แหล่งคาร์บอนจากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อผลิตเอทานอล และบิวทานอลด้วยแบคทีเรียคลอสทริเดียม

Authors

  • จันทรัสม์ โคมเวียน
  • ชมภูนุช กลิ่นวงษ์

Keywords:

ไบโอแอลกอฮอล์, เอทานอล, บิวทานอล, ชีวมวล, ของเสียทางการเกษตร

Abstract

ไบโอเอทานอลและบิวทานอลที่ผลิตจากวัสดุลิกโนเซลลูโลส เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการนำ มาใช้เป็น พลังงานทดแทน เอทานอลและบิวทานอลเป็นเชื้อเพลิงเหลวที่สามารถนนำมาใช้ทดแทนแก๊สโซลีนได้ การเผาไหม้มีความ สมบูรณ์กว่าจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นพลังงานทางเลือกที่ดีแต่เดิมสารตั้งต้นที่นำมาผลิตเอทานอลและบิวทานอลนั้นได้มาจากแป้งและน้ำตาล ซึ่งถือเป็นต้นทุนหนึ่งของกระบวนการผลิต ทำให้เอทานอล บิวทานอล และสารละลายอินทรีย์ที่ได้ จากกระบวนการเหล่านี้มีแนวโน้มต้นทุนการผลิตที่สูง ในบทความนี้ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลแหล่งคาร์บอนที่มีศักยภาพ ในการนำมาใช้ทดแทนแหล่งคาร์บอนดั้งเดิม โดยเฉพาะของเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม เช่น ซังข้าวโพด ขี้เลื่อย ชานอ้อย รวมทั้งของเหลือทิ้ง ขยะและน้ำเสียที่มีองค์ประกอบของแป้งและน้ำตาลจากโรงงาน อุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งมีปริมาณมาก มีมูลค่าน้อย และไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันทางด้านอาหาร ซึ่งแหล่งคาร์บอน เหล่านี้ถือเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อแข่งขันกับสารตั้งต้นประเภทน้ำตาลที่มีราคาสูงกว่าได้ ทำให้ได้ผลผลิตเอทานอลและ บิวทานอลที่มีศักยภาพในการนำไปเป็นเชื้อเพลิงเหลวในอนาคตBioethanol and biobutanol from lignocellulosic biomass are interested alternative energies. Ethanol and butanol can be blended to benzene in the different ratios for any purpose. This leads the combustion of mixed fuel to be more complete which is an important property of eco-friendly biofuels. In the past, substrate for ethanol and butanol production has been derived from monosaccharides, disaccharide and starchy substrate. This results in high cost for ethanol and butanol production. For this reason, this review focuses on agricultural and industrial wastes such as lignocellulosic biomass from corncob, wood dust, bagasses including waste and wastewater from agricultural waste. The wastes are abundant and have low value. They also will not raise the problems of food or fuels dilemma. These wastes can be applied as alternative carbon sources competing the expensive sugar and starch substrates. The goal of this review is to summarize the possibility of using these wastes to produceethanol and butanol aspotential biofuels in the future. Keyword: Bioalcohols, ethanol, butanol, biomass, agricultural waste

Downloads