ความสัมพันธ์ระหว่างฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลไม้จากการวิเคราะห์ด้วยวิธี DMPD กับปริมาณฟีนอลิก วิตามินซี วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน

Authors

  • วรานนท์ ทองอินลา
  • ชลธิชา วรรณวิมลรักษ์
  • ภารดี ช่วยบำรุง

Keywords:

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ฟีนอลิกในผลไม้, วิตามินซี, วิตามินอี, เบต้าแคโรทีน

Abstract

            การศึกษานี้วิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในผลไม้ 12 ชนิด ด้วยวิธี N,N-dimethyl-p-phenylenediamine (DMPD) ซึ่งใช้หลักการทำลายสีของอนุมูลอิสระโดยไฮโดรเจนอะตอมที่มาจากสารต้านอนุมูลอิสระ โดยมีการวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและวิตามินซีเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลไม้ รวมถึงมีการใช้ข้อมูลปริมาณวิตามินอีและเบต้าแคโรทีนจากกรมอนามัยในการศึกษาความสัมพันธ์ด้วย ผลการศึกษาพบว่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากวิธี DMPD มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับปริมาณฟีนอลิกและวิตามินซีอย่างมีนัยสำคัญ (r = 0.868 - 0.882, p-value = 0.000) แต่มีความสัมพันธ์กับวิตามินอีและเบต้าแคโรทีนอย่างไม่มีนัยสำคัญ (r = 0.165, p-value = 0.608 และ r = -0.337, p-value = 0.284 ตามลำดับ) แสดงว่าวิธีนี้ใช้ได้กับสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มที่รับ-ให้อิเล็กตรอนเท่านั้น            This study analyzed antioxidant capacities of 12 fruits using N,N-dimethyl-p-phenylenediamine (DMPD) assay. The assay is based on decolorization of free radicals by hydrogen atoms donated from the antioxidant. Phonolic contents and vitamin C were analyzed to explore the correlations with the antioxidant capacities. Vitamin E and beta-carotene (data obtained from Department of Heath) were also included for the correlations. It was found that significant correlations were from phenolic contents and vitamin C (r = 0.868 - 0.882, p-value = 0.000), but not from vitamin E and beta-carotene (r = 0.165, p-value = 0.608 and r = -0.337, p-value = 0.284, respectively). It is implied that the decolorimetric assay is suitable only with the electron-reducing antioxidants

Downloads