การศึกษาผลของสารสกัดหยาบจากใบพืชบางชนิดในการควบคุมหนอนแมลงวันผลไม้ Bactrocera dorsalis

Study of Some Plant Crude Extracts in Control of Bactrocera dorsalis Larvae

Authors

  • ดวงตา จุลศิริกุล
  • เกศราภรณ์ จันทร์ประเสริฐ

Keywords:

สารสกัดหยาบจากพืช, หนอนแมลงวันผลไม้, Bactrocera dorsalis Hendel, Plant crude extract, Fruit fly larvae

Abstract

สารสกัดหยาบด้วยน้ำจากใบพืช 4 ชนิด ได้แก่ ใบยาสูบแห้ง ใบเลี่ยน ใบหางไหล และใบรัก สามารถนำมาใช้ควบคุมกำจัดหนอนแมลงวันผลไม้ Bactrocera dorsalis Hendel ได้ดี โดยพบวาทำให้จำนวนหนอนแมลงวันผลไม้ตายแตกต่างจากกลุ่มควบคุมได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดยสารสกัดจากใบยาสูบแห้ง และใบเลี่ยนให้ผลในการควบคุมหนอนแมลงวันผลไม้ B. dorsalis ได้ดีกว่าสารสกัดจากใบหางไหลและใบรัก และจากการทดสอบที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ พบว่าระดับเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดที่ให้ผลในการกำจัดหนอนแมลงวันผลไม้ได้ดีที่สุดในการศึกษานี้คือ สารสกัดจากใบเลี่ยนสดที่ความเข้มข้น 10 กรัม/100 มล. สารสกัดจากใบยาสูบแห้งที่ความเข้มข้น 15 กรัม/100 มล. สารสกัดจากใบหางไหลสดที่ความเข้มข้น 20 กรัม/100 มล. และสารสกัดจากใบรักสดที่ความเข้มข้น 25 กรัม/100 มล. โดยสามารถกำจัดหนอนแมลงวันผลไม้ได้ 84.44±1.93%, 91.11±3.85%, 62.22±10.18% และ 93.33±3.34% ตามลำดับ  The water crude extracts of dried tobacco leaf, bead tree leaf, derris leaf and crown flower leaf were significantly effective on the control of oriental fruit fly (Bactrocera dorsalis Hendel) larvae when compared to the control groups (p<0.05). The crude extracts of dried tobacco leaf and bead tree leaf showed higher potency on the control of oriental fruit fly larvae than those of derris leaf and crown flower leaf. In this study, the effective concentrations of plant crude extracts which showed the highest potential for the control of oriental fruit fly larvae were 10 g/100ml for fresh bead tree leaves, 15 g/100ml for dried tobacco leaves, 20 g/100 ml for fresh derris leaves and 25 g/100ml for fresh crown flower leaves, which killed 84.44±1.93%, 91.11±3.85%, 62.22±10.18% and 93.33±3.34% of fly larvae respectively.

References

กลุ่มวิจัยโรคพืช. (2546). เอกสารวิชาการศัตรูฝรั่ง. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยพัฒนาอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ผุสดี สายชนะพันธ์ และพันธิตร์ มะลิสุวรรณ. (2546). สมุนไพรกำจัดแมลงศัตรูพืช. กรุงเทพฯ : ศรีสยามพริ้นแอนด์แพคก์,.

สุภาณี พิมพ์สมาน. (2537). สารฆ่าแมลง. กรุงเทพฯ : โครงการทางตำราและเอกสารทางวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อินทวัฒน์ บุรีคำ. (2537). บทปฏิบัติการกีฏวิทยาทางการเกษตร. กรุงเทพฯ : รุ่งวัฒนา.

Anaso, H.U., Ilouno, L.E., Onuorah, D. & Umerie, S.C. (1990). Potency of orange peel as a mosquito fumigant. Biological Wastes, 34(1), 83-88.

Breur, M., Hoste, B., De Loof, A. & Naqvi, S.H.N. (2003). Effect of Melia azedarach extract on the activity of NADPH-cytochrome c reductase and cholinesterase in insect. Pesticide Biochemistry and Physiology, 76, 99-103.

Charleston, D.S., Kfir, R., Dicke, M. & Vet, L.E.M. (2005). Impact of botanical pesticides derived from Melia azedarach and Azadirachta indica on the biology of two parasitoid species of the diamondback moth. Biological Control, 33, 131-142.

Cloyd, R.A. (2004). Natural indeed: Are natural insecticides safer and better than conventional insecticides. Illinois Pesticides Review, 17(3): 1-3.

Department of Agriculture Thailand. (1991). Biological Control of Insect Pest. Bangkok.

Dichoso, W.C. (2000). Useful plant species with toxic substance. Research Information Series On Ecosystems, 12(2), 1-15.

Downloads

Published

2024-06-25