อิทธิพลของพีเอชต่อความสามารถของเชื้อ Lactobacillus plantarum NB324 ในการผลิตกรดไขมันคอนจูเกตเต็ดไลโนเลอิก

Authors

  • พรกนก คีรีวัลย์
  • เทพปัญญา เจริญรัตน์
  • กอบกุล เหล่าเท้ง
  • นิติ พานิชเกษม

Keywords:

กรดไขมันคอนจูเกตเต็ดไลโนเลอิก, กรดไขมันไลโนเลอิก, แบคทีเรียกรดแลคติก, ไลโนเลเอตไอโซเมอเรส

Abstract

การผลิตกรดไขมันคอนจูเกตเต็ดไลโนเลอิก(CLA) ของแบคทีเรียกรดแลคติกโดยการทรานฟอร์มกรดไขมันไลโนเลอิก (LA) ด้วยปฏิกิริยาไบโอไฮโดรจิเนชั่นต้องอาศัยการทำงานของเอนไซม์ไลโนเลเอตไอโซเมอเรส (linoleate isomerase, LAI) ซึ่งพีเอชถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อโครงสร้างและความเสถียรของเอนไซม์นี้ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาอิทธิพลของพีเอช ต่อการผลิตกรดไขมันคอนจูเกตเต็ดไลโนเลอิกของ Lactobacillus plantarum NB324 โดยการเพาะเลี้ยง L. plantarum NB324 ภายใต้สภาวะที่ควบคุมพีเอชที่ค่าต่าง ๆ พบว่าพีเอชที่เหมาะสมกับการเจริญมีค่าอยู่ในช่วง 5.5-6.5 โดยให้ค่าน้ำหนัก เซลล์แห้งสูงสุดประมาณ 4.4กรัมต่อลิตร และพีเอช 5.5 เป็นค่าพีเอชที่เหมาะสมสำหรับการผลิต CLA โดยให้ผลผลิต CLA ทั้งหมด 28.2 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งไอโซเมอร์หลักของ CLA ที่เซลล์ผลิตได้ คือ 9-CLA1 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 77 ของ CLA ทั้งหมด Conjugated linoleic acid (CLA) production of lactic acid bacteria by biotransformation of linoleic acid (LA) through biohydrogenation requires the activity of linoleate isomerase (LAI). pH is known to be an important factor affecting structure and stability of this enzyme. In this research, the influence of pH on CLA production of Lactobacillus plantarum NB324 was studied, using various pH for cultivating the lactic acid bacteria. The results showed that the optimum pH for cell growth was in a range of 5.5-6.5, with a maximal cell dry weight of about 4.4 g.L-1 . The highest total CLA concentration (28.2 mg.L-1 ) was obtained when the culture was grown at pH 5.5 The major isomer of the produced CLA was 9-CLA1, accounting for 77% of total CLA isomers.

Downloads