จลนพลศาสตร์การอบแห้งใบเตยด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อนและลมร้อน

Authors

  • อนุสรา นาดี
  • ยุทธนา ฏิระวณิชย์กุล
  • สุภวรรณ ฏิระวณิชย์กุล

Keywords:

จลนพลศาสตร์การอบแห้ง, รังสีอินฟราเรด, ใบเตย, คุณภาพ, Drying kinetics, Infrared radiation, Pandanus, quality

Abstract

บทคัดย่อ        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการอบแห้งใบเตยเพื่อใช้ทําชาด้วยรังสีอินฟราเรดร่วมกับลมร้อน โดยเปรียบเทียบกับ การอบแห้งด้วยลมร้อนเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะพิจารณาจลนพลศาสตร์การอบแห้ง คุณภาพของใบเตยหลังการอบแห้ง และความสิ้นเปลือง พลังงานจําเพาะที่ใช้ในการอบแห้ง การทดลองอบแห้งในช่วงอุณหภูมิ 45-65°C กําลังรังสีอินฟราเรด 500 และ 1,000 W ความชื้นเริ่มต้น และความชื้นสุดท้ายของใบเตยอยู่ในช่วง 400-600% มาตรฐานแห้ง และ 8-12% มาตรฐานแห้ง ตามลําดับ จากผลการทดลอง พบว่าอัตราการอบแห้งจะสูงขึ้นเมื่ออุณหภูมิอบแห้งสูงขึ้นขณะที่ค่าความสิ้นเปลืองพลังงานจําเพาะลดลงเมื่อเพิ่มอุณหภูมิที่ใช้อบแห้งการทํานายผลของจลนพลศาสตร์ของการอบแห้งแสดงให้เห็นว่าแบบจําลองทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมที่ใช้ทํานายจลนพลศาสตร์ การอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรด 1,000 W ร่วมกับลมร้อนและการอบแห้งด้วยลมร้อนอย่างเดียว คือ แบบจําลอง Logarithmic ส่วนแบบจําลองที่ใช้ทํานายการอบแห้งด้วยรังสีอินฟราเรด 500 W ร่วมกับลมร้อน คือ แบบจําลองของ Page โดยผลการทดลองทีค่าใกล้เคียงกับ แบบจําลองดังกล่าว ในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ พบว่า ร้อยละการคืนตัวและค่าสีในระบบ CIE (L*, a* และ b*) ของใบเตยอบแห้งในทุกกรณีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p<0.05) ABSTRACT           The objective of this research was to study drying of Pandanus leaf for herbal tea by infrared radiation (IR) combine hot air (HA). Determination of drying kinetics, physical quality and specific energy consumption werepresented. The experiments were carried out under the conditions of drying temperature range between 45 and 65°C and infrared radiation power value of 500 and 1,000 W. Initial moisture content and final moisture content of Pandanus leaf was between 400 and 600% dry-basis and of 8-12% dry-basis, respectively. The experimental results showed that drying rate increased with increase of drying temperature whilst specific energy consumption propor-tionally decreased with increase of drying temperature. Determination of drying kinetic of Pandanus leaf replied that simulated data using Logarithmic model for IR 1,000 W combined with HA drying and HA drying and the simulated data using Page’s model for IR 500 W combined with HA had a good relation to experimental data. For product quality analysis, the results stated that the percentage of rehydration and the colorness value (L*, a* and b* value of CIE Lab) of all Pandanus leaf drying conditions were significantly different (p<0.05).

Downloads