การประยุกต์ใช้พอลิเมอร์ที่ได้จากทรัพยากรทางทะเลในทางเภสัชกรรม

Authors

  • กัมปนาท หวลบุตตา
  • ธนิกานต์ แสงนิ่ม

Keywords:

พอลิเมอร์, เภสัชกรรม, ทรัพยากรทางทะเล, ระบบนำส่งยา, เภสัชภัณฑ์, Polymer, Pharmaceutics, Marine source, Drug delivery system, Pharmaceutical dosageform

Abstract

บทคัดย่อ         พอลิเมอร์จากทะเลถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในหลายด้าน รวมถึงทางด้านเทคโนโลยีเภสัชกรรม และอุตสาหกรรมยา ทั้งนี้ เนื่องจากทะเลเป็นแหล่งที่มาของทรัพยากรที่หลากหลายและยังอุดมสมบูรณ์ทรัพยากรทางทะเลหลายชนิดสามารถนำมาเตรียมพอลิเมอร์ ได้ เช่น สาหร่ายทะเลชนิดต่างๆ พืชทะเล เปลือกของกุ้ง ปู ตลอดจนจุลชีพที่อยู่ในทะเล ปัจจุบันพอลิเมอร์ที่ได้จากทรัพยากรทางทะเล เป็นที่รู้จักและมีการใช้อย่างแพร่หลายทั้งนี้เนื่องด้วยทะเลมีความหลากหลายทางชีวภาพ พอลิเมอร์จากทะเลจึงมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน สามารถตอบสนองความต้องการและนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆทางเภสัชกรรมได้เป็นอย่างดี โดยพอลิเมอร์จากทะเลนั้นสามารถนำไป ใช้ในการตั้งตำรับเภสัชภัณฑ์รูปแบบต่างๆ สามารถทำหน้าที่เป็นสารเพิ่มความคงตัวในอิมัลชัน สารแขวนตะกอน สารก่อเจล เป็นต้น ในงานวิจัยทางเภสัชกรรมพอลิเมอร์จากทะเลสามารถใช้เตรียมระบบนำส่งยาที่มีความซับซ้อน ใช้ในการควบคุมการปลดปล่อยยา รวมถึง นำส่งสารพันธุกรรมและวัคซีน นอกจากนี้พอลิเมอร์จากทะเลบางชนิดยังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เช่น ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการเติบโต ของเชื้อแบคทีเรีย และลดการอักเสบบทความนี้สรุปและนำเสนอพอลิเมอร์ที่ได้จากทรัพยากรทางทะเล ได้แก่ ไคโตแซน อัลจิเนต คาราจีแนน คอลาเจน เจลาติน และพอลิแซ็กคาไรด์จากจุลชีพจากทะเล เพื่อวัตถุประสงค์ในการประยุกต์ใช้ทางเภสัชกรรมและการแพทย์ ABSTRACT         Polymers from marine resource have been widely utilized in several applications including pharmaceutical technology and industry, because the sea provides various kind and properties of polymers. Several types of marine resource,such as sea weeds, shells of crabs, and shrimp, marine plants and marine microorganism, have been used to prepare polymer. Marine biodiversity offers various properties of polymers which can meet the demand and work well in different functions and different pharmaceutical dosageforms. For example, it performs as a stabilizing agent in emulsion, a suspending agent in suspension and also gel former. In pharmaceutical research, marine polymers have been employed in complicated drug delivery system, controlling of drug release, gene and vaccine delivery. In addition, some of the marine polymers express pharmacological activities for example antitumor, antibacterial and anti-inflammatory activities.This article presents and summarizes the utilization of marine polymers, i.e., chitosan, alginate, carrageenan, collagen, gelatin and polysaccharide from marine microorganism, in pharmaceutical and medi­cal aspects. 

Downloads