การเปรียบเทียบยุทธวิธีและนวัตกรรมการเคลื่อนไหวด้วยสื่อสังคมออนไลน์ของขบวนการเคลื่อนไหว “The Umbrella Movement” กับ “คณะประชาชนปลดแอก”

The Comparative Tactics and Innovations of Social Media Movements of the Movement “The Umbrella Movement” and “The Free People Movement”

Authors

  • กมลวรรณ ทับทิมทอง
  • วีระ หวังสัจจะโชค

Keywords:

ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม, นวัตกรรม, สื่อสังคม, Social Movement, Innovation, Social Media

Abstract

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายุทธวิธีการต่อสู้และศึกษาเปรียบเทียบนวัตกรรมการเคลื่อนไหวด้วยสื่อสังคมออนไลน์ ของขบวนการ The Umbrella Movement เขตปกครองพิเศษฮ่องกง กับคณะประชาชนปลดแอกประเทศไทย โดยการใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพหุกรณี (Multiple Case Study) ที่ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป โดยจะเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเฉพาะเจาะจง จากการวิจัยพบว่า ทั้งสองขบวนการมีการใช้รูปแบบสื่อสังคมออนไลน์ที่คล้ายคลึงกัน แต่การใช้สื่อสังคมออนไลน์นั้นมีการใช้ยุทธวิธีที่แตกต่างกัน โดยขบวนการ The Umbrella Movement ส่วนใหญ่แล้วจะกระจายข่าวสารผ่าน Facebook และติดต่อสื่อสารกันผ่าน FireChat, Wechat, WhatsApp ในขณะที่คณะประชาชนปลดแอกจะกระจายข่าวสารทั้งทาง Facebook และ Twitter รวมถึงการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ทั้งนี้ ขบวนการเคลื่อนไหว The Umbrella Movement และคณะประชาชนปลดแอก ถึงแม้ว่าจะมีการใช้ยุทธวิธีที่ต่างกันแต่กลับมีจุดมุ่งหมายเดียวกันในการเรียกร้องสิทธิ และเสรีภาพ  This study aimed to investigate fight tactics and comparative study of innovative social media movements between the Umbrella Movement in Hong Kong, the Special Administrative Regions of China, and Free People Thailand. This was qualitative research with a multiple case study, consisting of two or more cases. The data were collected from documents and specific interviews. The findings revealed that both movements employed similar social media patterns with different tactics. The Umbrella Movement mostly disseminated news through Facebook and communicated through FireChat, WeChat, and WhatsApp, while Free People Thailand disseminated news through Facebook and Twitter, including the exchange of opinions. Although the Umbrella Movement and Free People Thailand employed different tactics, both had the same purpose of claiming rights and independence.

References

กนกรัตน์ เลิศชูสกุล. (2564). สงครามเย็น (ใน) ระหว่างโบว์ขาว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

ชำนาญ จันทร์เรือง. (2557). Umbrella Movement. กรุงเทพธุรกิจ. วันที่ค้นข้อมูล 3 กุมภาพันธ์ 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/107679

ทรงชัย ปานทอง. (2560). ยุทธวิธีในการเคลื่อนไหวทางสังคมของ “กลุ่มไม่เอาเขื่อนแก่งเสือเต้น”. วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, 13(2), 52

ธนากรณ์ อินทร. (2564). สื่อสังคมออนไลน์กับการประท้วงรูปแบบใหม่: กรณีขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองไทย 2563. วารสารรัฐศาสตร์พิจาร, 8(16), 50-74.

ประชาไท. (2563, 1 สิงหาคม). 'เยาวชนปลดแอก' ประกาศจัดตั้ง 'คณะประชาชนปลดแอก'. ประชาไท. วันที่ค้นข้อมูล 3 กุมภาพันธ์ 2565, เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2020/08/ 88859

ประชา บูรพาวิถี. (2564, 9 สิงหาคม). ล้วงลึก ‘FreeYouth’ เมื่อ ‘ซ้ายใหม่’ ไร้ยุทธศาสตร์. กรุงเทพธุรกิจ. วันที่ค้นข้อมูล 13 มกราคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/politics/ 953568

ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2552). กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

วราพร ดำจับ. (2562). โซเชียลมีเดียเพื่อการสอนและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 7(2), 143-159.

วุฒิพร ลิ้มวราภัส. (2562). กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ กรณีศึกษา โพสต์ทูเดย์และแนว. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

วรารัตน์ ทักษิณวราจาร. (2554). การสื่อสารทางการเมืองบนเครือข่ายสังคมออนไลน์. วารสารนักบริหาร, (2), 217-222.

ศรุตา ทิพย์แสง. (2564, 15 เมษายน). นวัตกรรมเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรกับเทคโนโลยี. คลังความรู้ SciMath. วันที่ค้นข้อมูล 13 มกราคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.scimath.org/article- technology /item/11658-2020-

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และคณะ. (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารบริหารธุรกิจ, 33(128), 49-65.

สุภางค์ จันทวานิช. (2559). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล วงศ์สิงห์ทอง. (2559). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กระจายข้อมูลในกลุ่มเยาวชน. วารสารร่มพฤกษ์มหาวิทยาลัยเกริก, 34(2), 12-30.

เสถียร เชยประทับ. (2551). การสื่อสาร การเมือง และประชาธิปไตยในสังคมพัฒนาแล้ว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2561). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้เฟสบุ๊ค (Facebook). วันที่ค้นข้อมูล 13 มกราคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://borc.anamai.moph. go.th/web-upload/24xe82d9421a764bd38b31a4171 c44f37a6/filecenter/KPI64/F1/Level1/F1-1-15.pdf

Wang, D. J., & Soule, S. A. (2016). Tactical Innovation in Social Movements: The Effects of Peripheral and Multi-Issue Protest. American Sociological Review, 1-32.

Mcadam, D. (1983). Tactical Innovation and the Pace of Insurgency. American Sociological Review, 48(6), 736-752.

Henderson, N. (2016, 22 September). 3 Ways to Start an Innovation Movement. WHAT IF. Retrieved February 3, 2022, from https://whatifinnovation.com/3-ways-to-start-an- innovation-movement/?fbclid=

Downloads

Published

2023-07-10