ความสามารถจำเพาะในการผลิตมีเทนของจุลินทรีย์แบบเม็ดในการบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศจากน้ำเสียกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร

Specific Methanogenic Activities of Granular Microbial Biomass in Anaerobic Treatment of Agro-Industrial Wastewater

Authors

  • สวรรค์ ธิติสุทธิ
  • กาญนิถา ครองธรรมชาติ
  • สมชาย ดารารัตน์

Keywords:

การบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ, ความสามารถจำเพาะในการผลิตก๊าซมีเทน, อุตสาหกรรมการเกษตร, Anaerobic wastewater treatment, Specific methanogenic activites (SMA), Agro-industry

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าความสามารถจำเพาะของเม็ดตะกอนจุลินทรีย์ในการผลิตมีเทน (Specific Methanogenic Activity : SMA) ของจุลินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียที่สามารถผลิตก๊าซมีเทน โดยใช้ Serum bottle เป็นถังปฏิกิริยาแบบ Batch ซึ่งกำหนดให้ค่าความเข้มข้นของตะกอนจุลินทรีย์ระเหย (MLVSS) ในแต่ละขวดเท่ากับ 2000 มิลลิกรัม/ลิตร การทดลองนี้ใช้น้ำเสียจากโรงงาน 3 แห่ง ได้แก่ โรงงานไส้กรอกปลา โรงงานน้ำมันปาล์ม และโรงงานผลิตกรดมะนาว โดยมีการควบคุมอุณหภูมิที่ 35±2 องศาเซลเซียส และที่อุณหภูมิห้อง ทำการวัดก๊าซที่เกิดขึ้นวิเคราะห์สัดส่วนก๊าซมีเทนด้วยเครื่องมือก๊าซโครมาโตกราฟฟี และนำมาหาค่าความสามารถจำเพาะในการผลิตก๊าซมีเทน (SMA) จากการศึกษาพบว่าค่า SMA ที่อุณหภูมิห้องของน้ำเสียจากโรงงานไส้กรอกปลา โรงงานน้ำมันปาล์ม และโรงงานน้ำมันปาล์ม และโรงงานผลิตกรดมะนาว มีค่า 0.0105, 0.7632, 0.2448 gCOD/gVSS/d ตามลำดับ และที่อุณหภูมิ 35±2 องศาเซลเซียส มีค่า 0.0091, 0.4608, 0.3604 gCOD/gVSS/d ตามลำดับ ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ อุณหภูมิ ปริมาณความเข้มข้นของสารอินทรีย์และประเภทสารในน้ำเสีย  The objective of this research was to study the Specific Methanogenic Activity (SMA) of anaerobic bacteria to remove organic pollutants. This research used the serum bottles as batch reactors. Each bottle was inoculated with granular sludge at the concentration of 2000 mgMLVSS/L. Three types of wastewater: fish sausage, palm oil and citric acid factories were used in this experiment. Two temperatures were designed at this research, 35±2  ํC and at room temperature. The gas production was daily measured. The methane ratios were analyzed by Gas Chromatography and Specific Methanogenic Activities of bacteria were calculated. The result showed that at room temperature the SMAs of wastewater from fish sausage, palm oil and citric acid factories were 0.0105, 0.7632 and 0.2448 gCOD/gVSS/d, respectively. At 35±2  ํC, the SMAs of these wastewater were 0.0091, 0.4608 and 0.3604 gCOD/gVSS/d, respectively. The temperature, substrate and type of wastewater were the factors that had the affects on this experiment.

References

กาญนิถา ครองธรรมชาติ, สมชาย ดารารัตน์ และชลกาญจน์ ชาติดวงเพชร. (2549). ประสิทธิภาพของระบบแอโรบิกซีเควนซิ่งแบทรีแอกเตอร์ (เอเอสบีอาร์) ในการบำบัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย โรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม. ในเอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง การนำเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาภายใต้โครงการ การสร้างภาคีในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท-เอก. กรุงเทพฯ.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2545). ตำราระบบบำบัดมลพิษน้ำ. กรุงเทพฯ: สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย.

จารุวัฒน์ บุญเพิ่ม. (2549). ข้อมูลเกี่ยวกับโรงงานไส้กรอกปลา [สัมภาษณ์]. กาฬสินธุ์ : กาฬสินธุ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร.

ธงชัย พรรณสวัสดิ์ และเพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ. (2535). ปฏิบัติการอย่างง่ายในการวิเคราะห์น้ำเสีย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนัสนี สมบูรณ์. (2550). ประสิทธิภาพของระบบแอนแอโรบิกไมเกรทติ้งแบลงค์เก๊ตรีแอคเตอร์ (เอเอ็มบีอาร์) ในการบำบัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย โรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

APHA, AWWA, WEF. (1998). Standard Method for the Examination of Water and Wastewater. Washington D.C.: American Public Health Association.

Bara, W. (2004). Solutions for Science, Translated and Edit by Application Section, Scientific Instruments Division.

Dararat, S. (1996). Effect of Sub-Optimal Temperature and pH Performance of UASB Granules, Ethanothix and Methanosarcina. Master Thesis, Vanderbilt University, Nashville, TN, USA.

Duran, M. (1993). Anaerobic Biodegradation of Nitrocellulose. Master Thesis, Vanderbilt University, Nashville, TN, USA.

Jiunn, L. (1996). Influences of pH and Moisture Content on the Methane Production in High-Solids Sludge Digestion. Japan: Tohoku University.

Downloads

Published

2024-06-28