ราดาร์กเซฟเตทเอ็นโดไฟท์และราอาร์บัสคูลาร์ไมคอไรซา ในพืชอาหารบางชนิดที่ปลูกในจังหวัดลำปาง

Authors

  • จารุณี มีจุ้ย

Keywords:

dark septate endophytic fungi, arbuscular mycorrhizal fungi, food crops, Lampang province, ราดาร์กเซฟเตทเอ็นโดไฟท์, ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอไรซา, พืชอาหาร, จังหวัดลำปาง

Abstract

          ทำการสำรวจการเข้าอยู่อาศัยในรากพืชของราดาร์กเซฟเตทเอ็นโดไฟท์ (dark septate endophytic fungi, DSE fungi) และราอาร์บัสคูลาร์ไมคอไรซา (arbuscular mycorrhiza fungi, AM fungi) จากตัวอย่างพืชอาหาร 8 ชนิด คือ ผักโขมเมล็ด ข้างฟ่าง ข้าวฟ่างหางหมา ข้าวโพด ถั่วลิสลง ถั่วแดง ถั่วดำ และถั่วสอด ที่ปลูกที่สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร จังหวัดลำปาง  เก็บตัวอย่างในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ผลการสำรวจพบว่าในพืช 8 ชนิดที่ศึกษา มีพืช 7 ชนิด ที่พบว่ามีการเข้าอยู่อาศัยในรากของ DSE fungi และในพืช 4 ชนิดที่มี DSE fungi เข้าอยู่อาศัยนั้นมีความสัมพันธ์กับ AM fungi ร่วมด้วย พืชที่พบการเข้าอยู่อาศัยของ DSE fungi เพียงอย่างเดียวมี 3 ชนิด คือ ผักโขมเมล็ด ข้าวฟ่างและข้าวฟ่างหางหมา  การเข้าอยู่อาศัยในรากพืชของ DSE fungi อยู่ในระหว่าง 9.29-62.96 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการเข้าอยู่อาศัยในรากของ AM fungi อยู่ระหว่าง 28.70-63.89 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างกันไปตามชนิดพืช ในรายงานนี้ได้เสนอลักษณะโครงสร้างทางสัณฐานวิทยาของ DSE fungi ในรากพืชไว้ด้วย   จากผลการศึกษา พบว่า พืช 3 ชนิด คือ ผักโขมเมล็ด ข้างฟ่าง และข้างฟ่างหางหมา ซึ่งเป็นพืชทนแล้งสูง มีการเข้าอยู่อาศัยของ DSE fungi ได้ค่อนข้างดี ดังนั้น ในอนาคตควรจะได้มีการศึกษาถึงการตอบสนองและความสัมพันธ์ของพืชโดยเฉพาะพืชทนแล้งต่อ DSE fungi ในแหล่งนิเวศต่างๆ ต่อไป           The incidence and root colonization of dark septate endophytic fungi (DSE fungi) and arbuscular mycorrhizal fungi (AM fungi) of 8 food crops species; grain amaranth, sorghum, foxtail millet, corn, peanut, kidney bean, black gram and cowpea; collected from Agricultural Technology Research Institute at Lampang Province during February 2010 were investigated. The survey indicated that 7 of the 8 plant species examined were associated with DSE fungi. In addition, 4 DSE fungal plant species were also associated with AM fungi. Three plant species (grain amaranth, sorghum and foxtail millet) had only DSE fungal colonization but lacked AM fungal association. The extent of root colonization was found in ranging from 9.29 % to 62.96 % for DSE fungi and 28.70% to 63.89% for AM fungi in the different plant species. DSE fungal morphology in plant root is presented in this report. Remarkably, DSE fungal colonization was abundantly found in 3 species of drought tolerant plant including grain amaranth, sorghum and foxtail millet. So, the effect of DSE fungi on the response of drought tolerant plant and diversity of plant grown in drought condition will be studied in the future experiment. 

Downloads