การประยุกต์ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมในจังหวัดสระแก้ว

Authors

  • ลิขิต น้อยจ่ายสิน

Keywords:

การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม, ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

Abstract

งานวิจัยครั้งนี ้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพื ้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมในจังหวัดสระแก้ว โดยมีปัจจัยที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย (30 ปี) ระยะห่างจากแหล่งน้ำผิวดิน สภาพการระบายน้ำของดิน ความลาดชันของพื้นที่ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยกำหนดให้ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน ให้คะแนน ความสำคัญ (Weighting) และค่าน้ำหนักระดับปัจจัย(Rating) ผลการศึกษาจากการประยุกต์ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ในการประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยน ้าท่วมพบว่าจังหวัดสระแก้วมีพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมน้อย 1,685.73 ตร.กม. พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมปานกลาง 3,959.19 ตร.กม. และพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมมาก 1,550.52 ตร.กม. มาตรการที่ควรนำมาใช้ในการป้องกัน และบรรเทาผลกระทบ ได้แก่ การปรับปรุงสภาพลำน้ำและขยายลำน้ำ เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณ น้ำฝนได้มากขึ้น การปรับปรุงระบบระบายน้ำบริเวณพื้นที่ชุมชนเมืองที่เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ และการเตรียมความพร้อมในระดับชุมชนที่มีความเสี่ยงจากภัยน้ำท่วมมากThe aim of this study was to assess flood risk area in Sa Kaeo province. The concernedcriteria were average annual rainfall (30 years), the distance from surface water, soil drainage, slope, and land use. These criteria were weighted and rated by 10 governmental experts.The results derived from Geographic Information System (GIS) application indicated that the area with low flood risk was 1,685.73 km2 , the area with moderate risk was 3959.19 km2 , and the high risk was 1,550.52 km2 . The measures for prevention and relieving the flood impacts are to improve and extend the rivers or canals for more falling rain storage, to improve drainage system in downtown, and establish flood mitigation and prevention plan for the area with high flood risk.

Downloads