https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/poleco/issue/feed วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา 2024-01-05T08:53:41+00:00 jaranya journal.Libbuu@gmail.com Open Journal Systems วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/poleco/article/view/8990 เครือข่ายขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกของประเทศไทย 2024-01-05T06:04:03+00:00 ชัยยนต์ ประดิษฐ์ศิลป์ journalLibbuu@gmail.com ชูวงศ์ อุบาลี journalLibbuu@gmail.com อัศวิน แก้วพิทักษ์ journalLibbuu@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและการวิเคราะห์ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกภายใต้นโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ คือการวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เจาะลึก ข้อค้นพบจากการศึกษา สรุปได้ว่า พัฒนาการของการพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออก เริ่มต้นจากการร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต่อมาได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ&nbsp; สมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และมีการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะแรกในภาคตะวันออกได้ในสมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ในจังหวัดตราดและจังหวัดสระแก้ว สำหรับปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออก ได้แก่ การใช้อำนาจเผด็จการของรัฐบาล คสช. การใช้เครือข่ายชนชั้นนำระหว่างประเทศ และการใช้เครือข่ายชนชั้นนำภายในประเทศ&nbsp; The research aimed to study the development and the analysis of factors contributing to the success of the development in the eastern border areas under the Special Economic Zone Development Policy. Qualitative research methods were used including documentary research and in-depth interviews. The findings of the study could be concluded that the development of the eastern border areas originated from the drafting of the Special Economic Zone Act during the government of Pol. Lt. Col. Thaksin Shinawatra. Subsequently, the Office of the Prime Minister's regulations on special economic development zones were issued during the government of Ms. Yingluck Shinawatra, and the establishment of the first phrase of Special Economic Development Zones in the eastern region was during the period of General Prayut Chan-o-cha’s government, head of the NCPO, in Trat and Sakaeo Provinces. The factors contributing to the success of the development of the eastern border areas were the authoritarian power of the NCPO government, the use of international elite networks and the use of domestic elite networks.</p> 2024-01-05T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/poleco/article/view/8991 กลไกและกระบวนการจัดการผลประโยชน์ของชุมชนในพื้นที่ทางทะเล และชายฝั่งที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลากหลาย 2024-01-05T06:10:42+00:00 พัชราภา ตันตราจิน journalLibbuu@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานกิจกรรมการใช้ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจทางทะเลของพื้นที่ศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียของกิจกรรมต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลร่วมกัน และ 3) เพื่อสังเคราะห์กลไกการจัดการผลประโยชน์การใช้พื้นที่ทางทะเลร่วมกันของชุมชน ศึกษากรณีพื้นที่ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ผลการศึกษาพบว่า มีกิจกรรมหลักที่สำคัญ 3 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมการทำการประมง 2) กิจกรรมการท่องเที่ยวกับทั้งกิจกรรมสืบเนื่องจากการท่องเที่ยว 3) กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งซึ่งดำเนินการควบคู่ไปกับกิจกรรมประมงและท่องเที่ยว โดยการทำการประมงเป็นอาชีพหลัก กิจกรรมการท่องเที่ยวและกิจกรรมสืบเนื่องจากการท่องเที่ยวเป็นอาชีพเสริม กิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลมีความสัมพันธ์กับการทำการประมงและการท่องเที่ยว คือ การทำการประมงเป็นไปเพื่อการดำรงชีพของชุมชนเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันการอนุรักษ์สัตว์ทะเลก็สอดคล้องกับผลประโยชน์กิจกรรมการท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นรายได้เสริมที่สำคัญของชุมชน และการมีสัตว์น้ำหมุนเวียนจากการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลก็ช่วยให้การทำการประมงเกิดความยั่งยืน กิจกรรมทางทะเลและชายฝั่งนั้นจึงผลักดันหนุนเสริมกันในเชิงบวก ผลประโยชน์ตกอยู่กับคนภายในชุมชนเป็นหลัก กลไกการจัดการผลประโยชน์มีสามลักษณะคือ 1) การจัดการโดยชุมชน นำโดยเครือข่ายผู้นำชุมชน คือ กติกาชุมชน วิถีวัฒนธรรมชุมชน 2) การจัดการร่วมระหว่างรัฐกับชุมชน เช่น การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในทะเล และ 3) การจัดการโดยรัฐ ผ่านกฎหมาย เช่น กฎหมายประมง กฎหมายการใช้พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า กลไกขับเคลื่อนสำคัญคือ ความร่วมมือชุมชนที่มีพัฒนาการมาจากกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรทะเลในอดีต เป็นกลไกที่รัฐมิได้สร้างขึ้นมา แต่มาจากร่วมกันสร้างกระบวนการระหว่างชุมชนกับองค์กรพัฒนาเอกชน มีการประสานงาน และการทำงานเป็นเครือข่าย มีการเรียนรู้ร่วมกัน ลดข้อขัดแย้งระหว่างกันของคนในชุมชน ต่อมาได้เปิดให้รัฐเข้ามาร่วม เกิดการประสานงานร่วมกันระหว่างรัฐกับชุมชนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ&nbsp; This article aims to: 1) collect basic data on marine economic utilization in the study area. 2) analyze the relations between stakeholders utilizing and sharing the marine economy in the same area; and 3) synthesize co-mechanisms for managing marine profits in the study communities. The research area is KohLibong Subdistrict, Kantang district, Trang province. The research study found that there are three major activities, -- fishing, tourism, and activities related to tourism and coastal, and marine resource conservation -- that coincide and are related to one another. While fishing is the main occupation, tourism, and related activities are the additional ones. Also, activities on marine resource conservation are related to fishing and tourism as they help increase circulating marine animals and promote sustainable fishing. Moreover, conservation enhances tourism which has been an important source of income for the communities. Therefore, the marine and coastal activities help support one another positively and then the benefit will mainly belong to people in the communities. There are three mechanisms in managing benefits: 1) community management led by the network based on the community’s regulations and leaders 2) co-management between state and communities such as zoning of marine use and 3) state management through laws such as fishing laws, and land usage laws in the reserved areas. The main driving mechanism is community cooperation that has evolved from the past marine resource conservation activities. It is a mechanism that the state has not built, but it has come from the process built together in the communities with NGOs, coordinated, and worked as a network. This provides shared learning and reduces conflict between people in the communities. Later on, it was opened to the state to join in creating coordination between the state and the community in various activities.</p> 2024-01-05T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/poleco/article/view/8992 การเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการสู่การเป็นประชาธิปไตย: ศึกษาเปรียบเทียบประเทศเกาหลีใต้ และเมียนมา 2024-01-05T08:47:50+00:00 ไพรินทร์ มากเจริญ journalLibbuu@gmail.com <p>การศึกษาเรื่องการเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการสู่การเป็นประชาธิปไตย ศึกษาเปรียบเทียบประเทศเกาหลีใต้และเมียนมา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากระบอบเผด็จการสู่การเป็นประชาธิปไตยของประเทศเกาหลีใต้และเมียนมา และ 2) เพื่อวิเคราะห์ความยั่งยืนของประชาธิปไตยในประเทศเมียนมา ใช้วิธีการศึกษาด้วยการสังเคราะห์ผ่านการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยรวมทั้งเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีขอบเขตเวลาในการศึกษาถึงการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศเมียนมาใน ค.ศ. 2015 ผลการศึกษาพบว่า 1) สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากระบอบเผด็จการสู่การเป็นประชาธิปไตยของประเทศเกาหลีใต้และเมียนมา สามารถสรุปได้ว่าการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจ อิทธิพลจากระบบระหว่างประเทศและภายนอก รวมทั้งบทบาทของตัวแสดงทางการเมือง เป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตยได้ ในกรณีของเกาหลีใต้เมื่อเปลี่ยนผ่านแล้ว ก็สามารถสร้างประชาธิปไตยให้ยั่งยืนและมั่นคงได้ทั้งในระดับพฤติกรรมและทัศนคติ เนื่องจากตัวแสดงทางการเมืองของเกาหลีใต้ในทุกระดับต่างก็ให้ความเชื่อมั่นในความชอบธรรมของประชาธิปไตย และยึดถือเป็นรูปแบบในการปกครอง และ 2) การสร้างความยั่งยืนของประชาธิปไตยในประเทศเมียนมาไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะกลุ่มชนชั้นนำและกองทัพยังคงยึดมั่นในระบอบอำนาจนิยม และไม่ดำเนินไปตามวิถีทางของประชาธิปไตยที่แท้จริง แม้ว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใน ค.ศ. 2015 แต่รัฐบาลยังคงปกครองแบบอำนาจนิยมเสรีที่เอื้อกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่จากต่างประเทศและชนชั้นนำในรัฐชาติพันธุ์ เท่านั้น&nbsp; The study on “Transition from Dictatorship to Democracy: A Comparative Study of South Korea and Myanmar” aimed to 1) Study the causes that led to the transition from dictatorship to democracy in South Korea and Myanmar, and 2) Analyze the sustainability of democracy in Myanmar. The study was conducted through a review of literature and research papers as well as relevant documents, focusing on the period up to the general election in Myanmar in 2015. The study found that 1) the causes that led to the transition from dictatorship to democracy in South Korea and Myanmar can be summarized as the modernization of the country through economic development, international and external influences, and the role of political actors. In the case of South Korea, once the transition took place, was able to establish a stable and enduring democracy, both in behavior and attitude, because political actors at all levels demonstrated confidence in the fairness of democracy and adhered to it as a form of governance. And 2) the establishment of a sustainable democracy in Myanmar could not occur because the leading group and the military remained committed to dictatorship and did not follow the path of true democracy. Although there was a government resulting from the 2015 election, it continued to govern in a liberal authoritarian manner, favoring large foreign businesses and the national elite.</p> 2024-01-05T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024