วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/poleco
วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพาวารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพาen-USวารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพานวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งพื้นฐานของประชาธิปไตย อัตลักษณ์ไทย: กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรีในฐานะจังหวัดนำร่อง ภาคตะวันออก
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/poleco/article/view/10046
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักสามประการ ประการแรก เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของจังหวัดชลบุรีในฐานะจังหวัดนำร่องของการพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง ประการที่สอง เพื่อศึกษาและประเมินต้นทุนทางสังคมของเครือข่ายภาคีสาธารณะในการพัฒนานวัตกรรมทางสังคม เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง และประการที่สาม เพื่อศึกษาแนวพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งของจังหวัดชลบุรี งานชิ้นนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการลงพื้นที่ภาคสนาม การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ เชิงลึก และการสัมภาษณ์กลุ่ม โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ สามารถสรุปผลจากการศึกษา ดังนี้ การเกิดขึ้นของเศรษฐกิจการเมืองแบบทุนนิยมในจังหวัดชลบุรีนำมาสู่ปัญหาที่ซับซ้อนส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง การพัฒนาที่ขาดความสมดุลระหว่างรัฐ ทุน และชุมชนท้องถิ่น สร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจการเมือง ประชาชนระดับรากหญ้าไร้อำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองในการต่อรองกับรัฐ ทุน และกลไกของราชการรวมศูนย์ นอกจากนี้ เครือข่ายภาคีสาธารณะ มีต้นทุนทางสังคมที่เข้มแข็ง ขบวนภาคประชาชนมีการสร้างเครือข่ายที่หลากหลาย ในขบวนมีการเกื้อกูลซึ่งกัน มีความไว้วางใจต่อกัน ขบวนภาคประชาชนมีความหวัง และความฝันในการสร้างประชาธิปไตย ฐานรากของประชาชนเป็นทุนสำคัญในการขับเคลื่อนพลังทางสังคม และยิ่งไปกว่านั้น เครือข่ายภาคีสาธารณะในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนาให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่แบบบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานภาคีในจังหวัดชลบุรีที่จะดำเนินการผ่านสภาพลเมืองจังหวัดในฐานะ “พื้นที่สาธารณะ” หรือ “สภาพลเมืองจังหวัด” ที่จะช่วยกันส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาจังหวัดจากฐานรากของชุมชนที่มีการบูรณาการร่วมกันของหุ้นส่วนการพัฒนาจังหวัด This study has three primary objectives: firstly, to examine the problematic conditions within Chonburi Province, designated as a pilot area for developing social innovations aimed at fostering a strong community; secondly, to evaluate the social costs associated with public partner networks engaged in creating social innovations to build resilient communities; and thirdly, to explore guidelines for developing social innovations that promote robust community development within Chonburi Province. The study employed qualitative research methods and participatory action research, including field visits, observations, interviews, and group discussions. Data was analyzed and analyzed qualitatively. The findings highlight several significant points: the emergence of a capitalist political economy in Chonburi Province has led to multifaceted issues affecting the general population, including imbalanced development among the state, capital, and local communities, resulting in economic and political inequalities that leave grassroots individuals without negotiating power with the state, capital, and centralized bureaucratic mechanisms. Additionally, public partner networks exhibit strong social capital, fostering diverse networks characterized by mutual support, trust, and a hopeful vision for grassroots democracy, which serve as a pivotal force in driving social empowerment. Moreover, as developmental collaborator, public partner networks emphasize integrated area development in collaboration with partner agencies in Chonburi Province. This collaboration is facilitated through the Provincial Citizens Council, acting as the 'public space' or 'Provincial Citizens Council’ for integrated community development partners to advance the province's development.</p>โอฬาร ถิ่นบางเตียวบรรเจิด สิงคะเนติ อมรรัตน์ กุลสุจริต ธัช ขันธประสิทธิ์
Copyright (c) 2024
2024-07-022024-07-02121129หลากวิถีทางของการพัฒนาหลังบ้านอีอีซี : การปรับโครงสร้างอำนาจท้องถิ่น และความไม่แน่นอนของสังคมเกษตรกรรม
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/poleco/article/view/10047
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ - การเมืองระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นสาเหตุของความไม่แน่นอนของเกษตรกรในพื้นที่หลังบ้านอีอีซีตลอดช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา จุดเน้นของการศึกษานี้ คือการพิจารณาถึงการปรับโครงสร้างอำนาจท้องถิ่นในบริบทการพัฒนาของพื้นที่ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายผู้มีอำนาจกับการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินท้องถิ่น ภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมและกระบวนการเปลี่ยนที่ดินให้เป็นทุน บทความนี้ใช้แนวทางวิจัยเชิงคุณภาพภายใต้กรอบแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองเพื่อตรวจสอบสาเหตุและผลลัพธ์ของการปรับโครงสร้างอำนาจท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดิน การศึกษาในงานวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นว่าการปรับโครงสร้างอำนาจท้องถิ่นสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของวิถีการบริหารจัดการที่ดินในช่วงหลังโครงการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ด้านหนึ่ง เครือข่ายชนชั้นนำท้องถิ่น กลุ่มหนึ่งนำเสนอวิถีทางการพัฒนาที่ดินเชิงเดี่ยวซึ่งยึดโยงอยู่กับการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมและกลายเป็นเงื่อนไขของการเกิดความไม่แน่นอนต่อเกษตรกร อีกด้านหนึ่ง เครือข่ายชนชั้นนำอีกกลุ่มซึ่งนำโดยเกษตรกรและผู้ประกอบการ พยายามนำเสนอวิถีทางการพัฒนาที่ดินที่ยึดโยงกับวิถีการดำรงชีพของเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยท้องถิ่น This research article examines the local economic-political conditions that have caused uncertainty of farmers in the EEC backyard over the past three decades. The focus of this study is to consider the restructuring of local power in the development context, especially the changing relationship between authority networks and local land resources management under industrial development projects and the land capitalization process. This article uses a qualitative research approach in a political economy framework to examine the causes and consequences of local power restructuring linked to land resource management. This research reflects that the restructuring of local power is related to changes in land management practices after the Eastern Industrial Zone Development Project. On the one hand, a local elite network offers a monoculture land development path tied to the development of industrial zones, and becomes part of the conditions of uncertainty for farmers. On the other hand, another elite network, led by farmers and entrepreneurs, aims to present a land development method aligned with the livelihoods of local farmers and small entrepreneurs.</p>กัมปนาท เบ็ญจนาวี
Copyright (c) 2024
2024-07-022024-07-021213051ภาคีความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อน SDGs: การพิจารณาเชิงทฤษฎี
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/poleco/article/view/10048
<p>“ภาคีความร่วมมือ” เป็นแนวคิดสำคัญเนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ในปัจจุบันมีความซับซ้อนและมีผลกระทบกว้างขวาง การขับเคลื่อน SDGs ได้ใช้ภาคีความร่วมมือเป็นกลไกสำคัญ บทความนี้แสดงให้เห็นว่า การนำกลไกดังกล่าวไปปฏิบัติ จำเป็นต้องเสริมสร้างความไว้วางใจระหว่างภาคี โดยการปฏิรูปภาครัฐให้มีธรรมาภิบาล ส่งเสริมภาคธุรกิจให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม และเสริมสร้างภาคประชาสังคมที่เข้มแข็งและมีความเป็นพลเมืองตื่นรู้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่มีการถ่วงดุลอำนาจและการตรวจสอบ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องเคลื่อนไหวให้เกิดกระแสความคิด ที่ตระหนักถึงสภาวะวิกฤตรุนแรงของการพัฒนาที่ขาดความสมดุล และทุก ๆ ภาคีจะต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย SDGs ‘Partnership’ is an important concept because many problems at present are very complex and have extensive impacts. Driving SDGs is a case of using partnership as a key mechanism. This article presents that for implementing this mechanism, it is necessary to create mutual trust between partners through reforming the state to be based on good governance, supporting the business sector to commit social responsibility, and creating strong civil society with active citizenship. These changes can occur under conditions of the democratic rule with check and balance systems. Additionally, it is necessary for disseminating idea of recognizing severe crisis situation as a result of unbalance development and necessity for every partner to collaborate each other for driving to SDGs goals seriously.</p>สมศักดิ์ สามัคคีธรรม
Copyright (c) 2024
2024-07-022024-07-021215286ปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้ครัวเรือน กรณีศึกษาเกษตรกรในจังหวัดนครพนม
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/poleco/article/view/10049
<p>การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรในจังหวัดนครพนม และ 2) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาภาระหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรในจังหวัดนครพนม ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสุ่มตัวอย่างตามสะดวก จำนวน 385 คน สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 8 คน ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 36 - 60 ปี สถานภาพสมรสแล้ว ส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3 - 4 คน โดยเป็นกลุ่มเกษตรกรทำนามากที่สุด มีระยะเวลาประกอบอาชีพเกษตรกร 21 - 30 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000 - 10,000 บาทด้านภาระหนี้สิน หนี้สินในปัจจุบันของเกษตรกร ร้อยละ 89.6 เป็นหนี้ในระบบที่กู้มาจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้ครัวเรือน ได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก และมีปัจจัย 4 ด้านที่มีระดับความคิดเห็นน้อย ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางพฤติกรรม ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อม และปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัว ตามลำดับ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้ครัวเรือนที่สำคัญ ได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ จากกู้ยืมเงินเพื่อต้องการทุนผลิตทางการเกษตร ด้านปัจจัยทางสังคม การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าตามกระแสความนิยมเพื่อให้เกิดการยอมรับในสังคม ด้านปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัว มีสมาชิกในครัวเรือนจำนวนมากที่ต้องดูแลและรับผิดชอบ อย่างเช่น ค่าเทอม ค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน แนวทางในการแก้ไขปัญหาภาระหนี้ครัวเรือน ได้แก่ นโยบายการพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ นโยบายด้านการบริหารจัดการการเงิน นโยบายสวัสดิการและมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ และนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง ผลการศึกษาจากสถิติเชิงพรรณนา พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 36-60 ปี สถานภาพสมรสแล้ว มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนมากที่สุด 3-4 คน โดยเป็นกลุ่มเกษตรกรทำนามากที่สุด มีระยะเวลาประกอบอาชีพเกษตรกร 21-30 ปี เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้านรายได้ ส่วนใหญ่มีแหล่งที่มาของรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรอย่างเดียวและมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000-10,000 บาท ด้านรายจ่าย มีค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่ต้องจ่ายต่อเดือน 5,000-10,000 บาท และด้านภาระหนี้สิน หนี้สินในปัจจุบันของเกษตรกร ร้อยละ 89.6 เป็นหนี้ในระบบที่กู้มาจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรในจังหวัดนครพนมที่สำคัญ คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่ทำการกู้ยืมเงินเพื่อต้องการทุนทำการผลิตทางการเกษตร เพราะมีแหล่งที่มาของรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรอย่างเดียวและมีปริมาณลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ในขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยทางสังคม ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าตามกระแสความนิยมของสังคมเพื่อให้เกิดการยอมรับในสังคม ปัจจัยทางพฤติกรรม สมาชิกในครอบครัวมีพฤติกรรมการบริโภคที่เกินความจำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองและครอบครัว ในส่วนปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัว มีสมาชิกในครัวเรือนจำนวนมากที่ต้องดูแลและรับผิดชอบ อย่างเช่น ค่าเทอม ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน เกษตรกรมองว่าการใช้จ่ายด้านศึกษาของบุตรหลานเป็นการลงทุนในระยะยาวที่คุ้มค่าจะส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต รวมถึงปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อม สร้างความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร เกษตรกรขาดแคลนรายได้ไปจนถึงบางรายขาดทุน สำหรับนโยบายเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาภาระหนี้ครัวเรือนที่กลุ่มตัวอย่างและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ความสำคัญมาก ได้แก่ นโยบายการพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ นโยบายด้านการบริหารจัดการการเงิน นโยบายสวัสดิการและมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ และนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง The objectives of this study were: 1) to study the factors causing household debt of farmers in Nakhon Phanom province, and 2) to prepare policy recommendations as a guideline to alleviate household debt burdens among farmers in Nakhon Phanom province. The study utilized a mixed method research, with quantitative research involving a convenience sample of 385 persons. Statistical analyses included frequency, mean, percentage, and standard deviation. Qualitative research sections included in-depth interviews with key informants consisting of eight farmers and government officials. The quantitative study found that the majority of the subjects were female, aged between 36 - 60 years old. Most of them have 3 - 4 household members, with the largest group of farmers having a career period of 21 to 30 years and an average monthly income of 5,000 to 10,000 baht. Regarding debt burden, 89.6% of farmers' current liabilities were from debts borrowed from specialized financial institutions such as Government Savings Bank and the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives. The factors contributing to household debt include economic factors at a high level of consensus, and there are 4 aspects with low levels of consensus: social factors, behavioral factors, geographical and environmental factors, and personal and family factors, respectively. Qualitative research findings indicate that significant factors leading to household debt include economic factors, such as borrowing money for agricultural production needs. Social factors involve decisions to purchase products based on trends to gain social acceptance. Personal and family factors include the responsibility for and care of numerous household members, such as tuition and educational expenses. Approaches to solving household debt issues include policies to enhance occupational knowledge and skills, financial management policies, welfare policies, government aid measures, and sufficiency economy policies.</p>ปิยรัช ผงอินทร์ ชินวัตร เชื้อสระคู
Copyright (c) 2024
2024-07-022024-07-0212187103“นักศึกษาฝึกงานก็แรงงานคนหนึ่ง”: การเมืองในกระบวนการฝึกงานและข้อเรียกร้องของนักศึกษาฝึกงานเพื่อสร้างความเป็นธรรม
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/poleco/article/view/10050
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางอำนาจในกระบวนการฝึกงาน ผ่านข้อวิพากษ์กระบวนการฝึกงานและข้อเรียกร้องการยกระดับคุณภาพการฝึกงาน การศึกษานี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการค้นคว้าและเก็บข้อมูลเอกสาร ได้แก่ รายงานการประชุมรัฐสภา กฎหมาย หนังสือตอบข้อหารือของส่วนราชการ งานวิจัย ข้อมูลจากภาคประชาสังคม ข้อมูลของพรรคการเมืองที่ปรากฏในแหล่งออนไลน์ ข่าว ตลอดจนการใช้ประสบการณ์เชิงสังเคราะห์ การศึกษาและการทำงานมีเกี่ยวข้องกัน เนื่องจากหนึ่งในกระบวนการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษานั้น ซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาฝึกงานเข้าไปปฏิบัติงาน ขณะเดียวกันนักศึกษาฝึกงาน ถือเป็นแรงงานในสถานประกอบการ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางอำนาจในกระบวนการฝึกงาน ผ่านข้อวิพากษ์กระบวนการฝึกงานและข้อเรียกร้องการยกระดับคุณภาพการฝึกงาน พบว่า 1) การปฏิสัมพันธ์ทางอำนาจในกระบวนการฝึกงานระหว่างสถานประกอบการ สถาบันการศึกษา และนักศึกษาฝึกงาน ไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกัน เพราะสถานประกอบการมีอำนาจเหนือกว่าสถาบันการศึกษาและนักศึกษาฝึกงาน สถานประกอบการมีอำนาจมากส่งผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของกระบวนการฝึกงาน 2) การผลักดันข้อเรียกร้องเพื่อยกระดับมาตรฐานการฝึกงานสำคัญ คือสถานะนักศึกษาฝึกงานตามกฎหมายเพื่อคุ้มครองนักศึกษาฝึกงาน 3) การผลักดันข้อเสนอการฝึกงานมาจากภาคประชาสังคมและพรรคการเมืองเป็นวาระสู่การพิจารณาของรัฐบาล พบว่า การออกพระราชบัญญัติการฝึกงานถือเป็นข้อเสนอที่เห็นร่วมกัน ซึ่งเป็นการเสนอการฝึกงานในประเทศไทยที่มีคุณภาพและเป็นธรรม 4) ด้านโครงสร้าง อำนาจ วัฒนธรรมความคิดที่ครอบงำกระบวนการฝึกงานในสังคมก็เป็นอุปสรรคต่อการผลักดันวาระการยกระดับการฝึกงานอย่างเป็นธรรม This article aims to analyze power relations in the apprenticeship process through critique of the apprenticeship process and demand to raise the quality of apprenticeships. The study utilized data collection methods involving research and the gathering of document data: parliamentary meeting records, laws, responses to consultation letters by government agencies, research reports, information from civil society, political party statements from online sources, news articles, and synthesized experiences. Education and work are continuous, with apprenticeships integrating students into the workforce. Criticism of power relations within the apprenticeship process and calls for enhancing apprenticeship quality revealed: 1) Power interactions in apprenticeship process between establishments, educational institutions, and interns are unequal. Establishments wield influence over the success or failure of the apprenticeship system. 2) Advocating for demands to raise the standards of important apprenticeships involves ensuring apprenticeship status according to the law to protect intern students. 3) Encouragement for apprenticeship proposals comes from civil society and political parties as an agenda for the government's consideration. The enactment of the Apprenticeship Act was seen as a mutually agreed upon proposal, aiming to provide high-quality and fair apprenticeships in Thailand. 4) The dominant structure, power, and ideological and cultural aspects within the social internships process also pose obstacles to raising fairness and enhancing apprenticeship standard.</p>สุทธิชัย รักจันทร์
Copyright (c) 2024
2024-07-022024-07-02121104130