การศึกษาเบื้องต้นของความคลาดเคลื่อนของข้อมูลความลึกในอ่าวไทย

Authors

  • เผชิญโชค จินตเศรณี

Keywords:

อ่าวไทย, GEBCO 30 arc-second, แผนที่พื้นมหาสมุทร, Gulf of Thailand, Bathymetry

Abstract

บทคัดย่อ        ทำการศึกษาเบื้องต้นของความคลาดเคลื่อนข้อมูลความลึกพื้นมหาสมุทรทั่วไป ชนิด GEBCO 30 arc-second (GEBCO30)โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลการหยั่งน้ำของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ทำการศึกษา 2 พื้นที่ คือ บริเวณที่มีลักษณะพื้นทะเลค่อนข้างเรียบ (อ่าวปากพนังถึงแหลมคอกวาง) และบริเวณที่มีลักษณะพื้นทะเลขรุขระ (อ่าวตราดถึงเกาะกูด) พบว่าข้อมูลร้อยละ 64.50 ของพื้นที่ค่อนข้างเรียบ และร้อยละ 51.68 ของพื้นที่ค่อนข้างขรุขระ มีความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ บริเวณชายฝั่งทั้งสองบริเวณมี ความคลาดเคลื่อนของข้อมูลมากกว่า ±2 เมตร โดยบริเวณชายฝั่งอ่าวตราดถึงเกาะกูดมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลสูงกว่าชายฝั่ง อ่าวปากพนังถึงแหลมคอกวาง การศึกษาแสดงให้เห็นระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูล ความลึกพื้นมหาสมุทรทั่วไปในบางบริเวณของอ่าวไทย และแสดงให้เห็นความจำเป็นที่ต้องมีการตรวจสอบข้อมูลความลึกพื้นมหาสมุทรทั่วไปในอ่าวไทยก่อนการนำไปใช้ประโยชน์ ABSTRACT           A preliminary study on a discrepancy of the general bathymetric data, GEBCO 30 arc-second (GEBCO30), is performed by comparison with ship-line sounding data measured by hydrographic Department, the Royal Thai Navy. The study was performed in two areas including an area of rough seafloor (Ao Pakpanang to Laem Khokwang) and an area of smooth seafloor (Ao Trat to Koh Kut). The results show that 64.50% of the data of rough seafloor and 51.68% of the data of smooth seafloor have an acceptable error. Coastal zone of both areas have error over ±2 m. A coastal area of Ao Trat to Koh Kut has error larger than an area of Ao Pakpanang to Laem Khokwang. This study illustrated the confidence level of GEBCO30 of some bathymetric data in the Gulf of Thailand. In addition, this study required the need of correction of the bathymetric data in the Gulf of Thailand before using. 

Downloads