การกระจายตัวของมลพิษทางอากาศในสถานศึกษาโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Dispersion of Air Pollution by Air Pollution Model Case Study in Kasetsart University

Authors

  • พงศกร จิวาภรณ์คุปต์
  • มาลี กลิ่นกุหลาบ

Keywords:

มลพิษทางอากาศ, แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ , มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, Air Pollution, Air Pollution Model, Kasetsart University

Abstract

การศึกษาการกระจายตัวของมลพิษทางอากาศโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ในพื้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการศึกษาจุดตรวจวัดปริมาณแก๊สในบรรยากาศ โดยใช้เครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติวัดค่าความเข้มข้นเฉลี่ย 1 ชั่วโมง แล้วนำมาคำนวณหาค่าความเข้มข้นเฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อเนื่อง และ 24 ชั่วโมงเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานและคำนวณโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ISC (Industrial Source Complex) ได้ผลการตรวจวัดแก๊สในบรรยากาศทั้ง 5 สถานีพบว่าความเข้มข้นเฉลี่ย 1 ชั่วโมงของแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์และแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีค่า 0.7-4.4 ppm, 1.5-119.8 ppb และ 2.3-45.6 ppb ตามลำดับ ซึ่งไม่เกินค่ามาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษได้กำหนด ส่วนความเข้มข้นเฉลี่ย 8 ชั่วโมงของแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์และความเข้มข้นเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีค่า 1.0-2.7 ppm และ 2.7-18.1 ppb ตามลำดับ ซึ่งไม่เกินค่ามาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษได้กำหนดไว้ (≤ 9 ppm และ ≤ 120 ppb ตามลำดับ) สถานีที่พบว่ามีความเข้มข้นของแก๊สสูงสุดคือสถานีตรวจวัดประตู 1 ถนนพหลโยธินเมื่อนำค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมงและ 24 ชั่วโมงของแก๊สต่าง ๆ ในช่วงระยะเวลาที่ศึกษามาคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศพบว่าอยู่ในระดับที่ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และศึกษาการกระจายตัวของมลพิษทางอากาศในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ทำให้ทราบว่ามีค่าสุงสุดไม่เกินมาตรฐานแต่ควรมีการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังในพื้นที่กองยานพาหนะและอาคารสถานที่ ศูนย์วิจัยและควบคุมศัตรูพืช พืชสวน (หลังคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์)  By using a mathematic model to study the dispersion of air pollution across Kasetsart University’s area. The measuring was done to determine the quantity of gas in atmosphere by using the automatic analyzer instrument in term of average concentration 1 hour, then computed in average concentration 8 hours and 24 hours. Then under the mathematic model “ISC (Industrial Source Complex)” calibrated for 5 stations to the standard value. The result shown that average concentration 1 hour of carbon monoxide, nitrogen dioxide and sulphur dioxide was about 0.7-4.4 ppm, 1.5-119.8 ppm and 2.3-45.6 ppm respectively, which all are not exceed the standard value stipulated by the Department of pollution control. Meanwhile, the average concentration of 8 hours for carbon monoxide and the average concentration of 24 hours for sulphur dioxide was about 1.0-2.7 ppm and 2.7-18.1 ppb respectively. The standard value which stipulated by the Department of pollution control are ≤ 9 ppm and ≤ 120 ppb respectively. The highest concentration found at the entrance gate 1 station located at Pahonyotin Road. By computing in term of quality index found that quality index was in the level that not impact to local people’s health. Together with the studying of the dispersion of air pollution entire area of the Kasetsart University located at Bangken zone found that the highest value not exceeded the standard value, but subject to follow up for watching on some area such as the Department of building and place, Research center and weed flora control, Farm plants garden (behind the faculty of architecture).

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2546). มาตรฐานคุณภาพอากาศ. วันที่ค้นข้อมูล 29 ธันวาคม, 2550. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3yVGfi1

กรมควบคุมมลพิษ. (2550). ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index AQI). วันที่ค้นข้อมูล 29 ธันวาคม, 2550. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3wG00Zc

Rao, C.S. (1994). Environmental Pollution Control Engineering. (2 nd ed.). India: Wiley Eastern Limited.

United States Environmental Protection Agency. (1999). Guideline for Reporting of Daily Air Quality- Air Quality Index (AQI), 40 CFR Part 58, Appendix G.

Thermo Electron Corporation Environmental Instruments. (2004). Instruction Manual Model 48C CO Analyzer. Massachusetts: Thermo Electron Corporation.

Thermo Electron Corporation Environmental Instruments. (2004). Instruction Manual Model 42C NO-NO2-NOx Analyzer. Massachusetts: Thermo Electron Corporation.

Thermo Electron Corporation Environmental Instruments. (2004). Instruction Manual Model 43C SO2 Analyzer. Massachusetts: ThermoElectron Corporation.

Downloads

Published

2024-06-26