ผลของโอโซนต่อการควบคุมการเกิดโรคหลังเก็บเกี่ยวและการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมของเอนไซม์ catalase ในผลลำไยระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ
Effect of Ozone on Postharvest Diseases Control and Catalase Activity Changes in Longan Fruit During Storage at Low Temperature
Keywords:
ลำไย, โอโซน, กิจกรรมของเอนไซม์ , catalase, Longan, Ozone, Catalase ActivityAbstract
การศึกษาผลของโอโซนต่อการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยว และการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมของเอนไซม์ catalase ของผลลำไยพันธุ์ดอระหว่างการเก็บรักษา โดยนำผลลำไยมารมด้วยก๊าซโอโซนความเข้มข้น 200 ppm เป็นเวลา 60 นาที และนำมาเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 27 °C และ 5 °C เป็นเวลา 3 วัน และ 4 สัปดาห์ ตามลำดับ พบว่าการรมด้วยก๊าซโอโซนสามารถลดเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคได้เมื่อเทียบกับชุดควบคุม โดยเฉพาะเมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 °C สามารถลดการเกิดโรคได้ดียิ่งขึ้น โดยให้ผลเช่นเดียวกับการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และการเก็บรักษาผลลำไยอุณหภูมิ 5 °C และ 27 °C มีแนวโน้มทำให้กิจกรรมของเอนไซม์ catalase ในส่วนเปลือกเพิ่มขึ้น ส่วนในเนื้อของผลลำไยพบการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมของเอนไซม์ catalase ไม่มากนัก จากผลการทดลองนี้ พบว่าการให้โอโซนอาจมีผลทำให้ผลลำไย ต้านทานต่อการเกิดโรคได้ โดยอาจสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมของเอนไซม์ catalase ในเปลือกของผลลำไย ดังนั้นการใช้โอโซนน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการทดแทนการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เพื่อควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวของลำไย Effect of ozone on postharvest diseases control and catalase activity changes in longan fruit Dimocarpus longan Lour. cv. ‘Daw’ during storage were studied. Longan fruits were exposed to ozone (O3) at the concentration of 200 ppm for 60 minutes then stored at 27 °C and 5 °C for 3 days and 4 weeks, respectively. The results showed that ozone had significantly reduced disease incidence during storage time when compared with the control, especially when stored at 5 °C was more effective to delay disease incidence comparable to sulfur dioxide fumigation. Exposing fruit to ozone before storage at both temperatures tended to increase catalase activity in the peel. However, the catalase acitivities in longan aril were not substantially affected by these treatments. From this experiment, ozone treatment could enhance the disease resistance of longan possibly via an increase in catalase activity, suggested. That ozone treatment could be used as an alternative method, in substitution of sulfur dioxide fumigation, to control the postharvest diseases.References
ชมภูศักดิ์ พูลเกษ. (2540). การใช้โอโซนทางการแพทย์และสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: ไบร์ทเอนเทคมาร์เกตติ้ง.
ลดาศิริ หัวใจแก้ว. (2542). ผลของการใช้อุณหภูมิสูงต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการป้องกันการเกิดออกซิเดชันในผลมะละกอที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยี ชีวภาพ, คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2550). ปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร. วันที่ค้นข้อมูล 26 เมษายน 2550, เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3xGZ8F0
Aebi, H. (1984). Catalase in vitro. Methods in Enzymology, 105; 121-126.
Burris, R.H. (1993). Hydrogenperoxide (Peroxidase and catalase). In Ruchand. S. (ed), Encyclopedia of Plant Physiology (pp. 365-400). Berlin: Springer-Verlage.
Cao, G., & Prior, R.L. (2002). Measurement of total antioxidant capacity in nutritional and clinical studies. In Cadenas, E., & Packer L. (eds.) (pp. 47-55). New York: Handbook of Antioxidants. Marcel Dekker.
Ishizaki, K., Sawadaishi, D., Miura, K., & Shinriki, N. (1987). Effect of ozone on plasmid DNA of Escherichia coli in situ. Water Research, 21(7), 823-828.
Macrae, E.A., & Ferguson, I.B. (1985). Changes in catalase activity and hydrogen peroxide concentration in plants in response to low temperature. Physiology of Plant, 65, 51-56.
Palou, L., Joseph, L.S., Carlos, H.C., Monir, M., & Pilar, P. (2003). Ozone gas penetration and control of Penicillium digitatum and Penicillium italicum within commercial packages of oranges during cold storage. Crop Protection, 22, 1131-1134.
Polle, A., Other, T., & Seifert, F. (1994). Apoplastic peroxidases and lignification in needles of norway spruce (Picea abies L.). Plant Physiology, 106, 53-60.