ความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนพืชและการประยุกต์ใช้ในการตรวจติดตามคุณภาพน้ำในบ่อน้ำพื้นที่พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Authors

  • เบญจมาภรณ์ รุจิตร
  • สิริแข พงษ์สวัสดิ์
  • อัญชลี ทองกำเหนิด
  • สุทธวรรณ สุพรรณ

Keywords:

แพลงก์ตอนพืช, การตรวจติดตาม, คุณภาพน้ำ, พิพิธภัณฑ์บัว

Abstract

          การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนพืชและความสัมพันธ์กับคุณภาพน้ำในบ่อน้ำพื้นที่พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ระยะเวลา 12 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 (เดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 เกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัย) ทั้งหมด 2 จุดเก็บตัวอย่าง พบแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่น คือ Oscillatoria limosa C. Agardh ex Gomont, Closterium sp., Cyclotella meneghiniana Kützing, Nitzschia sp., Euglena acus (O.F. Müller) Ehrenberg, Phacus pleuronectes (O.F. Müller) Nitzsch ex Dujardin, Gymnodinium sp. และ Peridinium sp. ส่วนการศึกษาค่าสหสัมพันธ์ (correlation) ระหว่างคุณภาพน้ำทางกายภาพ เคมี และชีวภาพกับแพลงก์ตอนพืชชนิดเด่นด้วยวิธีการทางสถิติ พบว่า Euglena acus (O.F. Müller) Ehrenberg มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณไนเตรต - ไนโตรเจน และออร์โธฟอสเฟต สำหรับ Cyclotella meneghiniana Kützing มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าการนำไฟฟ้า และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์กับค่าการนำไฟฟ้า ทั้งนี้พบว่า Nitzschia sp. มีความสัมพันธ์เชิงลบกับค่าความเป็นด่าง ในขณะที่ Gymnodinium sp. มีความสัมพันธ์ เชิงลบกับปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์และค่าความเป็นด่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ ยังพบว่าคุณภาพน้ำในบ่อบัวเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของบัวชนิดต่างๆ ยกเว้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2555 หลังเหตุการณ์มหาอุทกภัย ที่พบปริมาณออร์โธฟอสเฟต และแอมโมเนีย-ไนโตรเจนค่อนข้างสูง จึงไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของบัว             A Study on biodiversity of phytoplankton and correlation with water quality in the vicinity of the Lotus Museum, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, during 12 months between May 2011 to May 2012 (flood disaster on October 2011). The samples were collected from 2 sampling sites. The dominant species were Oscillatoria limosa C. Agardh ex Gomont, Closterium sp., Cyclotella meneghiniana Kützing, Nitzschia sp., Euglena acus (O.F. Müller) Ehrenberg, Phacus pleuronectes (O.F. Müller) Nitzsch ex Dujardin, Gymnodinium sp. and Peridinium sp., respectively. The correlation between the physico- chemical and biological parameter and dominant species was determined by statistical techniques. Euglena acus (O.F. Müller) Ehrenberg was positively correlated with nitrate - nitrogen and orthophosphate. Cyclotella meneghiniana Kützing positively correlated with conductivity and negatively correlated with the amount of biological oxygen deman and electrical conductivity. Nitzschia sp. negatively correlated with alkalinity. Moreover, Gymnodinium sp. negatively correlated with the amount of biological oxygen demand and alkalinity which statistically significant at 0.05. Normally, the water quality in this area in this area is suitable for the various lotus growth. But, after flood disaster during November 2011 to January 2012 the result found high level of both orthophosphate and ammonia - nitrogen. Thus, it’s not suitable for the lotus growth.

Downloads