ผลกระทบของสารผสมพอลิซอร์เบต-60 และลอเรต-7 ทำหน้าที่เป็นตัวทำอิมัลชันชนิดไม่มีประจุในอิมัลชัน ชนิดน้ำมันในน้ำ (O/W)
Keywords:
ตัวทำอิมัลชันชนิดไม่มีประจุ, สารลดแรงตึงผิว, พอลิซอร์เบต-60, ลอเรต-7, อิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ, Non-ionic emulsifier, Surfactant, Polysorbate 60, Laureth-7, O/W emulsionAbstract
บทคัดย่อ สูตรโลชันนวดคลายเส้นชนิดน้ำมันในน้ำ (O/W) ประกอบด้วยสารสำคัญ ได้แก่ สารสกัดหยาบแคปไซซิน ซึ่งเตรียมด้วยเทคนิคการ กลับเฟสโดยการเติมวัฎภาคน้ำ (ปริมาตรทั้งหมดมากกว่าร้อยละ 80) ลงในวัฏภาคน้ำมันที่อุณหภูมิ 70-80 องศาเซลเซียส อย่างช้าๆ ขณะปั่น และสารลดแรงตึงผิว 2 ชนิด ได้แก่ สารผสมพอลิซอร์เบต-60 (พอลิซอร์เบต 60/ไฮดรอกซีเอธิลอะคริเลต-โซเดียมอะคริโลอิลไดเมธิลทอเรต โคพอลิเมอร์ และไอโซเฮกซะ-เดกเคน) และสารผสมลอเรต-7 (พอลิอะคริลแอไมด์/C13-14 ไอโซพาราฟฟิน/ลอเรต-7) ซึ่งเป็นตัวทำอิมัลชัน ชนิดไม่มีประจุ ผลการทดลองพบว่า สูตรที่ใช้สารผสมพอลิซอร์เบต-60 ร้อยละ 1.4-2.2 จะทำให้ความหนืดของอิมัลชันค่อยๆ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จนกระทั่งปริมาณมากกว่าร้อยละ 2.2 ความหนืดและค่าความเป็นกรด-เบสจะคงที่ สำหรับสูตรที่ประกอบด้วยสารผสมลอเรต-7 ร้อยละ 0.5-2 อิมัลชันมีลักษณะเป็นเนื้อครีม มีความหนืดมากกว่าสูตรที่ประกอบด้วยสารผสมพอลิซอร์เบต-60 ที่ปริมาณร้อยละเดียวกัน สำหรับ สูตรอิมัลชันที่มีส่วนประกอบของสารผสมพอลิซอร์เบต-60 ร้อยละ 2.2 ลักษณะเป็นโลชันและเป็นสูตรที่มีคุณภาพซึ่งยอมรับได้ โดยเกิด การแยกเพียงเล็กน้อยหลังจากนำไปเหวี่ยงที่ความเร็วรอบ 5,000 รอบต่อนาที เป็นเวลา 30 นาที ที่อุณหภูมิห้อง และไม่มีการปนเปื้อน ของเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากนั้นเมื่อนำสูตรโลชันดังกล่าวทดสอบความพึงพอใจกับกลุ่มผู้ทดสอบเฉพาะ โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ 3 ระดับ และมีข้อเสนอแนะแบบปลายเปิด ในหัวข้อความหนืด การซึมเข้าสู่ผิวหนัง ลักษณะของโลชันและการบรรเทาอาการปวดเมื่อย พบว่ามีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ เท่ากับ 2.7 ABSTRACT The formulation of the O/W tendon slacker emulsion containing the capsaicin crude as an active ingredient was prepared via a phase inversion technique. The water phase (>80% volume content) was slowly poured into the oil phase at 70-80ºC with continuous stirring. Two kinds of surfactants, the polysorbate-60 mixture (polysorbate-60/ hydroxyethyl acrylate-sodium acryloyldimethyl taurate copolymer and isohexadecane) and the laureth-7 mixture (polyacrylamide/C13-14 isoparaffin/laureth-7), were used as non-ionic emulsifiers. Consequently, a percentage of the polysorbate-60 mixture was increased at a range of 1.4-2.2% to affect the viscosity of emulsion to be slightly increased. In the mean time, using more than 2.2% of the polysorbate-60 mixture showed no effect on viscosity and pH. For the formulation composing of the laureth-7 mixture (0.5-2%), the emulsion was a cream which was more viscous than when the polysorbate-60 mixture was used at the same percentage without changing of the pH value. The emulsion containing the polysorbate-60 mixture at 2.2% would have sufficient quality to be acceptable to use as a lotion due to a small separation after centrifuge at 5,000 rpm for 30 min at room temperature and no contamination. The lotion was tested by a group of people who answered a 3-Heidonic scale satisfaction questionnaire with an opening comment on viscosity, permeation into skin, texture of the lotion and relieving for aches and pains. The result showed the objective sampling to be an average of 2.7.Downloads
Issue
Section
Articles