). เวียดนาม สังคมเศรษฐกิจ ความมั่นคง การเมือง และการต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เชษฐา พวงหัตถ์. (2558). ทำความเข้าใจเรื่องการพัฒนาผ่านข้อถกเถียงทางทฤษฎี. วารสารพัฒนาสังคม, 17(1), 135-152.

ปรีชา คุวินทร์พันธุ์. (2547). สังคมวิทยาและมานุษยวิทยานคร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล. (2564). ทุพภิกขภัยในเวียดนามปี 1945 ภาวะอดอยากครั้งรุนแรง ต้องกินรากไม้ประทังชีวิต. วันที่ค้นข้อมูล 15 ธันวาคม 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.silpamag.com/history/article_72078

พิษณุ สุนทรารักษ์. (2531). การวิเคราะห์ความคิดว่าด้วยทฤษฎีพัฒนาการกึ่งเมืองขึ้นของ Fernando Henrique Cardoso. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2533). แนวคดิมาร์กซีสกับการศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงในสังคมชาวนาประเทศโลกที่สาม. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

สุด จอนเจิดสิน. (2544). ประวัติอศาสตร์เวียดนามตั้งแต่สมัยอาณานิคมฝรั่งเศสถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล ธรรมร่มดี. (2530). สังคมวิทยาการพัฒนาและความด้อยพัฒนา: บทวิจารณ์ทฤษฎีพึ่งพา. วิทยานิพนธ์ สังคมวิทยามหาบัณฑิต, คณะสังคม วิทยาและมนุษยวิทยา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2547). ทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองยุคปัจจุบัน (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฮวง วันจี่. (2515). จากระบบอาณานิคมสู่ระบอบคอมมิวนิสต์= From Colonialism to Communism. แปลโดย ประเวศ ศรีพัฒน์. กรุงเทพฯ: โพธิ์สามต้นการพิมพ์.

Aguila, M., & Bortz, J. (2006). Andre Gunder Frank: The Limits to the Latin American Lumpenbourgeoisie. Journal Für Entwicklungspolitik, XXII(1), 84-97

Frank, A. G. (1996). The Development of Underdevelopment. Monthly Review, 18(4),17-31.

Frank, A. G. (1967). Capitalism and Underdevelopment in Latin America; Historical Studies of Chile and Brazil. New York: Monthly Review Press.

Goscha, C. (1999). Thailand and the Southeast Asian Networks of the Vietnamese Revolution 1885-1954. London: Routledge.

Goscha, C. (2008). Widening the Colonial Encounter: Asian Connections Inside French Indochina During the Interwar Period Modern Asian Studies. Modern Asian Studies, (43)5, 1189 –1228

Goscha, C. (2012). Going Indochinese: Contesting Concepts of Space and Place in French Indochina. Copenhagen: NIAS Press.

Japan Tetsud-osh-o. (1920). An Official Guide to Eastern Asia V.5. Tokyo, Japan: Department of Railways.

Merette, S. (2013). Vietnam’s North-South Gap in Historical Perspective: The Economies of Cochinchina and Tonkin, 1900-1940. A thesis of Doctor of Philosophy, Department of Economic History, the London School of Economics and Political Science, London England.

Downloads

Published

2022-10-31