เทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงสำหรับการวิเคราะห์ไทเอมีน และไรโบฟลาวินแบบรวดเร็วในผลิตภัณฑ์นม
Keywords:
ไทเอมีน ไรโบฟลาวิน, ผลิตภัณฑ์นม, คอลัมน์ขนาดเล็ก, โครมาโทกราฟี, ของเหลวสมรรถนะสูงAbstract
ในงานวิจัยนี้ ได้พัฒนาวิธีวิเคราะห์ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงที่สะดวก รวดเร็ว และน่าเชื่อถือ สำหรับการวิเคราะห์ไทเอมีนและไรโบฟลาวินแบบพร้อมกัน โดยใช้สภาวะการแยกด้วยคอลัมน์ขนาดเล็กชนิด C18 (8.0 x 3.0 mm, length x I.D.) วัฏภาคเคลื่อนที่คือสารละลายผสมระหว่างแอซิโตไนไตรล์และสารละลายบัฟเฟอร์แอมโมเนียมแอซีเตต ความเข้มข้น 0.05 โมลาร์ (pH 7.0) ตรวจวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 232 และ 266 นาโนเมตรสำหรับไทเอมีนและ ไรโบฟลาวิน ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่าสามารถแยกวิตามินทั้งสองชนิดได้พร้อมกันภายในระยะเวลาไม่เกิน 8.0 นาที ที่อัตราการไหล 0.10 มิลลิลิตรต่อนาที วิธีที่พัฒนาขึ้นนี้มีความเป็นเส้นตรงอยู่ในช่วงความเข้มข้น 0.10 - 100 มิลลิกรัมต่อลิตรสำหรับ ไทเอมีน และในช่วงความเข้มข้น 0.25 - 100 มิลลิกรัมต่อลิตรสำหรับไรโบฟลาวิน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงเส้นที่ดี(r 2 > 0.999) ค่าความเที่ยงของวิธีแสดงในรูปของค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์(RSD) มีค่าอยู่ในช่วง 0. 34-1.90 % และมีค่าร้อยละการคืนกลับของวิตามินทั้งสองชนิดอยู่ในช่วง 81.83 – 102.70 วิธีที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถนำไปใช้วิเคราะห์ ไทเอมีนและไรโบฟลาวินในตัวอย่างผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มได้เป็นผลสำเร็จ จะเห็นได้ว่าวิธีที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นวิธีวิเคราะห์ ที่มีความรวดเร็ว ราคาถูก และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีวิเคราะห์ที่ใช้เทคนิคโครมาโทกราฟี ของเหลวสมรรถนะสูงแบบทั่วไปA fast, simple and reliable high-performance liquid chromatographic method has been developed for the simultaneous analysis of thiamine and riboflavin. The chromatographic separation was performed on a mini C18 column (8.0 x 3.0 mm, length x I.D.) with isocratic elution using acetronitrile and 0.05 M acetate buffer (pH 7.0). Direct UV absorptions at wavelength of 232 and 266 nm were used for detection of thiamine and riboflavin, respectively. Both vitamins were separated in less than 8.0 min at flow rate of 0.10 ml/min. The linear calibration curves were obtained over the concentration range of 0.10 - 100 mg/L for thiamine and 0.25 - 100 mg/L for riboflavin with goodcorrelation coefficients (r 2 > 0.999). The precisions were measured in term of relative standard deviation (RSD) value. The RSDs of the method were in the range 0.34 – 1.90%. The percentage recoveries of both vitamins were obtained in the range of 81.83 - 102.70. The contents of both vitamins in milk samples were successfully determined by using the developed method. Compared with the conventional HPLC method, the proposed method has the advantage of being rapid, low cost and environmentally friendly.Downloads
Issue
Section
Articles