ระบบการเก็บกักสารสกัดมังคุดลงในอนุภาคระดับนาโนเมตร

Authors

  • พรทิพย์ ปานอินทร์
  • ศุภศร วนิชเวชารุ่งเรือง

Keywords:

สารสกัดมังคุด, เซลลูโลส, อนุภาคระดับนาโนเมตร, การเก็บกัก Garcinia mangostana extract, Cellulose, Nanoparticles, Encapsulation

Abstract

บทคัดย่อ        มังคุดเป็นพืชที่นิยมปลูกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สารสกัดจากเปลือกมังคุดมีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือสารกลุ่มแซนโทนซึ่งมีฤทธิ์ทางการแพทย์ที่หลากหลาย อาทิ ฤทธิ์ในการต้านการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและไวรัส ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้าน มะเร็งและฤทธิ์ต้านการอักเสบ อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพการออกฤทธิ์และการประยุกต์ใช้สารสกัดมังคุดถูกจำกัดเนื่องจากการละลาย ในน้ำได้น้อยของสารสกัดมังคุด งานวิจัยนี้สนใจแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการเก็บกักสารสกัดมังคุดลงในอนุภาคระดับนาโนเมตรที่สร้างจากโพลิเมอร์สองชนิดคือเอทิลเซลลูโลสและเมทิลเซลลูโลส โดยหาความหนืดของเซลลูโลสที่เหมาะสม และหาอัตราส่วนที่ดีที่สุดของ โพลิเมอร์ทั้งสอง ในการใช้เป็นเปลือกหุ้มอนุภาค โดยใช้ค่าความจุสารสกัดของอนุภาค และประสิทธิภาพการกักเก็บ เป็นตัวชี้วัด  ABSTRACT            Garcinia mangostana Linn. (mangosteen) is a tropical fruit, cultivated in Southeast Asia. Xanthones, the main biologically active constituents isolated from the pericarp of mangosteen, possess several medicinal and pharma­ceutical activities including antioxidant, anticancer, antibacterial, antifungal, antiviral and anti-inflammatory activi­ties. However, therapeutic efficiency and applications of Garcinia mangostana extract (GME) are limited by its poor aqueous solubility. Here nanoencapsulation of GME into water dispersible nanoparticles made from ethyl cellulose (EC) and methyl cellulose (MC) was used to solve the problem.The suitable viscosity of EC and the optimization of shell materials based on loading capacity and encapsulation efficiency were carried out to find the best ratio of polymers

Downloads