เครือข่ายขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกของประเทศไทย

Networks for Driving the Development Policy of the Special Economic Zone in the Eastern Region of Thailand

Authors

  • ชัยยนต์ ประดิษฐ์ศิลป์
  • ชูวงศ์ อุบาลี
  • อัศวิน แก้วพิทักษ์

Keywords:

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ, การขับเคลื่อนนโยบาย, เครือข่าย, The Special Economic Development Zone, Policy Driving, Networks, The Eastern

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและการวิเคราะห์ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกภายใต้นโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ คือการวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เจาะลึก ข้อค้นพบจากการศึกษา สรุปได้ว่า พัฒนาการของการพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออก เริ่มต้นจากการร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต่อมาได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ  สมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และมีการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะแรกในภาคตะวันออกได้ในสมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ในจังหวัดตราดและจังหวัดสระแก้ว สำหรับปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออก ได้แก่ การใช้อำนาจเผด็จการของรัฐบาล คสช. การใช้เครือข่ายชนชั้นนำระหว่างประเทศ และการใช้เครือข่ายชนชั้นนำภายในประเทศ  The research aimed to study the development and the analysis of factors contributing to the success of the development in the eastern border areas under the Special Economic Zone Development Policy. Qualitative research methods were used including documentary research and in-depth interviews. The findings of the study could be concluded that the development of the eastern border areas originated from the drafting of the Special Economic Zone Act during the government of Pol. Lt. Col. Thaksin Shinawatra. Subsequently, the Office of the Prime Minister's regulations on special economic development zones were issued during the government of Ms. Yingluck Shinawatra, and the establishment of the first phrase of Special Economic Development Zones in the eastern region was during the period of General Prayut Chan-o-cha’s government, head of the NCPO, in Trat and Sakaeo Provinces. The factors contributing to the success of the development of the eastern border areas were the authoritarian power of the NCPO government, the use of international elite networks and the use of domestic elite networks.

References

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2558). ร่างผังเมืองรวมคลองใหญ่จังหวัดตราด. เอกสารการประชุมเพื่อประกอบการให้ความเห็นด้านผังเมือง. (อัดสำเนา). สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดตราด.

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก. (2557). ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) เข้าถึงได้จาก http://www.thaigov.go.th/th/news1/item/84757. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 11 สิงหาคม 2557.

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (มปป.). รายงานสถานการณ์มลพิษในเขตมาบตาพุดและศักยภาพ.สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า.

ธนิต โสรัตน์. (2557). การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). โครงสร้างอำนาจท้องถิ่น ความขัดแย้ง และการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพ : บริษัท จรัลสนิทวงษ์การพิมพ์จำกัด.

สายฝน แหล่งหล้า. (2557). การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว. สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสระแก้ว.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2559). คู่มือการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2548). เขตเศรษฐกิจพิเศษ. สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนการพัฒนาพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). เขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย. กรุงเทพฯ (อัดสำเนา).สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ประกาศกระทรวงมหาดไทย. (2559). เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย.

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2561). หลังเขตเศรษฐกิจพิเศษ. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

Published

2024-01-05