การประเมินความเสี่ยงคุณภาพน้ำตามมาตรฐานน้ำดื่มต่อสุขภาพและความเหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ในการจัดทำข้อเสนอแนะโครงการพระราชดำริอ่างเก็บน้ำแม่ป๊อก ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

Authors

  • จอมจันทร์ นทีวัฒนา
  • จินตพัฒน์ นทีวัฒนา
  • เพชร เพ็งชัย
  • ไมตรี สุทธจิตต์
  • วิชัย เทียนถาวร
  • แซง ดอน คิม
  • ควอง วู คิม

Keywords:

น้ำดื่ม, การประเมินความเสี่ยงคุณภาพน้ำ, การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ

Abstract

การประเมินคุณภาพน้ำดื่มและน้ำเพื่อการเกษตรของโครงการพระราชดำริอ่างเก็บน้ำแม่ป๊อก ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงคุณภาพน้ำตามมาตรฐานน้ำดื่ม โดยประเมิน พารามิเตอร์ทางเคมีกายภาพ และความเข้มข้นของธาตุหลัก ธาตุปริมาณน้อย และโลหะหนักที่มีต่อสุขภาพ และประเมินความเสี่ยงตามมาตรฐานน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำและจัดทำข้อเสนอแนะ ผลการสำรวจพบว่า ค่าเคมีกายภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่ม ผลวิเคราะห์ความเข้มข้นของธาตุพบว่า อะลูมิเนียม และตะกั่วบริเวณปลายน้ำมีความเข้มข้น 187.90 และ 21.87 µg L-1 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพพบว่า ธาตุที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยมีค่าดัชนีความเสี่ยงต่อสุขภาพมากกว่า 1 ประกอบด้วย สารหนู แทลเลียม และวาเนเดียมทั้งบริเวณต้นน้ำและปลายน้ำ สำหรับกลุ่มผู้บริโภค ที่เป็นเด็ก รวมทั้งระดับความเข้มข้นของสารหนูในน้ำมีค่าสูงเกินกว่าระดับความเสี่ยงมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด ของการเกิดมะเร็งคือ สูงกว่า1 ใน 10,000 ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก แต่ไม่พบความเสี่ยงจากโลหะหนักเมื่อประเมินด้วย ดัชนีการปนเปื้อนโลหะหนัก ดัชนีมลพิษจากโลหะหนัก และดัชนีการประเมินค่าโลหะหนัก อย่างไรก็ตามน้ำเพื่อการบริโภคควรผ่านการบำบัด  โดยวิธีการต่างๆ เช่น การตกตะกอน การกรอง หรือการใช้ระบบรีเวอร์สออสโมซิส เพื่อความปลอดภัย และควรทำการเฝ้าระวังไม่ให้แหล่งน้ำมีการปนเปื้อนจากมลสารในสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นนอกจากนี้คุณภาพน้ำสำหรับการเกษตรด้านเคมีกายภาพ และความเข้มข้นของธาตุต่างๆ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำ                เพื่อการชลประทานขององค์การอาหาร และเกษตรแห่งสหประชาติThe drinking and irrigation water of the King Bhumibol Initiation Royal Project at Mae Pok reservoir, Sriwichai subdistrict, Li district, Lamphun province was assessed quality. The objectives of study included to assess the risk of water quality compared with standard for drinking water and agriculture purposes. The evaluation parameters consisted of physicochemical parameters, the concentration of major elements, trace elements, and heavy metals on health. The main purposes were to surveillance reservoir water quality and to offer recommendation. As a result, physicochemical parameters were acceptable drinking water standard. The study investigated and assessed risk of major element, trace element, and heavy metal concentrations found that Al (187.90 µg L-1 ) and Pb (21.87 µg L-1 ) at upstream elevated exceeding drinking water guideline of World Health Organization (WHO). According to health risk assessment, the concentration of detected metals revealed that risk elements included Al, Tl, and V at both of upstream and downstream for children (HRI > 1). On the other hand, the cancer risk of arsenic was elevated above the highest safe standard for carcinogenic risk (CR > 1 in 10,000) in both of adult and children groups; however the risk indexes of heavy metals, comprised the contamination index (CD ), Heavy metal pollution index (HPI), and Heavy metal evaluation index (HEI), indicated safety. Thus water for consumption should be treated by suitable processesas follow precipitation, filtration, and reverse osmosis, and local community should also be surveillance the contamination from environment. Furthermore water quality was suitable for plantation under allowable standard of Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO).

Downloads