อิทธิพลของมาเลอิคแอนไฮไดรด์และโปแตสเซียมเปอร์ซัลเฟตต่อสมบัติเชิงกลของพอลิแลคติคแอซิดคอมปาวด์
Keywords:
พอลิเมอร์ย่อยสลายทางชีวภาพ, แป้งมันสำปะหลัง, ยางธรรมชาติ, พอลิแลคติคแอซิด, แหล่งทดแทนได้, Biodegradable polymers, Cassava starch, Natural rubber, Poly(lactic acid), Renewable resourcesAbstract
บทคัดย่อ พอลิแลคติคแอซิดเป็นพอลิเมอร์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่รู้จักกันดี การผสมพอลิแลคติคแอซิดกับพอลิเมอร์ชนิดอื่นๆ ที่ได้มาจาก แหล่งปลูกทดแทนได้กำลังเป็นวิธีการนิยมสำหรับการลดต้นทุนการผลิตและการปรับปรุงสมบัติของพอลิแลคติคแอซิดโดยที่ยังคงรักษา คุณลักษณะความเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพได้ แป้งมันสำปะหลังเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่นำมาผสมกับพอลิแลคติคแอซิด เร็วๆ นี้ ได้มีการนำยางธรรมชาติเป็นสารเพิ่มความเหนียวของพอลิเมอร์ผสมระหว่างพอลิแลคติคแอซิดและแป้งมันสำปะหลัง วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือการตรวจสอบอิทธิพลของมาเลอิคแอนไฮไดรด์และโปแตสเซียมเปอร์ซัลเฟตต่อความเหนียวทนแรงของพอลิแลคติคแอซิดคอมปาวด์ที่มีส่วนผสมของพอลิแลคติคแอซิด 80% แป้งมันสำปะหลัง 20% และยางธรรมชาติ 10 ส่วนต่อร้อยส่วนของน้ำหนักพอลิแลคติคแอซิด และแป้งมันสำปะหลัง พอลิแลคติคแอซิดคอมปาวด์นี้เตรียมด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ที่ 150°C และขึ้นรูปด้วยเครื่องอัด ทำการตรวจสอบ สมบัติความทนต่อแรงดึงและความต้านทานต่อแรงกระแทก เติมสารริเริ่มชนิด Luperox®L101 ในปริมาณ 10% และ 25% โดยน้ำหนักของมาเลอิคแอนไฮไดรด์ พบว่าที่ปริมาณ 25% ช่วยปรับปรุงสมบัติเชิงกล อิทธิพลของปริมาณโปแตสเซียมเปอร์ซัลเฟตที่ศึกษา อยู่ในช่วง 0.25-1.00% พบว่าโปแตสเซียมเปอร์ซัลเฟตเพิ่มความต้านทานต่อแรงกระแทก ทำการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะของพอลิแลคติค แอซิดคอมปาวด์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงกล อุณหพลศาสตร์ เทคนิคสแกนนิงแคลอริเมตตรี เทคนิคเทอร์โมกราวิเมตตรี และกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด ABSTRACT Poly(lactic acid) (PLA) is a well-known biodegradable polymer. The blending of PLA with other polymers derived from renewable resources is now becoming a common method for reducing production costs and for producing improvements to the PLA properties while still remaining its bio-based characteristics. Cassava starch is a common biopolymer that has been incorporated into PLA. Recently, natural rubber (NR) was also employed to enhance the toughness of PLA/cassava starch blend. The objective of this study was to examine the effects of maleic anhydride (MA) and potassium persulfate (PPS) on the toughness of a PLA compound that contained 80 wt% of PLA, 20 wt% of cassava starch and 10 pph of NR. This PLA compound was prepared by using a twin screw extruder at 150°C and fabricated by means of a compression molding technique. Its tensile properties and impact strength were investigated. An initiator, Luperox®L101, was added at 10 and 25 wt% based on its MA content. The latter content improved the mechanical properties of PLA compound. The effect of the MA content, at 0.25, 0.5 and 1 wt%, was evaluated. The optimum content of MA was 0.5%. The effect of PPS was determined in the range of 0.25-1.00%. PPS produced higher impact strength than MA. Characterization of the blends was made by using dynamic mechanical thermal analysis (DMTA), differential scanning calorimetry (DSC), thermogravimetric analysis (TGA) and scanning electron microscopy (SEM).Downloads
Issue
Section
Articles