การผลิตเยื่อกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าด้วยวิธีทางชีวภาพ

Authors

  • สุจยา ฤทธิศร

Keywords:

ผลิตกระดาษด้วยวิธีทางชีวภาพ, ราย่อยลิกนิน, เยื่อจากกล้วยน้ำว้า, Biopulping, Ligninolytic fungi, Banana pseudo-stem of Num-wa

Abstract

บทคัดย่อ         จากการศึกษาการผลิตเยื่อกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าด้วยวิธีทางชีวภาพ โดยการใช้เชื้อรา Trichoderma viride T. harzianum และ T. hamatum ชุดการทดลองละเชื้อ ใช้ปริมาณเชื้อราที่แตกต่างกัน เพาะเลี้ยงนาน 3 4 และ 5 สัปดาห์ พบว่าปริมาณเชื้อราT. viride ที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อค่า Kappa number และการย่อยลิกนิน แต่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเพาะเลี้ยง ส่วน T. harzianum และ T. hamatum ปริมาณเชื้อและระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อค่า Kappa number และการย่อยลิกนิน เมื่อนำชุดการทดลอง T. virideT. harzianum และ T. hamatum ที่เพาะเลี้ยงนาน 5 สัปดาห์ มาเปรียบเทียบค่า Kappa number และค่า Selection factor พบว่า ชุดการทดลอง T. viride มีค่า Kappa number น้อยที่สุด มีค่า Selection factor สูงที่สุด จากการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของเยื่อจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผ่านการเพาะเลี้ยงด้วย T. viride ฟอกด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ร้อยละ 0 8 10 12 14 และ 16 มีค่า Kappa number น้อยกว่าเยื่อจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผ่านการเพาะเลี้ยงด้วย T. harzianum และ T. hamatum สำหรับปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เหมาะสมในการฟอกเยื่อกระดาษที่ผ่านการเพาะเลี้ยงด้วย T. viride T. harzianum และ T. hamatum คือ ร้อยละ 8 เมื่อนำกระดาษที่ผ่านการเพาะเลี้ยงด้วย T. viride T. harzianum และ T. hamatum มาเปรียบเทียบความขาวสว่าง ความต้านทานแรงดันทะลุ ความต้านทานแรงฉีกขาด และความหนา พบว่า T. viride มีความเหมาะสมที่สุดในการนำมาผลิตกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าด้วยวิธีทางชีวภาพ ABSTRACT        Study on biopulping from banana pseudo - stem of Num-wa by using Trichoderma viride T. harzianum and T. hamatum for each test set in the process of varying the amount of fungi and the cultured time, i.e, 3 4 and 5 weeks. The result showed that the incremental of T. viride quantity neither effect to Kappa number nor lignin degradation but related with the cultured time. Where as Kappa number and lignin degradation had been affected with varing T. harzianum T. hamatum and increased cultured time. Comparison in Kappa number and Selection factor for the fifth weeks treatment of T. viride T. harzianum and T. hamatum found that T. viride treatment presented the lowest kappa number and the highest Selection factor. Chemical properties of banana pseudo - stem of Num-wa produced by T. viride bleaching of varied hydrogen peroxide, i.e, 0 8 10 12 14 and 16% affect to the lower Kappa number than the product of which T. harzianum and T. hamatum made. The amount of hydrogen peroxide for bleaching the pulp of paper produced by T. viride T. harzianum and T. hamatum was appropriate at 8%. Comparison in the paper produced by T. viride T. harzianum and T. hamatum for brightness busting strength tearing resistance and single sheet thickness found that the paper produced by T. viride was suited for biopulping from banana pseudo - stem of Num-wa.

Downloads