ผลของพันธ์ุข้าวและชนิดของปุ๋ยต่อการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าว

Authors

  • พันธวัศ สัมพันธ์พานิช
  • นิตยา รื่นสุข

Keywords:

ปุ๋ยอินทรีย์, ปุ๋ยเคมี, พันธ์ข้าวสุพรรณบุรี 1, พันธ์ข้าวปทุมธานี 80, ก๊าซมีเทน, Organic fertilizer, Chemical fertilizer, Suphanburi 1 rice variety, Pathumthani 80 rice variety, Methane

Abstract

บทคัดย่อ         การศึกษาผลของพันธ์ข้าวและชนิดของปุ๋ยต่อการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าว ณ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วยพันธ์ข้าว 2 พันธ์ได้แก่ สุพรรณบุรี 1 และปทุมธานี 80 (กข31) โดยมีชนิดของปุ๋ย 3 ชนิด แบ่งเป็น 4 ชุดการทดลอง ได้แก่ 1) ชุดควบคุมที่ไม่มีการใส่ปุ๋ยใดๆ 2) ชุดที่มีการใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ชุดที่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ และ 4) ชุดที่มีการใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 46-0-0 อัตรา 16 กิโลกรัมต่อไร่ ทําแปลงทดลองปลูกข้าวทั้งหมด 8 แปลงทดลอง เก็บตัวอย่างอากาศแปลงทดลองจุดละ 3 ซ้ำ โดยใช้ตู้ครอบต้นข้าวในแต่ละระยะ การเจริญเติบโต ได้แก่ ระยะก่อนการเพาะปลูก (0 วัน) ระยะต้นกล้า (30 วัน) ระยะแตกกอ (60 วัน) ระยะออกดอกหรือตั้งท้อง (90 วัน) และระยะก่อนการเก็บเกี่ยว (120 วัน) ซึ่งจัดเก็บก๊าซโดยใช้ถุงเก็บก๊าซ และนําไปวิเคราะห์หาปริมาณก๊าซมีเทนด้วยเครื่องก๊าซ โครมาโตกราฟี ผลการทดลอง พบว่า พันธ์ข้าวสุพรรณบุรี 1 ที่มีการใส่ปุ๋ยเคมี มีการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสูงที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 1.79±0.98 มก./ตร.ม ./วัน ขณะที่พันธ์ข้าวปทุมธานี 80 ที่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด และปุ๋ยเคมี มีการปลดปล่อยก๊าซมีเทนไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยมีการปลดปล่อยก๊าซมีเทนเฉลี่ย 0.57±0.36 และ 0.53±0.62 มก./ตร.ม./วัน ตามลําดับ และพบการปลดปล่อยก๊าซมีเทนมากที่สุดในระยะข้าวแตกกอ และจากการศึกษายัง พบว่า พันธ์ข้าวและชนิดของปุ๋ยมีผลต่อการปลดปล่อยก๊าซมีเทน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาร่วมกับ ผลผลิตข้าวที่ได้แล้ว พบว่า ข้าวพันธ์ปทุมธานี 80 มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด เหมาะสมต่อการแนะนําและส่งเสริมให้เกษตรกรนําไปเพาะปลูก เนื่องจากมีอัตราการปลดปล่อยก๊าซมีเทนต่ำ อีกทั้งยังเป็นปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม ABSTRACT           The effect rice variety and type of fertilizer on methane emission from paddy fields was studied at Pathum Thani Rice Research Center, Pathum Thani Province, Thailand. Two rice varieties were used, Suphanburi 1 and Pathumthani 80 and 4 methods of fertilizer application, i.e. 1) control, without added fertilizer, 2) organic fertilizer (cow manure) at 1,000 kg/rai, 3) organic fertilizer pellets at 50 kg/rai, 4) chemical fertilizer formula 16-20-0 at a rate of 30 kg/rai and 46-0-0 at a rate of 16 kg/rai. There were altogether 8 field plots and 3 air samplings were collected and analyzed. Chambers per plot were distributed and tested during the following stages: before planting the rice (0 day), seedling stage (30 days), vegetative stages (60 days), panicle-formation stage (90 days), and maturation stage (120 days). Air from each set was collected into sampling bags and analyzed to determine the amount of methane using gas chromatography. The study showed that Suphanburi 1 rice with chemical fertilizer emitted the highest quantity of methane at 1.79±0.98 mg/m2/day. We found the emission of methane was lowest in the set of Pathumthani 80 with both organic fertilizer pellets and chemical fertilizer with emission at the average rate of 0.57±0.36 and 0.53±0.62 mg/m2/day, respectively. The emission of methane was highest in the vegetative stages (60 days). The study showed that the two rice varieties and type of fertilizer produced different effects on methane emission. Therefore, it is concluded that Pathumthani 80 rice and the addition of organic fertilizer pellets could help reduce greenhouse gas emissions from rice farming.

Downloads