บทบาทของสารลดแรงตึงผิวในการสังเคราะห์พอลิเมอร์แบบอิมัลชัน

Authors

  • อมร ไชยสัตย์

Keywords:

การสังเคราะห์พอลิเมอร์แบบอิมัลชัน, การเกิดอนุภาค, สารลดแรงตึงผิว, Emulsion polymerization, Particle nucleation, Emulsifier

Abstract

บทคัดย่อ          การสังเคราะห์พอลิเมอร์แบบอิมัลชันเป็นเทคนิคที่มีความสําคัญมากเทคนิคหนึ่งในกระบวนการสังเคราะห์พอลิเมอร์ในระบบ กระจายในน้ำ เนื่องจากมีข้อดีหลายข้อเมื่อเปรียบเทียบกับระบบการสังเคราะห์แบบเอกพันธ์ (การสังเคราะห์แบบบัลค์ และแบบสารละลาย) โดย มีอัตราการเกิดพอลิเมอไรเซชัน และได้มวลโมเลกุลที่สูงกว่าระบบเอกพันธ์ นอกจากนี้ยังเป็นเทคนิคที่มีการถ่ายเทความร้อนได้ดี สุดท้าย ยังมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเนื่องจากใช้น้ำเป็นตัวกลาง ดังนั้น จึงมีการใช้เทคนิคนี้อย่างแพร่หลายในระดับอุตสาหกรรมการผลิตอนุภาคพอลิเมอร์สําหรับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ในบทความนี้จะกล่าวถึงภาพรวมของกระบวนการสังเคราะห์แบบอิมัลชันกลไกการเกิดอนุภาค และผลของสารลดแรงตึงผิวโดยเฉพาะผลของการเข้าไปอยู่ในอนุภาคพอลิเมอร์ของสารลดแรงตึงผิวต่อการเกิดอนุภาค ABSTRACT            Emulsion polymerization is one of the most useful techniques for the polymerization in aqueous dispersed system because it has a lot of advantages compared to homogeneous polymerization (bulk and solution polymerizations). The polymerization rate is much higher than that of the homogeneous polymerization and higher molecular weight polymer is obtained. Moreover, emulsion polymerization has a high rate of heat transfer during the polymerization. Finally, it is an environmentally friendly technique due to the utilization of water as medium. Therefore, it is industrially widely used to produce large amounts of latex for a variety of applications. This article outlines the overview of emulsion polymerization, particle formation mechanism, and influence of emulsifier especially the incorporation of emulsifier inside the polymer particle on the particle formation.

Downloads