ความหลากชนิดและความชุกชุมของหอยทากบกบริเวณภูเขาหินทรายและภูเขาไฟในจังหวัดสุรินทร์

Authors

  • ปฏิพล จำลอง
  • ชนิดาพร ตุ้มปี่สุวรรณ
  • ศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ

Keywords:

หอยทากบก, ความหลากชนิด, ความชุกชุม, ภูเขาหินทราย, จังหวัดสุรินทร์, Land snails, Species diversity, Abundance, Sandstone hill, Surin Province

Abstract

บทคัดย่อ         ผลการศึกษาเปรียบเทียบความหลากชนิดและความชุกชุมของหอยทากบกในพื้นที่ภูเขาหินทราย (เขาศาลา) และภูเขาไฟ (เขาพนมสวาย) ในจังหวัดสุรินทร์ พบหอยทากบกทั้งหมด 14 ชนิด บริเวณภูเขาหินทรายพบ 11 ชนิด เมื่อเก็บตัวอย่างโดยใช้แปลงสํารวจขนาด 20x20 เมตร จํานวน 12 แปลง พบหอยทากบก 9 ชนิด มีความชุกชุม 0.15-0.51 ตัวต่อตารางเมตร ดัชนีความหลากชนิด (H) เป็น 1.30-1.81 และเมื่อใช้แปลงสํารวจขนาด 5x2 เมตร จํานวน 24 แปลง พบหอยทากบก 11 ชนิด โดยชนิดที่เพิ่มขึ้นมาคือ Pupinasp. และ Amphidromus (Syndromus) sp. มีความชุกชุม 0.6-8.6 ตัวต่อตารางเมตร ดัชนีความหลากชนิด (H) เป็น 0.64-1.84 ชนิด สําหรับบริเวณภูเขาไฟพบ 6 ชนิด จากการใช้แปลงสํารวจขนาด 20x20 เมตร จํานวน 7 แปลง มีความชุกชุม 0.24-0.90 ตัวต่อตารางเมตร ดัชนีความหลากชนิด (H) เป็น 0.44-1.14 การศึกษาในครั้งนี้พบหอยลายตองปากม่วง Amphidromus (Amphidromus) schomburgki schomburgki และหอยช็อคโกแลต A. (A.) inversus annamiticus อาศัยอยู่ร่วมในบริเวณเดียวกันที่เขาศาลา ซึ่งการค้นพบครั้งนี้เป็น ขอบเขตการกระจายเหนือสุดของหอยช็อคโกแลต หอยทากบกที่พบบริเวณภูเขาไฟ 3 ใน 6 ชนิด พบที่ภูเขาหินทรายด้วย ได้แก่ หอยดักแด้ Pseudobuliminus (Giardia) siamensisหอยทากเปลือกสัน Quantula weinkauffiana และหอยขัดเปลือกSarika resplendens อาจตั้งสมมติฐานได้ว่าเป็นหอยทากบกชนิดที่มีอัตราการแพร่กระจายเร็วกว่าหอยชนิดอื่นๆ ที่พบบริเวณเขาศาลา ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ศึกษาต่อไป ABSTRACT           A comparative study of species diversity and abundance of land snails from sandstone hills (Khao Sala) and volcanic hills (Khao Phanom Sawai) in Surin Province was conducted. Fourteen species of land snails were found; of which, 11 species were collected from the sandstone hills and 6 species were collected from the volcanic hills. Twelve plots, 20x20 meters, were used to collect snails from the sandstone hills, where the species richness,abundance, and species diversity index (H) were 9 species, 0.15-0.51 individuals/m2, and 1.30-1.81, respectively.Twenty-four plots, 5x2 meters, were also used in the same area; the results from these were 11 species, 0.6-8.6 individuals/m2, and 0.64-1.84, respectively. The additional species were Pupinasp. and Amphidromus (Syndromus) sp. Seven plots, 20x20 meters, were used to collect snails from the volcanic hills, where 5 species, 0.24-0.90individuals/m2, and 0.44-1.14 were recorded. Amphidromus (Amphidromus) schomburgki schomburgkiand A. (A.) inversus annamiticus were discovered in the same area at Khao Sala, which, in Surin Province, represents the northernmost distribution of the latter species. Half of the land snail species at the volcanic hills were also found at the sandstone hills, including, Pseudobuliminus (Giardia) siamensis, Quantula weinkauffiana, and Sarika resplendens, from which it might be hypothesized that the dispersal rate of these species is faster than the other species in Khao Sala (Sandstone hills). This hypothesis is an interesting topic for further study. 

Downloads