การสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเมล็ดหมาก (Areca catechu L.) ด้วยวิธีการสกัดของแข็งด้วยของเหลว โดยไมโครเวฟ

Authors

  • สริตา สังข์ทอง
  • ปัญญวัฒณ์ ปินตาทอง
  • ภาณุพงษ์ ใจวุฒิ

Keywords:

สารต้านอนุมูลอิสระ, ผลหมาก, การสกัดเป็นลำดับขั้น, HPLC, การสกัดของแข็งด้วยของเหลว, Antioxidant, Areca catechu L., Fractionation, Solid-liquid extraction

Abstract

บทคัดย่อ          งานวิจัยนี้ศึกษาการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากผลหมาก (Areca catechu L.) โดยใช้ไมโครเวฟช่วยในการสกัดด้วยตัวละลาย ที่มีขั้วต่างกัน 6 ชนิดคือ เฮกเซน เอทิลอะซิเตท อะซีโตน เอทานอล 95% เอทานอล 50% และน้ำ นำสารสกัดที่ได้มาวิเคราะห์ด้วย HPLC และปริมาณสารประกอบฟีนอลิก (EPC) และฟลาโวนอยด์ (EFC) และวิเคราะห์ความสามารถการกวาดอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ความสามารถในการให้อิเล็กตรอนด้วยวิธี FRAP พบว่าสารสกัดอะซีโตนให้ปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสูงสุด โดย EPC มีปริมาณ 733.11 มก. สมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัดแห้ง (mg GAE/g extract) และ EFC ปริมาณ 113.42 มก. สมมูลของเคอเซติน ต่อกรัมของสารสกัดแห้ง (mg QE/g extract) สารสกัดจากอะซีโตนยังให้ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงสุดเช่นกัน โดยพบว่ามีความ สามารถเทียบเท่ากับ 184.36 และ 126.15 มก. ทรอลอกซ์ต่อกรัมของสารสกัดแห้ง (mg TEAC/g extract) จากการทดสอบด้วยวิธี DPPH และ FRAP ตามลำดับ สารสกัดเฮกเซนที่ได้จากขั้นตอนแรกและ สารสกัดน้ำจากขั้นตอนสุดท้ายให้ปริมาณสารและฤทธิ์ทางชีวภาพต่ำสุด โครมาโตแกรมจาก HPLC แสดงให้เห็นว่าสารประกอบที่มีคาเทชิน เป็นส่วนประกอบหลักในสารสกัดหมาก การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า อะซีโตนเป็นสารละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากผลหมาก ABSTRACT          This study was purposed to extract biological compounds from Areca catechu L. (betel nut) seed using microwave-assisted solid-liquid extraction with various solvents. Sequential extraction by 6 different polarity of organic solvents, including hexane, ethyl acetate, acetone, 95% ethanol, 50% ethanol, and water were employed. Each fractionated extract was investigated for its elution profile by HPLC. The colorimetric assays of extractable phenolic (EPC) and flavonoids (EFC) contents, DPPH radical scavenging capacity (DPPH) and ferric reducing antioxidant power (FRAP) of the extract were determined. Amongst all fractions, acetone extract possessed the highest EPC and EFC of 733.11 mg gallic acid equivalent per gram extract (mg GAE/g extract) and 113.42 mg quercetin equivalent per gram extract (mg QE/g extract), respectively. The most powerful antioxidant capacity was also obtained from the acetone fraction exhibiting 184.36 and 126.15 mg trolox equivalent antioxidant capacity per g extract (mg TEAC/g extract) when assayed by DPPH and FRAP method, respectively. The first fraction of hexane and the last fraction of water exhibited lowest bioactive compounds and activities. The HPLC chromatogram showed the major components of raw betel nut seed were catechin-like compounds with the remarkable highest peak area in acetone fraction. This study shows the similar characteristics of raw betel nut seed in the solubility and polarity range of acetone. The suitable solvent was revealed for bioactive compounds and antioxidant activities extraction from raw betel nut seed. 

Downloads