การประเมินการเก็บกักคาร์บอนและรายได้จากการชดเชยคาร์บอนในสวนยางพารา

Authors

  • ระวี เจียรวิภา
  • สุรชาติ เพชรแก้ว
  • มนตรี แก้วดวง
  • วิทยา พรหมมี

Keywords:

มวลชีวภาพ, การเก็บกักคาร์บอน, ตลาดแบบสมัครใจ, คาร์บอนเครดิต, ยางพารา, Biomass, Carbon sequestration, Voluntary market, Carbon credit, Hevea brasiliensis

Abstract

บทคัดย่อ         สวนยางพาราเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเก็บกักคาร์บอนที่สําคัญ จึงประเมินมูลค่าการชดเชยคาร์บอนในสวน ยางพาราในช่วงอายุ 25 ปี โดยใช้สมการความสัมพันธ์ของมวลชีวภาพและคาร์บอนอินทรีย์ในดินจากสวนยางพาราอายุ 2 5 12 16 และ 26 ปี ผลการประเมิน พบว่า สวนยางพาราสามารถเก็บกักคาร์บอนทั้งหมดอยู่ในช่วง 50.68-193.72 ตัน/เฮกแตร์ (8.11-30.99 ตัน/ไร่) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับช่วงอายุยางพาราแบบโพลีโนเมียล (r2 = 0.97*) ส่วนรายได้สุทธิจากการทําสัญญาชดเชยการเก็บกักคาร์บอนตลอด25 ปี ประเมินได้เท่ากับ 573.39 US$/เฮกแตร์ (3,063.27 บาท/ไร่) ดังนั้น ศักยภาพการเก็บกักคาร์บอนในสวนยางพาราน่าจะมีประสิทธิผลต่อการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดแบบสมัครใจ ABSTRACT           Rubber plantation is considered to be a large stationary source, where CO2can be captured from emissionsthrough carbon sequestration. The aim of this study is to estimate the benefits of the carbon offset in rubber plantations over a 25-year period by using biomass allometric equations and soil organic carbon. The trial was arranged for 5 different age levels: 2, 5, 12, 16 and 26-year-old rubber plantations. Results indicated that the overall carbon stock ranged from 50.68 to 193.72 Mg ha-1which estimated by fitting the polynomial equation between rubber age and carbon stock (r2= 0.97*). In addition, the estimated potential net income of the contract was US$ 573.39 per ha (3,063.27 Baht rai-1) for the 25-year time period. These results suggest that carbon stock in the rubber plantation is more likely to be a cost-effective mitigation pathway according to voluntary market.

Downloads