การฟอกสีสารละลายสีย้อมผสม (เมทิลีนบลู และเมทิลออเรนจ์) ด้วยกระบวนการโฟโตเฟนตัน
Keywords:
mixed dye, methylene blue, methyl orange, Fenton, photo-Fenton, สีย้อมผสม เมทิลีนบลู, เมทิลออเรนจ์, เฟนตัน, โฟโตเฟนตันAbstract
สารละลายสีย้อมเดี่ยว (เมทิลีนบลู (MB) หรือ เมทิลออเรนจ์ (MO)) และสีย้อมผสม (สารละลายผสมระหว่าง เมทิลีนบลูกับเมทิลออเรนจ์) ถูกนามาใช้เป็ นตัวแทนน้าเสียที่ใช้ในการบาบัดด้วยกระบวนการเฟนตันและโฟโตเฟนตันที่ใช้ แสงอาทิตย์และแสงยูวี โดยศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการฟอกสี ได้แก่ ความเข้มข้นเริ่มต้นของสีย้อมสังเคราะห์ และอัตราส่วนของสารละลาย Fe2+: H2O2 ใช้เครื่องยูวี-วิสิเบิล สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ศึกษาร้อยละการฟอกสี ผลการทดลอง แสดงให้เห็นว่าน้าเสียสังเคราะห์ที่ประกอบด้วยสารละลายสีย้อมเดี่ยวหรือสารละลายสีย้อมผสม เมื่อใช้กระบวนการโฟโตเฟน ตันทั้งแสงอาทิตย์และแสงยูวี สามารถฟอกสีได้มากกว่ากระบวนการเฟนตัน นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อความเข้มข้นของ สารละลายสีย้อมเริ่มต้นเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพในการฟอกสีจะลดลง ในขณะที่เมื่ออัตราส่วนของสารละลายเฟนตันเพิ่มขึ้นประสิทธิภาพในการฟอกสีจะเพิ่มขึ้น Solutions of single dye (methylene blue (MB) or methyl orange (MO)) and mixed dyes (mixture of MB and MO) were used as models of wastewater to be treated. The Fenton process and photo-Fenton process utilizing the sun light and UV light were comparatively studied in the treatment of these wastewaters. Some influential parameters such as initial concentration of dye and initial concentration of Fe2+:H2O2 were studied. The percentages of decolorization were determined using UV-Vis spectrophotometer. The results showed that an artificial wastewaters containing either single or mixed dyes was decolorized better using both types of light sources than by the one without light. The decolorization efficiency decreased when the initial concentration of dye was increased. On the other hand, the decolorization efficiency increased when the concentration of Fe2+:H2O2 was increased.Downloads
Issue
Section
Articles