“การประกอบสร้างศิลปินแห่งรัฐ”: บทสะท้อนว่าด้วยการแสดงออกทางการเมืองของศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ภายใต้ระบบรัฐราชการไทย

“Construction of National Artist”: Reflections on the Political Expressions of National Artists in the Field of Literature under the Thai Bureaucratic Polity

Authors

  • จาตุรงค์ สุทาวัน

Keywords:

การประกอบสร้าง, อุดมการณ์, ศิลปินแห่งชาติ, รัฐราชการ, Construction, National Artist, Ideology, Bureaucratic Polity

Abstract

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการประกอบสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์กับอุดมการณ์แห่งรัฐ โดยเป็นการศึกษาวิจัยในเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร (Documentary Research) ผลการวิจัยพบว่า ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์กับอุดมการณ์แห่งรัฐมีการประกอบสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจใน 3 รูปแบบด้วยกันคือ (1) ความสอดคล้องด้านความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่าง “ลักษณะการปกครองของรัฐบาล” กับ “การประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์” (2) การประกอบสร้างความสัมพันธ์โดยการสร้างต้นแบบศิลปินแห่งชาติในทางอนุรักษ์นิยม (3) การประกอบสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจโดยการที่รัฐราชการนำศิลปินเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองหรือใช้เป็นกลไกเพื่อสร้างคุณประโยชน์ต่อรัฐราชการทั้งนี้ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ได้เป็นหนึ่งในกระบวนการประกอบสร้างอุดมการณ์ของรัฐไทยที่ยึดติดกับแนวคิดในทางอนุรักษ์นิยม (Conservative) โดยมีรัฐบาลที่มีลักษณะการปกครองในรูปแบบรัฐราชการ (Bureaucratic Polity) เป็นตัวแปรสำคัญในการควบคุมพื้นที่ทางเสรีภาพและอุดมการณ์แม้ด้วยพลวัตทางการเมืองที่ไม่หยุดนิ่ง ส่งผลให้เกิดกลุ่มพลังจากภาคประชาชนที่ค่อย ๆ ทำให้อำนาจของรัฐราชการนั้นอ่อนกำลังลง และเปิดโอกาสให้ศิลปินที่มีความแตกต่างหลากหลายในทางอุดมการณ์ได้มีโอกาสเข้าสู่ตำแหน่งแต่การได้รับบทบาทศิลปินที่ถูกกำกับโดยอำนาจรัฐ เสรีภาพในการแสดงออกจึงกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ศิลปินต้องแลกด้วยการทำงานภายใต้อุดมการณ์ของรัฐราชการ ซึ่งรัฐต่างตอบแทนผลประโยชน์ในรูปของเงินเดือนและสวัสดิการจนกลายเป็นเจ้าหน้าที่รัฐไปโดยสมบูรณ์  This article aims to study the characteristics of building power relations between national artists in the field of literature and ideological state. This is a descriptive research study using documentary research methods. The conclusions for building power relations in 3 forms are: (1) the coherence of power relations between "characteristics of government" and "announcing honoring national artists in the field of literature" (2) building a relationship by building a model of a national artist in a conservative way (3) building a power relationship by the government brought artists into political positions or used as a mechanism to create benefits for the bureaucratic polity. National artists in the field of literature have been one of the processes in creating the ideological of the Thai state that adheres to conservative ideas with a government that has a form of government in the form of a Bureaucratic Polity is an important variable in the control of freedom and ideological. Even with the dynamic political dynamics as a result, the power of the people's sectors gradually weakened the power of the bureaucracy and giving an opportunity for artists with diverse ideologies to have the opportunity to become national artists but getting the role of an artist that was directed by the state power. Freedom of expression therefore became an important condition that artists had to pay for working under the ideological of the bureaucratic polity in which the state pays benefits in the form of salaries and welfare until becoming a complete government official.

References

กำธร เวหน. (2540). เสถียรภาพของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยไทย: ศึกษากรณีรัฐบาลชาติชาย

ชุณหะวัณ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุลดา เกษบุญชู มี้ด. (2550). การเมืองไทยในยุคสฤษดิ์ - ถนอมภายใต้โครงสร้างอำนาจโลก. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

จาตุรงค์ สุทาวัน และวีระ หวังสัจจะโชค. (2564). แนวคิดนักกฎหมายแบบอนุรักษ์นิยม: การตีความรัฐธรรมนูญด้วยกรอบแนวคิดปัญญาชน. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 9(1), 80-106.

ชนิดา ชิตบัณฑิตย์. (2550). โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: การสถาปนาพระราชอำนาจนำในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ชัชฎา กำลังแพทย์. (2561). รัฐสุลต่าน อาหรับปสปริง การพัฒนาประชาธิปไตยในอียิปต์. วารสารธรรมศาสตร์, 37(3), 121-142.

ชัชฎา กำลังแพทย์. (2562). พลวัตและการปรับตัวของรัฐราชการไทย: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ รัฐราชการสมัย สฤษดิ์และรัฐราชการสมัย คสช. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชาตรี ประกิตนนทการ. (2563). ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร สัญลักษณ์ทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์”. กรุงเทพฯ: มติชน.

ชำนาญ จันทร์เรือง. (2564). รู้ทันการปลด "ศิลปินแห่งชาติ". วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/960128

เดอะโมเมนตั้ม. (2563). “ผมไม่ใช่นั่งร้านรัฐบาลเผด็จการ แต่ผมใช้รัฐบาลเผด็จการเป็นนั่งร้านทำงานด้านศิลปวัฒธรรม” เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://themomentum.co/interview-politics-nawaratphongphiboon/

เดอะอีสาน เรคคอร์ด. (2564). สุชาติ สวัสดิ์ศรี : สังคมใดไม่มีเสรีภาพ สร้างศิลปินใหญ่ไม่ได้. วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://theisaanrecord.co/2021/09/21/suchartsawatsri-and-the-national-artist/

โตมร ศุภปรีชา. (2560). ศิลปินแห่งชาติมีไว้ทำไม. วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://thematter.co/thinkers/national-artist

ถนอม ชาภักดี. (2555). การสถาปนาพื้นที่ทางศิลปะในบริบทของชุมชนเมือง กรณีศึกษา การเปลี่ยนผ่านจากโรงงานสู่พื้นที่ทางศิลปะ 798 กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(2), 107-120.

ทวี สุรฤทธิกุล. (2563). เล่าเรื่อง “กิจสังคมเก่า. วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://siamrath.co.th/n/175094

ทรูทฟอร์ยู. (2564). ย้อนปม “ไพฑูรย์ ธัญญา” แต่งกลอนวิจารณ์ “ยิ่งลักษณ์” ลือสะพัด “สุชาติ” อยู่เบื้องหลัง เคยท้าล่าชื่อถอดพ้นศิลปินแห่งชาติ!?. วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://truthforyou.co/62248/

ธนบรรณ อู่ทองมาก. (2560). รัฐราชการไทยภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหา บัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2564). ศิลปินแห่งรัฐราชการไทย. วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2021/12/96372

บีบีซี นิวส์. (2564). สุชาติ สวัสดิ์ศรี รู้สึกแปลกแยก ย้อนแย้ง หลังถูกปลดจากศิลปินแห่งชาติ. วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-58897685

ภณิพล อภิชิตสกุล. (2018). นโยบายศิลปะสาธารณะ 1% โดยรัฐบาลไต้หวัน. Silpakorn University Journal of Fine Arts Vol, 6(1), 195.

ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์. (2561). อิสรเสรีภาพของสื่อศิลปะการแสดงในการนําเสนอประเด็นทางการเมืองหลังรัฐ ประหาร 2557: กรณีศึกษาพระจันทร์เสี้ยวการละครและกลุ่มละคร B-floor. วารสารศิลป์ปริทัศน์, 6(2), 16-25.

ภานุพงศ์ สิทธิสาร. (2562). ชนชั้นนำไทยกับการจัดการการศึกษาไทย: หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล กับโครงการด้านการศึกษา พ.ศ. 2490 - 2512. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มติคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม 2564.

มติชนออนไลน์. (2560). กลอนคดีหู. วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/book/news_ 644348/attachment/%E0%B8%81%E0%B8%A%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%B9

เมธีพัชญ์ จงวโรทัย. (2551). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ทิศทางประชาธิปไตยในประเทศไทย: วิเคราะห์กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2548). การเมืองการปกครองของไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

วีระ หวังสัจจะโชค. (2556). การจัดสถาบันของนโยบายจำนำข้าว. ดุษฎีนิพนธ์ในรัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เวย์ แมกกาซีน. (2564). ทัศนะวิพากษ์ในยุคสมัยที่เสรีภาพของศิลปินไทยถูกกดต่ำ. วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://waymagazine.org/way-conversation-freedom-of-thai-artists/

ศุภชัย อารีรุ่งเรือง. (2564). เสียงตะโกนร้องในงานศิลปะกับการเมืองที่ถูกควบคุม. วารสารศิลปกรรมสาร, (2), 95-111.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2562). นักวิชาการกับการต่อสู้ช่วงชิงความหมาย “ประชาธิปไตย” ในภาวะวิกฤตทางการ เมือง พ.ศ. 2548-2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สารคดีไลท์. (2564) .อ่านทมยันตี จากวงวรรณกรรมพาฝัน สู่ความทรงจำในบันทึก 6 ตุลา. วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.sarakadeelite.com/faces/thommayanti-thai-writer/

สุรพศ ทวีศักดิ์. (2561). รัฐกับศาสนา: ศีลธรรม อำนาจ และอิสรภาพ. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

สุรพศ ทวีศักดิ์. (2562). มนุษย์กับเสรีภาพ มุมมองทางปรัชญา คานท์ มิลล์ รอลล์. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล. (2561). โลกที่ เสกสรรค์ เห็น คือโลกที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยม-ก้าวหน้า ไม่เคยคิด. วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/thailand- 43341487

โสภา ชนะมูล. (2550). “ชาติไทย” ในทัศนะปัญญาชนหัวก้าวหน้า. กรุงเทพฯ: มติชน.

อดินันท์ พรหมพันธ์ใจ. (2558). การเมืองไทยในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์: การบริหารจัดการทางการเมือง (2523 - 2531). ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

อนงค์ รุ่งแจ้ง. (2554). พลังฝีมือในสี่แผ่นดิน. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 28(3), 107-124.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2536). ม็อบมือถือ: ชนชั้นกลางและนักธุรกิจกับพัฒนาการประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: มติชน.

เอ็มจีอาร์ ออนไลน์. (2551). เพลงยาวถึงรัฐบาลจากการเลือกตั้ง โดย ไพวรินทร์ ขาวงาม. วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/politics/detail/9510000074059

Lowndes, V. (2002). Institutionalism. In Marsh, D. and Stoker, G. (Eds). Theory and Methods in Political Science. Hound mills: Palgrave.

Olsen, M. (1965). The Logic of Collective Action. Massachusetts: Harvard University Press.

Riggs, F. W. (1964). Administration in Developing Countries: The Theory of Prismatic Society. Boston, Massachusetts: Houghton Mifflin.

Rivard, L. (2014). America’s Hidden History: The Eugenics Movement. Retrieved December 2, 2020, from https://www.nature.com/scitable/forums/genetics-generation/america-s-hidden-history the-eugenics-movement-123919444/

Takacs, D. (2003). How does your positionality bias your epistemology?. The Nea Higher Education Journal, Summer, 27-38.

Downloads

Published

2023-01-11